บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net

รับมือกับการตำหนิอย่างไรดี
รับมือกับการตำหนิอย่างไรดี
ไม่มีใครชอบถูกตำหนิติเตียน ถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือถูกมองในแง่ร้าย และไม่มีใครชอบใจเมื่อมีคนมาชี้นิ้วกล่าวโทษเราใช่ไหมคะ แต่ทำอย่างไรหากเราต้องประสบกับสถานการณ์เหล่านี้ ไม่มีคำพูดไหนที่ทำให้เราเจ็บแสบได้เท่ากับการบอกว่าเราปฏิบัติงานได้ไม่ดีตามที่เจ้านาย คาดหวังไว้ ตัดสินใจในงานสำคัญต่างๆ ได้แย่มาก หรือบริหารควบคุมไม่ดีจนทำให้โครงการล้มเหลว และจะยิ่งรู้สึกแย่มากถ้าคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นคือ ความจริง เรื่องความผิดพลาดเหล่านี้เรามักพบเห็นได้บ่อยๆ ในออฟฟิศที่ยังคงมีการทำงานผิดพลาด มีการบ่น และโต้เถียงกันแทบทุกวันเพราะไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ ทำงานได้ยอดเยี่ยมตลอดเวลา และไม่มีใครที่อยากถูกวิพากษ์ วิจารณ์ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว คุณจะมีวิธีจัดการกับมันอย่างไร เพียงแค่ใช้เทคนิค 3 ประการต่อไปนี้เข้ามาช่วย เหตุการณ์ที่ตึงเครียดจะผ่อนคลายลงได้ และยังสามารถทำให้คนที่ถูกตำหนิรู้สึกดีขึ้นอีกด้วย ประการแรก ยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง การพร้อมที่จะยอมรับความผิดพลาดเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการลดความตึงเครียดของสถานการณ์เมื่อมีการตำหนิกันเกิดขึ้น เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้วเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจะไม่มีใครยอมรับว่าตนเองเป็นคนทำแน่นอน แต่จะกล่าวโทษผู้อื่น เพื่อหาตัวคนกระทำผิด การกล่าวโทษกันไปมาจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของความขัดแย้งยิ่งขึ้น แถมยังไร้ประโยชน์ สำหรับผู้นำที่ดีควรเป็นคนแรกที่ยอมรับความผิดพลาด แล้วทุกๆ คนก็จะหันมาเห็นใจ แล้วบอกว่ามันไม่ใช่ความผิดคุณ แต่เป็นความผิดของทุกๆ คนต่างหาก แต่ในทางตรงข้ามหากคุณกล่าวโทษผู้อื่น รับรองว่าพวกเขาจะหันมาโต้กลับคุณ และปกป้องในการกระทำของพวกเขาว่าถูกต้องแล้วแน่นอน เมื่อคุณทำผิดขอให้ยอมรับความผิดพลาดนั้นก่อนที่จะมีใครลุกขึ้นมาชี้ให้คนอื่นเห็น อย่าพยายามพูดแก้ตัวเพื่อลดความผิดพลาดนั้นให้น้อยลง เพราะมันไม่มีประโยชน์ค่ะ
คิดทบทวนให้รอบคอบก่อนที่คุณจะตำหนิ หรือวิพากษ์วิจารณ์ใคร ซึ่งหากคนที่ทำผิดพลาดรู้อยู่แล้วว่าตัวเองผิด คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดอะไร เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะพูดให้เขารู้สึกเลวร้ายลงกว่าที่เป็นอยู่ หากคุณเข้าใจว่าไม่มีใครมาทำงานเพื่อสร้างความยุ่งเหยิงวุ่นวายให้แก่บริษัท ทุกคนล้วนแต่ต้องการความระสึกว่าตัวเองเป็นที่ต้องการของคนอื่น และต้องการทำงานตามหน้าที่รับผิดชอบของตนเองให้ดีที่สุด แล้วคุณก็จะเข้าใจว่าการตำหนิ หรือวิพากษ์วิจารณ์อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ สิ่งที่ควรทำคือหลีกเลี่ยงการตำหนิบ่นว่า และเปลี่ยนการตำหนินั้นให้กลายเป็นการขอร้อง และการให้คำแนะนำแทน การหาคนกระทำผิด หรือหาคนที่สมควรได้รับการตำหนิไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นแม้แต่น้อยเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น การปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์นั้นๆ ต่างหากคือสิ่งที่ควรกระทำ ผู้อำนวยการไม่มีเวลามากพอที่จะติดตามดูแลการก่อสร้างนี้ได้ตดอดเวลา และกรรมการผู้ที่เขามอบหมายงานให้ก็ไม่ได้จ้างที่ปรึกษาแต่อย่างใด ทำให้โรงพยาบาลประสบกับปัญหาสถานที่คับแคบ เมื่อผู้อำนวยการทราบเรื่องก็สายเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ เนื่องจากมีการจ่ายเงินไปแล้วหลายสิบล้านบาท พอสร้างเสร็จโรงอาหารก็มีขนาดเล็กเกินไป และมีคุณภาพอาหารต่ำกว่าเดิม ส่งผลให้ชื่อเสียงของโรงพยาบาลได้รับผลกระทบไปด้วย เหตุการณ์ครั้งนี้ผู้อำนวยการมีสิทธิ์ที่จะดำหนิกรรมการคนนั้นในที่ประชุม และไล่ออกได้ แต่การตำหนิเขาในที่ประชุมก็ไม่ได้ช่วยยกระดับคุณภาพอาหารให้ดีขึ้นได้ เขาจึงไม่อยากกล่าวโทษใคร สิ่งที่ควรทำคือการแก้ไขปรับปรุงสถานการณ์ให้ดีขึ้นกว่าเดิมต่างหาก โดยมากแล้วการตำหนิติเตียน หรือการวิจารณ์มักจะทำให้ทุกคนอับอาย คนที่ได้รับการตำหนิอย่างรุนแรงมักจะไม่ค่อยอยากแสดงความคิดสร้างสรรค์ ไม่ต้องการทำอะไรเกินกว่าขอบเขตหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบอยู่ เพราะไม่อยากเสี่ยง ซึ่งเท่ากับว่าองค์กรจะสูญเสียศักยภาพของพนักงานผู้นั้นไปทันที แต่ถ้าพิจารณาถี่ถ้วนแล้วว่าจำเป็นต้องมีการตำหนิติเตียนก็ควรติในเชิงสร้างสรรค์ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน
วิพากษ์วิจารณ์ด้วยความนุ่มนวล และระงับอารมณ์ให้สงบนิ่ง เพราะไม่มีใครต้องการรับฟังในแง่ลบของตัวเอง ถ้าคุณให้ความสำคัญกับสิ่งที่เขาทำได้ดีพอๆ กับสิ่งที่เขาทำผิดพลาด เขาก็จะยอมรับฟังคุณมากขึ้นซึ่งการติ หรือการวิพากษ์วิจารณ์ควรเริ่มจากการแสดงความชื่นชม และชมเชยในสิ่งที่เขาทำได้ดีและสำเร็จก่อน แต่ต้องไม่แกล้งชมไปอย่างนั้นคุณต้องเอ่ยชมเขาด้วยความจริงใจ จากนั้นจึงค่อยๆ พูดถึงเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงข้อผิดพลาดของเขาด้วยความนุ่มนวล ปิดท้ายด้วยการชี้ให้เห็นว่าเขามีคุณค่าต่อบริษัทของคุณอย่างไร ซึ่งวิธีนี้มักจะได้ผลเสมอ เพราะจะทำให้คนฟังรู้สึกดีทั้ง ๆ ที่มันคือการตำหนิติเตียน การพูดด้วยความนุ่มนวลดีกว่าการใส่อารมณ์ และชี้นิ้วกล่าวโทษกัน เพราะความนุ่มนวลและการแสดงความเป็นมิตรมีอำนาจเข้มแข็งกว่าการใช้โทสะและกำลัง ดังตัวอย่างนิทานของพายุกับพระอาทิตย์ที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ วันหนึ่งพายุกับพระอาทิตย์ได้โต้เถียงกันว่าใครคือผู้ที่มีอำนาจมากกว่ากัน ในขณะที่กำลังถกเถียงกันอยู่บังเอิญมีชายชราคนหนึ่งเดินผ่านมาพอดี พายุจึงเสนอให้มีการแข่งขันโดยคนที่สามารถถอดเสื้อโค้ตของชายชราได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ พายุเป็นฝายเริ่มก่อน ด้วยการพยายามเป่าลมให้แรงขึ้นจนเกือบเป็นพายุทอร์นาโด แต่ยิ่งแรงเท่าไหร่ชายชราก็ยิ่งกำเสื้อโค้ตแน่นขึ้นเท่านั้น เมื่อถึงตาของพระอาทิตย์พระอาทิตย์ฉายแสงลงมาที่ชายชราอย่างนุ่มนวลแล้วค่อย ๆ ทวีความร้อนขึ้น ชายชราเริ่มปาดเหงื่อและถอดเสื้อโค้ตออก ทำให้พระอาทิตย์เป็นฝ่ายชนะการแข่งขันครั้งนี้ นิทานเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าความนุ่มนวลมีอำนาจมากกว่าโทสะกำลังจริง ๆ
ที่มา : http://women.sanook.com/work |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |