บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net

ทำอย่างไรเมื่อใจ...เบื่องาน
ทำอย่างไรเมื่อใจ...เบื่องาน ทำอย่างไรเมื่อใจ เบื่องาน คุณเคยมีความรู้สึกเบื่องานหรือเปล่า ถ้าเคย คุณมีวิธีการแก้ไขกับมัน อย่างไรบ้าง ถ้าถามความรู้สึกของคนทำงานว่าเคยมีความรู้สึก เบื่องาน บ้างหรือไม่ เชื่อว่าเกือบทุกคนคงเคยมีความรู้สึกว่า เบื่องาน บางคนอาจจะเบื่อเป็นช่วง ๆ หรือเบื่อเป็นพัก ๆ เบื่อเป็นระยะเวลา บางคนรู้สึกเบื่อนาน ๆ ครั้ง บางคนรู้สึกเบื่อครั้งละนาน ๆ บางคนก็เบื่อทุกครั้งที่ไปทำงาน (แต่ไม่ยอมลาออกไปไหนเสียที) การเบื่องานมีสารพัดรูปแบบ แต่พอสรุปได้ง่าย ๆ ว่า คนทำงานส่วนใหญ่เคยมีประสบการณ์กับการ เบื่องาน มาแล้ว ใครไม่รู้จักคำ คำนี้แสดงว่าชีวิตการทำงานยังไม่สมบูรณ์แบบ เหมือนกับคนที่เกิดมาแล้วไม่เคยพบกับคำว่า ลำบาก คงจะเป็นไปได้ยากที่จะเห็นคุณค่าของ ความสุขสบาย การเบื่องาน คงไม่ใช่สิ่งเลวร้ายอะไร คงไม่ทำให้ใครถึงตาย แต่อาจจะตายเพราะโรค แทรกอย่างอื่น เช่น สาเหตุที่แท้จริงของ การเบื่องาน นั้น ไม่ได้เกิดจากงานนั้น ๆ ไม่ดี เป็นงานที่ต้อยต่ำ เป็นงานที่ไม่มีหน้ามีตา หรือเป็นงานที่สกปรกเลอะเทอะ อะไรทั้งนั้น แต่เพราะเบื่อเกิดจาก จิตใจ ของเราที่รู้สึกเอาเองมากกว่า เพราะถ้าสาเหตุของการเบื่อเกิดจากงานแล้ว แสดงว่าคนที่ทำงานเดียวกันจะต้องรู้สึกเบื่อเหมือน ๆ กัน เช่น งานขับรถรับจ้างน่าเบื่อ แสดงว่าคนที่ทำงานขับรถรับจ้าง ต้องรู้สึกน่าเบื่อทุกคน แต่ในความเป็นจริง บางคนอาจจะชอบหรือรักงานนี้ก็ได้ เช่นเดียวกันกับงานทุกงานทีมีทั้งคนรู้สึกสนุกสนาน กับการทำงาน และคนที่มีความรู้สึกเบื่องาน ถ้าเรารู้สึกว่าใจของเราเกิดอาการ เบื่องาน ขึ้นมาเมื่อใดละก็ ขอแนะนำให้ใช้เทคนิคดังนี้ - เปิด VDO เทปชีวิตของการทำงานวันแรก โดยการนั่งหลับตาและ replay tape กลับไปค้นหาภาพที่เราเข้าทำงานที่นี่วันแรก ลองหลับตาให้เห็นภาพและเสียงของบรรยากาศในการเข้าทำงานในวันแรกของเราดูว่าเป็นอย่างไรบ้าง ผมเชื่อแน่ว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นมันจะตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่เรากำลังเบื่องาน เพราะภาพที่เห็นนั้นจะเห็นความตื่นเต้น ดีใจ ความกระตือรือร้น พยายามจดจำ VDO เทปชีวิต เพื่อนำมาทำลายความรู้สึกเบื่องาน ถ้ายังไม่หายอีกทำซ้ำ ๆ จนอาการเบื่องานลดลง - ซ้อมคิดล้มเหลว ถ้าเรารู้สึกเบื่องาน ขอให้คิดต่อยอดของความเบื่องานออกไปอีก อย่าหยุดเพียงแต่เบื่อ หรือเซ็ง แต่ควรคิดต่อไปว่าถ้าเราเบื่องานแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช่น อาจจะทำงานผิดพลาด หัวหน้างานตำหนิ เงินเดือนขึ้นน้อย โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่น้อยลง เผลอ ๆ อาจจะมีโอกาสตกงานโดยไม่ตั้งใจก็ได้ คิดอย่างนี้ทำไม ก็เพื่อให้เกิดความกลัวจะได้ไม่เบื่องานอีก - เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยการคิดสร้างสรรค์ ถ้าเราคิดให้จะพบว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกนี้มีสองด้านเสมอ คือมีทั้งด้านบวกและด้านลบ จิตใจคนส่วนมากมักจะมีความไวต่อสิ่งที่เป็นด้านลบมากกว่าด้านบวก ไม่แตกต่างอะไรไปจากการอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ที่เรามักจะให้ความสนใจกับข่าวจับคนขายยาบ้าหรือฆ่ากันตาย มากกว่าข่าวที่บุคคลต่าง ๆ ได้รับรางวัล ดังนั้นเวลาเบื่องาน อยากให้คิดว่าดี เหมือนกันจะได้มีโอกาสชะลอความเร็วในการทำงานลงบ้าง ร่างกายและจิตใจจะได้พักผ่อน จะได้มีเวลาทบทวนการทำงานที่ผ่านมา และจะได้เกิดแรงฮึด เมื่อความเบื่อมันจากไป คนบางคนชีวิตเปลี่ยนแปลงไปก็เพราะเบื่องานนี้เอง เช่น คิดหาช่องทางประกอบอาชีพส่วนตัวได้ก็ตอนเบื่องาน - ขออนุญาตลาพักผ่อน ไปเลยครับ ไปเที่ยวที่ไหนสักแห่งหรือหลายแห่งก็ได้ เช่น ไปเที่ยวชายทะเล ที่มีหาดทรายสวย ถ้าไม่มีวิธีไหนช่วยให้เราหายเบื่องานได้แล้ว ขอแนะนำว่าให้ใช้วิธีแบบไม่ต้องคิดอะไรมากคือ ปลงเสีย คิดเสียว่าในโลกนี้ไม่มีงานไหนที่เราจะไม่เบื่อ เพราะอย่างที่กล่าวตั้งแต่แรกว่าความเบื่อนั้นเกิดจาก ใจ ของเรา ไม่ใช่ ตัวของงาน ดังนั้นตราบใดที่คนเรายังมีชีวิตจิตใจความเบื่อจะไม่หายไปจากโลกนี้อย่างแน่นอน สรุปว่า การเบื่องานเป็นของคู่กันกับชีวิตการทำงาน เราคงไม่สามารถป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สามารถลดความเบื่อให้น้อยลงได้ เช่น ทำงานให้สนุก รักงานที่ทำ ถ้าไม่ได้ทำงานที่เรารัก หรือ ท่านอาจจะคิดหาเทคนิคเฉพาะตัวของแต่ละคนมาจัดการกับความเบื่องานก็ได้ โดย : สมคิด (หอสมุดแพทย์) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |