ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



จุดเด่น จุดด้อย ของธุรกิจครอบครัว

 

จุดเด่น จุดด้อย ของธุรกิจครอบครัว 

   

   เมื่อเร็วๆ นี้ มีคนในแวดวงใกล้ตัวผู้เขียนปรารภให้ฟังถึงความปรารถนาของพวกเขา ที่อยากจะลาออกจากการทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัท มาเปิดธุรกิจของตนเองร่วมกับญาติพี่น้องในครอบครัว อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ยังมีความรู้สึกกล้าๆ กลัวๆ ปนกันอยู่ จึงมีการกริ๊งกร๊างมาตามสายว่า ถ้าหากจะทำธุรกิจครอบครัวขึ้นมา มันมีข้อดี ข้อเสีย และข้อควรระวังอย่างไร โดยเฉพาะในเรื่องของการวางระบบบริหารโดยทั่วไปและการบริหารคน

 แหม! เจอคำถามง่ายๆ ตรงๆ แต่ตอบให้ดีได้ยากแบบนี้ ผู้เขียนก็ต้องทำการบ้านกันหน่อยละค่ะ และเมื่อได้ทำการบ้านค้นคว้าข้อมูลต่างๆ มาพอสมควรที่จะให้คำตอบแก่พวกเขาได้แล้ว ผู้เขียนเลยถือโอกาสนี้นำความรู้ เรื่องจุดเด่น จุดด้อยของธุรกิจครอบครัวมาเล่าให้บรรดาแฟนๆ คอลัมน์ได้อ่านด้วยเสียเลย เผื่อจะมีบางท่านคิดจะเปิดธุรกิจครอบครัวเป็นของตนเองขึ้นมา จะได้เตรียมวิทยายุทธ์ในการบริหารไว้แต่เนิ่นๆ

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจครอบครัว (Family Business) นี้ แม้ชื่อจะจำกัดว่าเติบโตมาจากครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยเล็กๆ หน่วยหนึ่งของสังคม แต่ความสำคัญและความแข็งแกร่งของธุรกิจครอบครัวนั้นเป็นเรื่องที่มิอาจมองข้ามได้เลย เพราะธุรกิจครอบครัวนี่แหละที่เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของนานาประเทศแทบทั้งสิ้น ยกตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายบริษัทที่เริ่มต้นจากธุรกิจครอบครัว เช่น ฟอร์ด ดิสนีย์ เอสเต ลอเดอร์ เป็นต้น ในประเทศญี่ปุ่นก็มีบริษัท โตโยต้า พานาโซนิค ในเกาหลีใต้ก็มีบริษัท ซัมซุง โคเรียนแอร์ ในประเทศจีนก็มีบริษัท ลีกุมกี ของไทยเราก็มีเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ กลุ่มสหพัฒน์ เป็นต้น ซึ่งบริษัททั้งหลายที่เอ่ยนามมานี้ ล้วนเป็นบริษัทที่เจ้าของกิจการแต่ดั้งเดิม คือหัวหน้าครอบครัวที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์ มีมานะบากบั่นพากเพียรสู้ยิบตาในการริเริ่มธุรกิจ โดยมีสมาชิกในครอบครัวร่วมแรงร่วมใจกันบริหารกิจการจนเติบโต ขยายขนาดธุรกิจออกไปจนต้องจ้างมืออาชีพจากภายนอกมาช่วยบริหารงาน และบางบริษัทก็กลายเป็นบริษัทมหาชนที่ครอบครัวผู้เป็นเจ้าของกิจการแต่ดั้งเดิมได้เปลี่ยนบทบาทจากการเป็นเจ้าของ และเป็นผู้บริหารกลายเป็นเพียงผู้ถือหุ้นแทน


จุดเด่นของธุรกิจครอบครัวมีอะไรบ้าง?

จากตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจครอบครัวในหลายต่อหลายประเทศ ทำให้อนุชนรุ่นหลังอยากเลียนแบบบรรพบุรุษบ้าง เพราะมองเห็นจุดดีของธุรกิจครอบครัวอยู่หลายประการ อันได้แก่

1) ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Unity) ของสมาชิกในครอบครัว การที่พนักงานในบริษัทเป็นคนในครอบครัวหรือวงศาคณาญาติของตนเองนั้น หมายความว่าสมาชิกของบริษัทย่อมมีความคุ้นเคยกันมาก รู้จักนิสัยใจคอกันดี ได้รับการอบรมเลี้ยงดูโดยบรรพบุรุษสายเลือดเดียวกัน ดังนั้น เรื่องของความขัดแย้งจึงน่าจะมีน้อยกว่าคนนอกครอบครัว ในแง่ของการบริหารจึงน่าจะง่ายขึ้นสำหรับผู้บริหาร เข้าทำนอง “ว่าอะไร ว่าตามกัน” เรื่องที่จะขัดแย้ง หรือขัดคำสั่ง หรือทำงานไม่ประสานงานกันน่าจะไม่มีปัญหา

2) ธุรกิจครอบครัวจะมีวัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) ที่แข็งแกร่ง เนื่องจากสมาชิกขององค์กรเป็นคนในครอบครัวเดียวกันดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้น คนในตระกูลเดียวกันจึงมักมีความเชื่อ ค่านิยมในแบบเดียวกัน เช่น ค่านิยมเรื่องการเคารพอาวุโส การซื่อสัตย์ต่อลูกค้า การดูแลพนักงานแบบคนในครอบครัว แบบไม่ทอดทิ้งกัน เป็นต้น เมื่อคนรุ่นปู่รุ่นตาที่ได้ก่อตั้งบริษัทมีแนวนโยบายในการบริหารเช่นใด ก็มักจะถ่ายทอดความคิดนั้นมายังลูกหลานให้ช่วยสืบทอดยึดมั่นในหลักการนั้นๆ ด้วย ความเชื่อฟังและความภาคภูมิใจในตัวบรรพบุรุษนี่เอง ที่ทำให้สมาชิกรุ่นหลังจะดำรงรักษาวัฒนธรรมของครอบครัวเอาไว้ เว้นเสียแต่ว่าความคิดนั้นๆ ไม่สามารถนำมาใช้กับสถานการณ์ในปัจจุบันได้จริงๆ จึงจะยอมเปลี่ยน

การที่องค์กรมีวัฒนธรรมแข็งแกร่งจะเป็นจุดเด่นที่ช่วยสร้างกรอบความคิดและพฤติกรรมในการทำงานให้เป็นไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกัน จึงถือได้ว่าวัฒนธรรมองค์กรเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพชนิดหนึ่งในการควบคุมคุณภาพ (Quality Management) และการบริหารเพื่อสร้างผลงาน (Performance Management) ที่ต้องการ

3) ความซื่อสัตย์และการรักษาความลับ (Loyalty and Confidentiality) การทำธุรกิจครอบครัวนั้น มีข้อได้เปรียบสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้บริหารสามารถไว้วางใจคนในครอบครัวในเรื่องความซื่อสัตย์ได้มากกว่าบุคคลภายนอก การรั่วไหลของเงินทอง การสูญเสียของข้าวของเครื่องใช้สำนักงานน่าจะเกิดขึ้นน้อยกว่า เพราะคนในครอบครัวจะช่วยกันเป็นหูเป็นตาห่วงใยทรัพย์สินของบริษัทมากกว่า นอกจากนั้น การรักษาความลับของบริษัทก็น่าจะทำได้ดีกว่าบุคคลภายนอก เช่น สูตรลับ หรือเคล็ดลับในการผลิตสินค้าก็จะถูกรักษาไว้เป็นอย่างดี ไม่รั่วไหลไปเข้าหูบุคคลภายนอก

4) ความทุ่มเทให้กับงานและความรับผิดชอบเป็นเจ้าของงาน (Devotion and Intrapreneurial Spirit) เนื่องจากสมาชิกในครอบครัวมักมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการอยู่ด้วย ทำให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ ความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของนี่เอง ที่จะทำให้สมาชิกแต่ละคนมีความห่วงใยบริษัทมากขึ้น ทำให้ทุ่มเทแรงกายแรงใจ และมีความรับผิดชอบทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งความรู้สึกเป็นเจ้าของและทำงานด้วยจิตใจที่มีความเป็นเจ้าของกิจการนี้ เรียกว่า Intrapreneurial Spirit

ทั้ง 4 ประการข้างต้นนี้ คือข้อได้เปรียบของการทำธุรกิจที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นพนักงาน หรือร่วมทำงานในองค์กรเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ธุรกิจครอบครัวก็มีจุดอ่อนอยู่ไม่น้อย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการในครอบครัวควรใส่ใจแก้ไข หรือเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ดังจะได้เล่าให้ฟังในลำดับต่อไปนี้

จุดด้อยของธุรกิจครอบครัวมีอะไรบ้าง?

1) เรื่องของอารมณ์ (Emotion) เป็นเรื่องที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษ เมื่อความเป็นคนกันเองในครอบครัวเดียวกันทำให้เกิดความคุ้นเคย แต่ถ้ามีความคุ้นเคยมากไปก็อาจจะทำให้ละเลยเรื่องความเกรงใจกัน ลองสังเกตดูสิคะว่าคนเรานั้นมักไม่ค่อยเกรงใจคนใกล้ชิดในครอบครัวเดียวกันสักเท่าไร นึกอยากจะพูดอะไรก็พูด อยากทำอะไรก็ทำ เพราะถือว่าคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องนี้แหละอาจทำให้เกิดความบาดหมางผิดใจกันได้ง่ายกว่าคนนอกเสียอีก ดังนั้น ต้องระวังเรื่องอารมณ์ให้ดี ยิ่งเป็นสามีภรรยา หรือพ่อแม่ลูกกันยิ่งต้องเกรงใจกันไว้หน่อย อย่านึกว่าเป็นลูกของเราแล้วจะสั่งเขาอย่างไรก็ได้ ต้องแยกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานให้ออก อย่าเอาเรื่องในบ้านมาปนกับงานในออฟฟิศนะคะ

2) ระวังอย่ายึดติดกับค่านิยมเก่าๆ จนไม่ยอมเปลี่ยนแปลง การที่องค์กรมีวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งเป็นเรื่องดี แต่การที่ผู้บริหารยึดมั่นกับคำสอนเก่าๆ หรือความเชื่อดั้งเดิมของบรรพบุรุษจนไม่ยอมปรับเปลี่ยนอะไรเลย ไม่ว่าสถานการณ์สิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนไปแล้วนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควร อย่ากลัวจนเกินไปว่าถ้าเปลี่ยนแปลงค่านิยมไปบ้างจะทำให้เสียภาพลักษณ์เดิมๆ การปรับเปลี่ยนนั้นสามารถทำได้ในหลายลักษณะโดยที่ไม่ส่งผลกระทบลบล้างค่านิยมเดิมๆ จนหมดไป

3) ปากมีหู ประตูมีช่อง ถึงแม้คนในครอบครัวจะเป็นที่น่าไว้วางใจได้ ก็ต้องระวังในระดับหนึ่ง ผู้บริหารจึงพึงใช้วิจารณญาณว่าสมาชิกคนใดในครอบครัวมีอัธยาศัยใจคออย่างไร เพราะตอนรักกันก็ดีอยู่ แต่พอโกรธกันก็สามารถแฉความลับทำได้แสบมากกว่าคนนอกเสียอีก ดังนั้น ต้องเลือกไว้วางใจคนให้เหมาะสมกับเรื่อง

4) อย่าคาดหวังกับคนในครอบครัวมากเกินไป จริงอยู่ที่คุณจะสามารถคาดหวังให้คนในครอบครัวทุ่มเทกับกิจการงานมากกว่าพนักงานคนนอก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะสามารถเรียกร้องหรือสั่งการพวกเขาโดยไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีเวล่ำเวลา นึกอยากจะสั่งงานตอนเที่ยงคืนก็โทรศัพท์ไปปลุกเขาเลยเพราะถือว่าเป็นญาติของตนเอง ขอให้ใช้ความระมัดระวังในจุดนี้ให้มาก เพราะมันอาจรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของเขาจนสุดจะทนแล้ว เลยโบกมืออำลาจากบริษัท และ...อำลาจากครอบครัวด้วยก็ได้!

5) รับคนนอกเข้ามาทำงานเพื่อรับความคิดใหม่ๆ แม้ลูกหลานของคุณจะเก่งกาจจบการศึกษามาจากเมืองนอกเมืองนาทุกคน ก็อย่าได้คิดว่าลำพังลูกหลานของคุณก็เก่งพอ รอบรู้พอ ที่จะบริหารธุรกิจแล้ว ขอให้เปิดใจรับคนนอกมาทำงานแล้วก็เปิดโอกาสให้คนนอกได้รับการเลื่อนขั้นทำงานในตำแหน่งสูงๆ ด้วย อย่าเก็บตำแหน่งสูงๆ ให้เฉพาะคนในครอบครัวของคุณเท่านั้น เพราะมิฉะนั้นจะไม่มีมืออาชีพฝีมือดีๆ จากข้างนอกมาทำงานให้คุณ การเปิดรับคนนอกมาทำงาน ทำให้คุณมีมุมมองใหม่ๆ จากภายนอกมาช่วยเสริมวิสัยทัศน์ของครอบครัวให้ดีขึ้น กว้างขึ้นกว่าเดิม

ข้อควรระวัง 5 ประการที่กล่าวมานี้ คงจะช่วยทำให้เจ้าของกิจการครอบครัวทั้งหลายหรือผู้ที่คิดจะเปิดธุรกิจครอบครัวได้ตระหนักถึงจุดเด่น และข้อควรระวังในการบริหารธุรกิจครอบครัว โดยสามารถดึงจุดเด่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์และพยายามลบจุดด้อยให้สำเร็จ ทั้งนี้ คุณจะได้สามารถบริหารธุรกิจครอบครัวแบบมืออาชีพได้ยังไงล่ะคะ

 การส่งต่อธุรกิจครอบครัว

บทความโดย : รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มา : http://www.thaihomemaster.com                                                                       




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ