ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 2)

 

                                                                                    ทะเบียนสมรส (บทความที่ 2)

 

                       

 

สถาบันครอบครัวมีความสำคัญในการสร้างคนดีหรือคนเลวไปสร้างสรรค์หรือทำลายสังคมก็ได้ ดังนั้น รัฐจึงตั้งใจดูแลการสร้างครอบครัวในเบื้องต้นโดยคำนึงถึงความมั่นคงเป็นหลัก โดยกำหนดขอบเขตให้มีความยืดหยุ่นและความยุติธรรมแก่สมาชิกครอบครัวไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัวเป็นการเฉพาะ เพื่อให้ทราบว่ากฎหมายไทยรับรองและคุ้มครองครอบครัวแบบใด

อายุของคู่สมรส

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 กำหนดว่า การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีแล้ว แต่ในกรณีมีเหตุอันสมควร ศาลอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนก็ได้ หลักการนี้ต้องการให้ผู้สร้างครอบครัวมีวุฒิภาวะพอในการดูแลครอบครัวได้ แต่มิได้เป็นกฎตายตัวโดยบิดามารดาของผู้เยาว์ต้องให้ความยินยอมหรือร้องต่อศาลเพื่อให้ความยินยอมก็ได้

วิธีรับรองการสมรส

พิธีสมรสตามธรรมเนียมไทยหรือศาสนาใดก็ตามย่อมมีความหลากหลายกันได้ และจัดใหญ่โตเพียงใดก็ได้ กฎหมายจักยอมรับว่าการสมรสนั้นถูกต้องต่อเมื่อชายหญิงต้องจดทะเบียนสมรสกันด้วยความยินยอม โดยกำหนดชัดไว้ใน มาตรา 1457 ว่า การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น ส่วนความยินยอมและเต็มใจในการสมรสกันมีอยู่ใน มาตรา 1458 ว่า การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภรรยากัน และต้องแสดงการยินยอมนั้น ให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมไว้ด้วย การสมรสอันเกิดจากการข่มขู่ ย่อมเป็นโมฆะและถือว่าไม่มีการสมรสมาแต่ต้น หลักการทั้งสองนี้มุ่งหมายให้สร้างครอบครัวด้วยหัวใจผูกพันกันและแจ้งต่อรัฐให้คุ้มครองสิทธิของชายหญิงไว้ ดังนั้น จักเห็นได้ว่า แม้จัดงานใหญ่โตหรืองานเล็ก หากไม่ยอมจดทะเบียนสมรสตามหลักกฎหมายแล้ว ชายและหญิงจักไม่ได้รับความคุ้มครองในฐานะเป็นครอบครัวที่ถูกต้องเลย

ข้อเสียของการไม่มีทะเบียนสมรส

1. ตามหลักกฎหมายนั้นการมีเพศสัมพันธ์ต่อกัน มิถือว่าครบองค์ประกอบของการเป็นสามีภรรยาที่รัฐต้องรับรองและคุ้มครองไว้ จึงมีสภาพคล้ายกับชายที่ใช้บริการของโสเภณีเท่านั้น
2. สิทธิต่างๆที่กฎหมายมอบแก่สามีภรรยาที่มีทะเบียนสมรส จักไม่อาจเรียกร้องได้เลย
3. ความรักเป็นอารมณ์ที่อาจเปลี่ยนแปรได้ตามกาลเวลาและจิตสำนึกของคน แต่ทะเบียนสมรสจักเปลี่ยนได้เมื่อกระทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น จึงมีความมั่นคงที่สุด
4. การทำตนเป็นชายชู้หรือหญิงนอกสมรสนั้น อาจต้องจ่ายค่าทดแทนแก่ผู้เสียหายเพราะพฤติกรรมของตนได้
5. เด็กที่เกิดจากชายหญิงที่ไม่มีทะเบียนสมรสนั้น ชายไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู และกฎหมายถือว่าเป็นลูกของหญิงเท่านั้น นอกจากมีการรับรองบุตรเป็นการเฉพาะเท่านั้น
6. ชายชู้หรือหญิงนอกสมรส ไม่มีสถานะเป็นทายาทโดยธรรมในการรับมรดก

ข้อดีของการมีทะเบียนสมรส

1. สังคมทั่วโลกต่างยกย่องและให้เกียรติแก่สามีหรือภรรยาที่ถูกต้องตามหลักกฎหมายของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยจักต้องมีทะเบียนสมรสเท่านั้น
2. เมื่อทำตามกฎหมายย่อมได้รับการคุ้มครองต่างๆจากรัฐ เช่น
- ทรัพย์สินที่หามาได้ระหว่างสมรส แม้ว่าอีกฝ่ายอาจไม่ได้ทำงานเลย ทั้งคู่ย่อมมีสิทธิคนละครึ่งหนึ่ง โดยกฎหมายมองว่า ถ้าแม่บ้านดูแลบ้านไม่ดี สามีคงไม่อาจหารายได้อย่างเต็มที่และสร้างทรัพย์สินต่างๆขึ้นมาใหม่ได้ จึงถือเป็นการช่วยเหลือกันทางอ้อม
- กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีชายชู้หรือหญิงนอกสมรส กฎหมายต้องการส่งเสริมครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว จึงกำหนดคุ้มครองสามีหรือภรรยามีทะเบียนไว้ให้มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากผู้ละเมิดสิทธิของตนได้ ตามมาตรา 1523 วรรค 2 ว่า สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้ และภริยาจะเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนองชู้สาวก็ได้ หลักการนี้กำหนดให้เรียกร้องค่าเสียหายจากชายชู้หรือหญิงนอกสมรสที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้มีทะเบียนสมรสได้
- ลูกที่เกิดจากชายหญิงที่จดทะเบียนสมรส จักได้รับการอุปการะเลี้ยงดูตามสมควรอันถือเป็นหน้าที่ของบิดาและมารดาซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจน
- การทำนิติกรรมผูกพันทรัพย์สินต่างๆ ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายเสมอ ทำให้รับรู้ความเสียหายล่วงหน้าหรือตักเตือนกันก่อนได้
- การรับมรดกนั้น กฎหมายกำหนดชัดให้คู่สมรสมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ตายด้วย
- หากต้องยุติชีวิตสมรส ผู้มีทะเบียนสมรสจักได้รับค่าเลี้ยงชีพจนกว่าจะมีคู่สมรสใหม่ และค่าเลี้ยงดูบุตร กรณีที่ต้องรับภาระหน้าที่ดูแลบุตรเอง อีกทั้งสินสมรสต้องแบ่งครึ่งหนึ่งด้วย ย่อมทำให้ชีวิตไม่ลำบากมากเกินเหตุ

ความสิ้นสุดแห่งการสมรส

ตามมาตรา 1501 กำหนดว่า การสมรสย่อมสิ้นสุดด้วยความตาย การหย่า หรือ ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หลักการนี้เปิดกว้างให้คู่สมรสพิจารณาร่วมกันในการยุติความเป็นครอบครัวได้ สำหรับกรณีผู้มีทะเบียนสมรสนั้นอาจเลือกได้สองวิธี คือ การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล หรือ การหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย
การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ต้องมีองค์ประกอบตามกฎหมายกำหนดไว้ในเหตุหย่าและต้องมิใช่เป็นผู้ก่อเหตุหย่าขึ้นเอง จึงฟ้องศาลได้ ซึ่งจะใช้เวลาพิจารณาคดีค่อนข้างนาน
การหย่าด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย สำหรับผู้มีทะเบียนสมรสนั้น ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน โดยไปกระทำที่สำนักงานเขตใดก็ได้ นับว่าทำง่ายกว่าหลายประเทศซึ่งมีกระบวนการหลายขั้นตอนกว่าการหย่าจะเสร็จสมบูรณ์ได้ บางประเทศใช้เวลาหลายปีทีเดียว สำหรับประเทศไทยสามารถหย่าเสร็จได้ในวันเดียวเท่านั้น
ความรักเป็นปฐมบทของการสร้างครอบครัวให้มั่นคง แต่ต้องไม่ลืมในการปฏิบัติตามกฎของสังคมซึ่งคือ กฎหมาย เช่นกัน ผู้ทำละเมิดสิทธิซึ่งกฎหมายให้ความรับรองและคุ้มครองไว้ จักต้องได้รับโทษและการดูแคลนจากคนในสังคม ดังนั้น ทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาแตกต่างและมีคุณค่าชัดเจนจากชายหญิงที่ให้บริการทางเพศทั่วไป หลายครั้งที่เราจักได้ยินเรื่องชายชู้หรือหญิงนอกสมรสพยายามเปลี่ยนฐานะตัวเองมาถือทะเบียนสมรสให้ได้ เนื่องจากตระหนักดีในเกียรติทางสังคมที่ต่ำต้อยและถูกดูแคลนจากคนทั้งหลายในไทยและในโลกสากล ทะเบียนสมรสต้องมีเพียงฉบับเดียวสำหรับชายหญิงคู่หนึ่งเท่านั้น กฎหมายกำหนดคุณค่าของมันไว้มาก เหตุไฉนหญิงจึงมองไม่เห็นความสำคัญของมันเทียบเท่าความรักที่พึงมอบให้ชาย และ ชายจึงไม่มอบเกียรติบัตรใบนี้แก่ผู้ที่เลือกมาเป็นภรรยาและมารดาของบุตร สังคมจักมีความสงบเมื่อทุกคนต่างเคารพในกติกาที่กฎหมายกำหนดไว้

   อ่านต่อ ทะเบียนสมรส (บทความที่ 1) คลิกที่นี่

บทความโดย :ลีลา LAW 

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=leelalaw&group=1

 

 




รวมบทความกฎหมายน่ารู้

การทวงหนี้
กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่
ไม้ตายจัดการเจ้าหนี้นอกระบบ
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์
ลิขสิทธิ์ Copyright Law
หมิ่นประมาท เหยียดหยาม
กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายแรงงาน
มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย
หมิ่นประมาท
กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้
ทำอย่างไร..เมื่อได้รับ "หมายศาล"
ความยินยอมของคู่สมรส
เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร
ผู้ต้องหามีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน
อายุความบัตรเครดิต 2 ปี หมายความว่าอย่างไร
เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ
หลักประกันตัวในคดีอาญา
ผู้ให้และผู้รับ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 1)
ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง