บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

วิธีการ...ลดความขัดแย้งในครอบครัว
วิธีการ...ลดความขัดแย้งในครอบครัว
ภาระอันยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของคนเราก็คือ การสร้างครอบครัวให้มีความสุข มั่นคงยืนนาน เลี้ยงดูอบรมบุตรธิดาให้มีความเจริญสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นอนาคตที่สำคัญของชาติต่อไป เมื่อครอบครัวดี สังคมก็ดี ประเทศชาติก็เจริญรุ่งเรืองตามไปด้วย การที่จะสร้างครอบครัวให้มีความสุขสมบูรณ์ได้นั้น พ่อแม่มีส่วนสำคัญมาก เพราะเป็นผู้ที่มีบทบาท และกำหนดบทบาทของคนในครอบครัวให้ดำเนินชีวิตไปตามขอบเขต หรือความคิดอ่านของคู่สามีภรรยา ปัญหาอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างความสุขในครอบครัว ก็คือความขัดแย้งระหว่างสามีภรรยา ซึ่งจะส่งผลกระทบมาที่ตัวลูกและสมาชิกทุกคนในครอบครัว ฉะนั้น จึงควรมาศึกษาและหาทางแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อที่จะไม่ให้ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นในครอบครัวได้ ความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในครอบครัว พอแยกได้ว่ามาจากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้คือ 1. นิสัยและความเคยชินส่วนตัว เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงกันยากมาก เพราะเป็นนิสัยติดตัวมานาน เคยปฏิบัติซ้ำๆ มาแล้วในอดีต ถึงแม้จะเปลี่ยนได้ แต่ก็เป็นเพียงชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้นสามีภรรยาจะต้องยอมรับ และทำใจให้ได้แล้วปรับตัวเข้าหากัน ผ่อนสั้นผ่อนยาว ถึงจะอยู่ด้วยกันยืนยาว 2. ขาดความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ สมัยก่อนสามีมีบทบาทเป็นผู้นำ หาเงินเลี้ยงครอบครัว ปัจจุบันสตรีมีบทบาทในการทำงาน หาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัวเช่นกัน แต่สตรีก็ยังต้องมารับผิดชอบงานในบ้าน และอบรมสั่งสอนบุตรธิดาอีก จึงทำให้บางครั้งภรรยารู้สึกหงุดหงิด และจุกจิกจู้จี้ไปบ้าง ทำให้เกิดความขัดแย้งได้ และสามีบางคนก็ไม่รับผิดชอบหน้าที่ของตนเอง คอยตำหนิ ดุด่าภรรยาว่าไม่อบรมเลี้ยงดูบุตร ทั้งๆ ที่งานอบรมเลี้ยงดูบุตรก็เป็นหน้าที่โดยตรงของทั้งพ่อและแม่ ฉะนั้น ทั้งสองคนต้องช่วยเหลือกันในการอบรมเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนการงานในบ้านที่ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 3. ไม่มีเวลาให้กันและกัน เนื่องมาจากต่างฝ่ายต่างมีภาระกิจต้องทำงาน บางทีก็แยกกันอยู่ ทำให้ไม่มีเวลาพูดคุย รับรู้สารทุกข์สุกดิบของกันและกัน ครอบครัวจึงควรมีวันแห่งครอบครัว สัปดาห์ละ 1 วัน หรือแล้วแต่ตกลงกัน มีเวลาอยู่พร้อมหน้ากัน พ่อ แม่ ลูก มีกิจกรรมร่วมกัน 4. ใช้ความรุนแรงตัดสินปัญหาในครอบครัว ได้แก่ การทะเลาะ ดุด่า ข่มขู่ จนกระทั่งลงมือตบตีกัน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการพูดยั่วยุของฝ่ายหญิง ทำให้ฝ่ายชายโกรธจนทนไม่ได้ ลงมือทำร้าย เพื่อระงับเหตุ แนวทางแก้ไขคือ 1. ไม่ควรพูดยั่วยุ จนถึงขั้นทนไม่ได้ 2. ควรตั้งกติกาครอบครัวเอาไว้ เช่น ไม่โกรธกันนานเกิน 1 อาทิตย์ ผู้ใดเป็นฝ่ายผิดต้องขอโทษก่อน และอีกฝ่ายต้องรีบให้อภัย และไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกเสียหน้า 3. ถ้าทนไม่ไหวต่อการยั่วยุจริงๆ ให้หลีกเลี่ยงการลงไม้ลงมือ โดยการเดินหนีไปสักระยะหนึ่ง เมื่อหายโกรธค่อยกลับมา
1. เรื่องเพศ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตคู่ จึงต้องมีความเข้าใจกัน และร่วมมือร่วมใจกันเพื่อความสุขของทั้งสองฝ่าย 2. ความไม่เข้าใจกัน มีความระแวง สงสัย ไม่ไว้วางใจกันและกัน แสดงตนเป็นเจ้าเข้าเจ้าของ จู้จี้บ่นมากเกินไป แนวทางแก้ไข คือ ยึดหลัก 3 ไม่ 4 มี ดังต่อไปนี้ 3 ไม่ 1. ไม่จุกจิก จู้จี้ 2. ไม่เป็นเจ้าของหัวใจ 3. ไม่ตำหนิติเตียน
1. ยกย่องให้เกียรติ 2. เอาอกเอาใจยามป่วยไข้ควรดูแล 3. วาจาสุภาพอ่อนโยน 4. มีความรู้เรื่องเพศ ปัญญัติ 8 ประการ เมื่อสามีนอกใจ 1. หาความรู้เรื่องเพศ 2. ไม่ตัดสินใจหย่าง่ายๆ 3. ไม่แก้แค้นแบบเกลือจิ้มเกลือ 4. ไม่แก้แค้นแบบไม่ให้สามีนอนด้วย 5. ไม่แก้แค้นโดยคาดคั้นให้สามียอมรับ 6. ไม่สืบสวนโดยจ้างทนายสืบ 7. ไม่โพนทนา
ผู้แต่ง : โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ที่มา : กรมสุขภาพจิต |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |