ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า

 

                                                                                    ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า

 

                                                                               

 

ประเภทของเครื่องหมายที่ขอจดทะเบียนคุ้มครอง

พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2543 ให้ความคุ้มครองเครื่องหมาย 4 ประเภท คือ

1.1 เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้ หรือจะใช้เป็นเครื่องหมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น

1.2 เครื่องหมายบริการ หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นเครื่องหมาย หรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายบริการนั้น แตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น

1.3 เครื่องหมายรับรอง หมายความว่า เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้ หรือจะใช้เป็นเครื่องหมาย หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรอง เกี่ยวกับสภาพ คุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น

1.4 เครื่องหมายร่วม หมายความว่า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้ หรือจะใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรใดของรัฐหรือเอกชน

การได้มาซึ่งความคุ้มครอง

ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้า มิได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เจ้าของเครื่องหมายการค้า จะต้องนำเครื่องหมายการค้าที่คิดขึ้น ไปทำการจดทะเบียนเสียก่อน จึงจะได้รับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534

เครื่องหมายการค้ามีประโยชน์อย่างไร

ด้านเจ้าของเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายการค้ามีประโยชน์ในการที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำ หรือเรียกขานสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นได้ และไม่สับสนกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่นๆ

ด้านผู้บริโภค เครื่องหมายการค้าจะทำให้ผู้บริโภคสามารถแยกแยะสินค้า ที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้น จากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่นๆ และเครื่องหมายการค้าจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพตามต้องการ รวมทั้งทราบถึงตัวเจ้าของเครื่องหมายการค้าด้วย

สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้าที่ยังมิได้จดทะเบียนนั้น แต่จะฟ้องคดีเพื่อป้องกันการละเมิดเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน หรือค่าเสียหายไม่ได้

เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ที่จะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าที่จดทะเบียนไว้ และกรณีที่ผู้อื่นละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว มีสิทธิที่จะฟ้องร้องและเรียกค่าเสียหาย ได้ และในกรณีที่มีผู้อื่นนำเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้าไปจดทะเบียน เจ้าของเครื่องหมายการค้าอาจฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้

ดังนั้น ผู้ที่จะใช้เครื่องหมายการค้า ไม่ควรใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

โดยทั่วๆ ไป ก่อนการยื่นขอจดทะเบียน ผู้ที่ต้องการขอจดทะเบียนควรที่จะขอตรวจสอบค้นดูที่ สำนักเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่ามีเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนใว้แล้วเหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของตนหรือไม่ ถ้ามีเครื่องหมายมราเหมือนหรือคล้ายกันได้จดทะเบียนไว้แล้ว ก็ไม่สามารถจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ต้องการจดทะเบียนได้อีก

ลักษณะของเครื่องหมายที่จดทะเบียนได้

ลักษณะเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วมที่จดทะเบียนได้ จะต้องประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ

2.1 มีลักษณะบ่งเฉพาะ คือ ลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจว่าสินค้าที่ใช้นั้นแตกต่างจากสินค้าอื่น เช่น รูปหรือคำที่ได้ประดิษฐ์ขึ้นลายมือชื่อหรือภาพของผู้เป็นเจ้าของ เป็นต้น
2.2 ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น ธงชาติ เครื่องหมายราชการ พระบรมฉายาลักษณ์ เป็นต้น
2.3 ไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายของบุคคลอื่น เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนนั้น จะต้องไม่เหมือนกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือคล้ายกับเครื่องหมายที่บุคคลอื่นได้จดไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสน หรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดสินค้า โดยพิจารณาจากคำ เสียงเรียกขาน รูปหรือภาพ และการประดิษฐ์ของเครื่องหมาย เป็นต้น


อายุความคุ้มครอง

เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว มีอายุความคุ้มครอง 10 ปี เมื่อครบกำหนดสามารถที่จะต่ออายุได้เป็นคราวๆ คราวละ 10 ปี


 ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)