บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

การก่อการร้ายสากลที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย ![]()
การก่อการร้ายสากลที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย
(ภาพประกอบจาก http://www.wiruch.com )
การก่อการร้ายสากลเกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515 โดยสมาชิกขบวนการก่อการร้ายปาเลสไตน์ ซึ่งใช้ชื่อว่า The Black September Organization จำนวน 4 คน ได้บุกเข้ายึดสถานทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนหลังสวน กรุงเทพฯ และจับบุคคลที่อยู่ในสถานทูตไว้เป็นตัวประกัน 6 คน โดยยื่นข้อเรียกร้องต่อทางการอิสราเอล 3 ข้อ โดยฝ่ายไทยได้จัดเครื่องบินพิเศษพการก่อการร้ายสากลเกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515 โดยสมาชิกขบวนการก่อการร้ายปาเลสไตน์ ซึ่งใช้ชื่อว่า The Black September Organization จำนวน 4 คน ได้บุกเข้ายึดสถานทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนหลังสวน กรุงเทพฯ และจับบุคคลที่อยู่ในสถานทูตไว้เป็นตัวประกัน 6 คน โดยยื่นข้อเรียกร้องต่อทางการอิสราเอล 3 ข้อ โดยฝ่ายไทยได้จัดเครื่องบินพิเศษพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่คุ้มกันนำออกไปส่งที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรง เหตุการณ์ครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2519 ผู้ก่อการร้ายชาวมุสลิม 3 คน จากขบวนการปลดปล่อยแห่งชาติโมโรแห่งมินดาเนา (Moro National Liberation Front of Mindanao) ได้ปล้นยึดเครื่องบินโดยสารภายในประเทศที่เมืองคากายัน เดอ โอโร พร้อมด้วยผู้โดยสาร 70 คน ไว้เป็นตัวประกัน และตั้งข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลฟิลิปปินส์ 3 ข้อ ผู้ก่อการร้ายได้บังคับให้กัปตันนำเครื่องบินไปลงที่สนามบินมะนิลา และยินยอมปล่อยผู้โดยสารทั้ง 70 คน ที่ยึดไว้เป็นตัวประกัน ต่อมาการเจรจาระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์ตกลงกันไม่ได้ ผู้ก่อการร้ายจึงบังคับเครื่องบินให้บินออกนอกประเทศตามเส้นทางโกตาคิ นะบาลู รัฐซาบาร์ กรุงกัวลาลัมเปอร์ และมาลงดอนเมืองเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2519 ไทยเป็นตัวกลางเจรจาระหว่างผู้ก่อการร้ายกับรัฐบาลฟิลิปปินส์ ในที่สุดผู้ก่อการร้ายได้นำเครื่องบินต่อเดินทางไปลิเบียเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2519 เหตุการณ์ครั้งที่สามเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2524 ผู้ก่อการร้ายกลุ่มคอมมานโดญิฮาด (Commando Jihad Movement) จำนวน 5 คน ได้ปล้นยึดเครื่องบินการูด้าสายการบินภายในประเทศของอินโดนีเซีย ขณะบินขึ้นจากสนามบินปาเล็มบังไปยังเมืองเมดาน และเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซีย ปล่อยนักโทษการเมืองอินโดนีเซียที่ถูกคุมขังอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศไปส่งยังกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ต่อจากนั้นได้บังคับให้นำเครื่องบินไปจอดแวะเติมน้ำมันและขอเสบียงที่สนามบินปีนัง มาเลเซีย และเดินทางต่อมายังประเทศไทยลงที่สนามบินดอนเมือง ทางฝ่ายไทยและฝ่ายอินโดนีเซียได้เจรจาต่อรองกับผู้ก่อการร้ายจนถึงวันที่ 30 มีนาคม 2524 จนในที่สุดได้ตกลงใจที่จะใช้กำลังแย่งชิงตัวประกัน โดยฝ่ายไทยเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติการและฝ่ายอินโดนีเซียใช้หน่วยจู่โจมเข้าแย่งชิงตัวประกัน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2524 เวลา 02.35 น. ผลการปฏิบัติการผู้ก่อการร้ายตาย 4 คน บาดเจ็บ 1 คน หน่วยจู่โจมตาย 1 คน นักบินที่ 1 ตาย ผู้โดยสาร 43 คนปลอดภัย เหตุการณ์ครั้งที่สี่เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2525 ปรากฏว่า มีผู้นำกระเป๋าเอกสารซึ่งบรรจุระเบิดชนิด C4 น้ำหนักประมาณ 10 ปอนด์ ไปทิ้งไว้ในสำนักงานบริษัท เอ.อี.นานา จำกัด เลขที่ 27-29 ถนนอนุวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ซึ่งเคยเป็นที่ทำการของสถานกงสุลกิตติมศักดิ์อิรัก/กรุงเทพฯ และได้เกิดระเบิดขึ้นเมื่อเวลา 16.27 น. ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจแผนกวัตถุระเบิด กองพลาธิการ กรมตำรวจ กำลังพยายามจะนำกระเป๋าดังกล่าวออกจากตัวอาคารเป็นผลให้อาคารบริษัท เอ.อี.นานา จำกัด ซึ่งเป็นตึก 2 ชั้น 2 คูหา พังถล่มลงมา มีผู้เสียชีวิต 1 นาย คือ พ.ต.ท.สุรัตน์ สุมานัส หัวหน้าแผนกวัตถุระเบิด เจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ 4 คน และประชาชนบาดเจ็บ 13 คน ต่อมาในวันที่ 3 ธันวาคม 2525 ผู้ก่อการร้ายขบวนการปฏิบัติการอิสลามแห่งอิรัก (Iraqi Islamic Action Organization) ได้โทรศัพท์แจ้งไปยังสำนักข่าว AFP ในกรุงปารีส อ้างความรับผิดชอบกรณีระเบิดดังกล่าว จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลไทยตระหนักว่า จำเป็นที่ทางการไทยจะต้องกำหนดมาตรการเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2526 ตามข้อเสนอของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กำหนดนโยบายหลักและแนวความคิดในการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ซึ่งต่อมาแก้ไขเป็นนโยบายแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล และให้มีการจัดตั้งองค์กรระดับนโยบายและอำนวยการในรูปแบบคณะกรรมการ เรียกว่า คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล (นอก.) นโยบายการแก้ปัญหาการก่อการร้ายสากลระบุว่า การก่อการร้ายสากล ได้แก่ การปฏิบัติการ (คุกคามหรือใช้ความรุนแรง) ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มุ่งหวังผลตามเงื่อนไขข้อเรียกร้องทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งส่วนใหญ่จะปฏิบัติการล่วงล้ำเขตแดนหรือเกี่ยวพันกับชาติอื่น การกระทำนั้นอาจเป็นไปโดยเอกเทศปราศจากการสนับสนุนจากรัฐใดๆ หรือมีรัฐใดหนึ่งสนับสนุนรู้เห็นก็ได้ เมื่อเกิดขึ้นย่อมมีผลกระทบโดยตรงต่อประโยชน์ของชาติ พันธกรณีระหว่างประเทศ นโยบายของชาติทั้งด้านการเมือง และการป้องกันประเทศ การเศรษฐกิจ และสังคมจิตวิทยา ชื่อเสียงและเกียรติภูมิของชาติ ประเทศไทยไม่ใช่เป้าหมายโดยตรงของการก่อการร้ายสากล แต่การก่อการร้ายในประเทศอาจเกิดขึ้นได้เสมอ เนื่องจากการก่อการร้ายในปัจจุบันมีลักษณะไร้พรมแดน มีการกระจายเป็นกลุ่มเล็กๆ และมีอำนาจตัดสินใจปฏิบัติการโดยอิสระมากขึ้น การที่ไทยเป็นประเทศเปิดเสรี จึงทำให้ผู้ก่อการร้ายสากลได้เคยใช้ไทยเป็นเส้นทางผ่าน แหล่งพักพิงชั่วคราวและแหล่งจัดหาสิ่งสนับสนุนการปฏิบัติการ เช่น การจัดหาเอกสารปลอม จัดหาอาวุธ การอำพรางสถานะของบุคคล การรวบรวมข่าวสารและเงินทุน รวมทั้งพยายามจัดตั้งเครือข่ายปฏิบัติการขึ้นด้วย เนื่องจากไทยมีปัจจัยเกื้อกูลหลายประการ เช่น เป็นศูนย์กลางการคมนาคม การบังคับใช้กฎหมาย และการรักษาความปลอดภัยที่ย่อหย่อน ขาดประสิทธิภาพ การดำเนินงาน และปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ กลุ่มผู้ก่อการร้ายสากล ซึ่งเป็นที่จับตาของประเทศต่างๆ ในขณะนี้คือ กลุ่ม Al Qaida กลุ่ม Jemaah Islamiya : JI และกลุ่มผู้ก่อการร้ายจากตะวันออกกลาง เช่น กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ส่วนผู้ก่อการร้ายยุคใหม่เป็นผู้มีการศึกษาระดับสูง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากสถาบันการศึกษาศาสนา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีอุดมการณ์และเสียสละสูง (แต่ก็มีบางคนที่มีความเชื่อทางไสยศาสตร์มาก) มีความสามารถในการใช้อาวุธและระเบิดที่ได้รับการฝึกและศึกษามาจากต่างประเทศ และมีความสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ดี ที่มา : สำนักข่าวกรองแห่งชาติ http://www.nia.go.th |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |