บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

การเรียกเลข 2 ในหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกต้อง ![]()
การเรียกเลข 2 ในหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกต้อง การเรียกหมายเลขโทรศัพท์เลข 2 จะเรียกว่า สอง หรือ โท จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาการ ตอบ การเรียกเลข 2 ว่า “โท” มาจากทหารเรือ เพราะตามปกติเรือที่ปฏิบัติงานอยู่กลางทะเลย่อมมีเสียงคลื่นลมและเครื่องจักรรบกวนการสั่งงานอยู่เสมอ การพูดจาตอบโต้กันจึงต้องตะโกน หรือใช้เสียงดังกว่าปกติ การขานจำนวนตัวเลข เช่น การสั่งศูนย์ปืน มุมหัน มุมกระดก ที่ลงท้ายด้วยหนึ่งนั้น ตามธรรมดาจะออกเสียง “เอ็ด” ซึ่งคล้ายกับ “เจ็ด” มาก เพื่อความถูกต้องและชัดเจน ทหารเรือจึงออกเสียง “หนึ่ง” แทน “เอ็ด” เสมอ เช่น 11 อ่าน สิบหนึ่ง 21 อ่าน ยี่สิบหนึ่ง ส่วนเลข 2 ก็เหมือนกัน อาจฟังเป็นสาม จึงกำหนดให้ออกเสียงว่า “โท” ซึ่งมาจากคำภาษาไทยที่ว่า เอก โท ตรี ซึ่งแทน 1 2 3 ได้ เช่น จ่าเอก จ่าโท จ่าเอก หรือ ปริญญาเอก ปริญญาโท ปริญญาตรี ต่อมาศัพท์ทหารเรือได้เผยแพร่มายังข้างนอกด้วย เมื่อกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงนำโทรศัพท์แบบต่อเอง (Automatic Telephone System)มาใช้ในประเทศไทย คนทั่วไปจึงพลอยเรียกหมายเลขโทรศัพท์ที่มีเลข 2 ว่า “โท” ไปด้วย เพื่อกันความผิดพลาดเวลาที่ต้องบอกหมายเลขโทรศัพท์ซึ่งมีเลขหลายตัว แต่มีข้อสังเกตอยู่ว่า “โท” นั้นจะใช้กับหมายเลขโทรศัพท์เท่านั้น เพราะว่ามีตัวเลขหลายตัว ส่วนรหัสทางไกลและรหัสประเทศนั้นยังคงออกเสียงว่า “สอง” เพราะเป็นรหัสที่มีตัวเลขน้อย และเพื่อแยกให้ชัดเจนระหว่างหมายเลขโทรศัพท์กับรหัสทางไกลและรหัสประเทศ เช่น 02-9544992 อ่านว่า ศูนย์สอง เก้าห้าสี่สี่เก้าเก้าโท ที่มา : http://www.matichon.co.th |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |