
การใช้แรงงานหญิง

ปัจจุบันเรามีกฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ใช้บังคับ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541ซึ่งมีผลใช้
บังคับมาตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2541 เป็นต้นมา
ผู้เขียน ขออธิบายกฎหมายเกี่ยวกับการใช้แรงงานหญิง ในเรื่องดังต่อไปนี้
1.งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกาย กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างหญิงทำงานอย่าง
หนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (มาตรา 38)
(1) งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือปล่องในภูเขา เว้นแต่ลักษณะของงาน
ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างหญิงนั้น
(2) งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป
(3) งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ
(4) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
2.เวลาทำงานยามวิกาล นายจ้างอาจให้ลูกจ้าหญิงทำงานในระหว่างเวลา 24.00 06.00 น. ได้ แต่ก็ต้องอยู่ภาย
ใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของพนักงานตรวจแรงงาน โดยกฎหมายบัญญัติให้พนักงานตรวจแรงงานที่เห็นว่างานนั้น
อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างหญิงนั้น ต้องรายงานต่ออธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครอง
แรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เพื่อพิจารณาและมีคำสั่งให้นายจ้างเปลี่ยนเวลาทำงานหรือลดชั่วโมงทำงานได้
ตามที่เห็นสมควร ซึ่งนายจ้างต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว (มาตรา 40)
3.การห้ามกระทำการล่วงเกินทางเพศ ในการทำงานในสถานประกอบกิจการของนายจ้างลูกจ้างหญิงต้องได้รับ
หลักประกันในความปลอดภัยต่อสวัสดิภาพของหญิงมากกว่าความปลอดภัยในการทำงานโดยทั่วไป กฎหมายจึงห้าม
มิให้นายจ้างหรือผู้ซึ่งเป็นหัวหน้างาน ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ตรวจงาน กระทำการล่วงเกินทางเพศต่อลูกจ้างหญิง
(มาตรา 16)
4.หญิงมีครรภ์ ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ได้รับความคุ้มครองเป็นพิเศษเพิ่มจากความคุ้มครองที่ให้แก่ลูกจ้าง
หญิงโดยทั่วไป 5 ประการ ดังนี้
4.1 งานต้องห้ามที่อาจต้องเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกาย
กฎหมายห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (มาตรา 39)
(1) งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
(2) งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
(3) งานยก แบก หาบ หาม ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
(4) งานที่ทำในเรือ
(5) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
4.2 เวลาทำงาน กฎหมายห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ทำงานในเวลาวิกาล คือ
ระหว่าง 22.00 -06.00 น. ทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด (มาตรา 39)
4.3 สิทธิลาเพื่อคลอดบุตร
ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน ซึ่งนับรวมวันหยุดที่ระหว่างวันลาด้วย
(มาตรา 41)โดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันลาเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน วัน (มาตรา 59)
4.4 สิทธิขอเปลี่ยนงานชั่วคราว
ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มีสิทธิขอเปลี่ยนหน้าที่เดิมเป็นการชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดโดยมีใบรับรองแพทย์แผน
ปัจจุบันชั้นหนึ่งมาแสดงว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมต่อไปได้ ซึ่งนายจ้างต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมให้
แก่ลูกจ้างนั้น (มาตรา 42)
4.5 การเลิกจ้าง
ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ได้รับความคุ้มครองมิให้ถูกลูกจ้างเลิกจ้าง โดยกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง
ลูกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ (มาตรา 43) 129/4
ที่มา : อ.สะอาด หอมมณี รองคณะบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
http://ftp.east.spu.ac.th/faculty/law