ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า และการปฐมพยาบาลผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด | |
|
|
ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้าในเคหสถาน |
|
ไฟฟ้าเป็นสิ่งช่วยอำนวยความสะดวกแก่มวลมนุษย์ซึ่งนับวันก็จะมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นและการใช้ ไฟฟ้าก็แพร่หลายออกไปในชนบทต่างๆ ทั่วประเทศทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ซึ่งท่านทั้งหลายคงทราบกันดี อยู่แล้ว แต่ในขณะเดียวกันไฟฟ้าก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ไฟได้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ตระหนักถึงอันตราย ดังกล่าว จึงขอแนะนำความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้าในเคหสถานดังนี้ |
|
 |
|
1. เมื่อร่างกายของท่านเปียกชื้น เช่น มือ เท้าเปียก ไม่ควรแตะต้องอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะหากอุปกรณ์ดังกล่าวชำรุด ท่านจะถูกกระแสไฟฟ้าดูดอย่างรุนแรงและอาจเสียชีวิตได้ ในกรณ์ที่เกิด น้ำท่วมภายในบ้าน หากจำเป็นต้องใช้ไฟก็ให้ตัดวงจรส่วนที่น้ำท่วมออก |
|
 |
|
2. เมื่อท่านไม่มีความรู้พอสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดใด ท่านไม่ควรซ่อมแซมหรือ แก้ไขอุปกรณ์ดังกล่าวเอง เพราะอาจทำให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเกิดอันตรายได้ |
|
 |
|
3. เมื่อท่านกำลังจะซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าเองท่านต้องตัดกระแสไฟฟ้าที่จ่ายไปยังอุปกรณ์ นั้นๆ เช่น ถอดเต้าเสียบ ปลดสวิตซ์ เป็นต้น |
|
 |
|
4. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อนสูง เช่น เตารีด เตาไฟฟ้า ควรระมัดระวังอย่าใช้งานใกล้กับสารไวไฟ และอย่าเสียบเต้าเสียบทิ้งไว้เมื่อไม่มีคนอยู่ เมื่อเลิกใช้ให้ถอดเต้าเสียบออก |
|
 |
|
5. ระวังอย่าให้เด็กเล่นเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า และเต้ารับควรใช้แบบที่มีฝาปิดเพื่อป้องกันเด็ก นำวัสดุไปเสียบรูเต้ารับซึ่งจะเกิดอันตรายได้ |
|
 |
|
6. หากพบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดให้ตัดจ่ายกระแสไฟฟ้าก่อน เช่น ปลดคัทเอาท์. เต้าเสียบออกหรือใช้ผ้าแห้ง คล้องผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดออกมาก่อนทำการปฐมพยาบาล |
|
 |
|
7. ควรจัดให้มีการตรวจสอบไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจเกิด อันตรายและอัคคีภัยขึ้นได้ |
|
 |
|
8. เต้ารับที่ติดตั้งภายในบ้านและเต้าเสียบของเครื่องไฟฟ้า หากพบว่าแตกชำรุดให้รีบเปลี่ยนใหม่โดยเร็ว และหากพบว่าสายไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าเปื่อยชำรุดก็ให้เปลี่ยนใหม่ด้วย |
|
 |
|
9. เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่ผิวนอกเป็นโลหะ เช่น ตู้เย็น พัดลม เครื่องสูปน้ำ อาจมีกระแสไฟฟ้ารั่วไป ที่ผิวนอกดังกล่าวได้ ท่านควรหมั่นตรวจสอบโดยใช้ไขควงเช็คไฟตรวจสอบหากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วควร ให้ช่าวซ่อมแซมแก้ไขต่อไป |
|
 |
|
10. ฟิวส์ที่ใช้ตามแผงสวิตซ์ต่างๆ ต้องติดตั้งขนาดให้ถูกต้องและเหมาะสม เมื่อฟิวส์ขาดควรมีการตรวจหา สาเหตุโดยเบื้องต้นด้วยก่อนที่จะเปลี่ยนฟิวส์ใหม่และต้องใส่ฟิวส์ขนาดเดิม ห้ามใช้สายไฟ้หรือลวดแท่นฟิวส์ เพราะเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรสายไฟหรือลวดจะไม่ขาจอาจอัคคีพภัย |
|
 |
|
11. การถอดเต้าเสียบ ให้จับที่ตัวเต้าเสียบแล้วดึงออกอย่าดึงที่สายไฟฟ้าเพราะอาจทำให้สายไฟฟ้าขาด ภายในและเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ |
|
 |
|
12. อย่าใช้ผ้าหรือกระดาษพลางหลอดไฟไว้เพราะอาจเกิดอัคคีภัยได้ |
|
 |
|
13. อย่าใช้สายไฟฟ้าเสียบที่เต้ารับโดยตรงหรือใช้เต้าเสียบที่แตกชำรุดไปเสียบที่เต้ารับ เพราะอาจเกิด กระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรืออาจพลั้งพลาดถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้ |
|
 |
|
14. การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหลายเครื่องในเวลาเดียวกัน ต้องไม่เสียบเต้าเสียบที่เต้ารับอันเดียวกัน เพราะ อาจทำให้กระแสไฟฟ้าไหลในสายเต้ารับมีปริมาณสูงมากและเกิดความร้อนสะสม เป็นเหตุให้ฉนวนสายไฟฟ้า เสียหายและเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดอัคคีภัยขึ้นได้ |
|
 |
|
15. อุปกรณ์และสายไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านให้เลือกใช้สายไฟฟ้าที่ได้มาตราฐานซึ่งมีเครื่องหมายมาตราฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พิมพ์บนสายไฟฟ้านั้น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการนำไปใช้งาน |
|
 |
|
16. อย่าเดินหรือวางสายไฟฟ้าใกล้บริเวณที่มีความร้อนสูงและอย่าให้ของหนักกดทับสายไฟฟ้าเพราะอาจ ทำให้ฉนวนสายไฟฟ้าลัดวงจรเกิดอุบัติขึ้นได้ |
|
 |
|
17. การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ให้ปฏิบัติตามคู่มือคำแนะนำที่แนบมากับเครื่อง เพื่อความปลอดภัยและ ไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดเสียหาย จากที่กล่าวมาแล้วนั้น หากท่านสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ขอเชิญสอบถามได้ที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่อยู่ใกล้บ้านท่าน |
|
ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้าในสาธารณะสถาน |
|
ในปัจจุบันไฟฟ้าได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในตัวเมืองและชนบทจึงต้องมีการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้ เพียงพอกับความต้องการ โดยมีการเดินสายไฟฟ้าแรงสูงไปในสถานที่ต่างๆ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับ ไฟฟ้าในสาธารณะสถานดังนี้ |
|
 |
|
1. เมื่อท่านไปพบเห็นสายไฟฟ้าขาดหรือสายไฟฟ้าที่หย่อนยานต่ำลงมา ซึ่งอาจเนื่องจากเสาไฟฟ้าหักหรือสาเหตุ อื่น ท่านต้องไม่เข้าไปจับต้องสายไฟฟ้าหรือปุกรณ์ไฟฟ้านั้นพร้อมทั้งช่วยห้ามบุคคลอื่นเข้าไปจับต้องด้วย และขอให้ แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่อยู่ใกล้ทราบ เพื่อจะได้ซ่อมแซมแก้ไขต่อไป |
|
 |
|
2. หากท่านพบว่ามีผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดท่านต้องใช้วัสดุที่เป็นฉนวน เช่น ไม้แห้งๆ เขี่ยหรือดันสายไฟฟ้า ซึ่งอยู่ที่ตัวผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดออกไปก่อน แล้วจึงเข้าทำการช่วยเหลือหรือนำส่งโรงพยาบาลต่อไป |
|
 |
|
3. ต้นไม้ที่อยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้าแรงสูงเมื่อเกิดลมพัดอาจทำให้กิ่งไม้ไปแตะสายไฟฟ้าแรงสูงซึ่งเป็นสาเหตุ หนึ่งที่ทำให้กระแสไฟฟ้าดับบ่อยดังนั้นเมื่อท่านพบเห็นหรือเป็นเจ้าของต้นไม้ควรแจ้งให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นผู้ตัดออกให้ เพื่อความปลอดภัยโปรดจำไว้ว่าท่านต้องไม่ทำการตัดเองและช่วยแนะนำผู้อื่นอย่าให้ตัดกิ่งไม้ ดังกล่าว |
|
 |
|
4. การเล่นว่าวต้องเล่นในบริเวณที่ไม่มีสายไฟฟ้าโดยเฉพาะสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ เมื่อสายว่าวไปแตะถูกสายไฟฟ้าแรงสูงกระแสไฟฟ้าจะไหลไปตามสายว่าวดูดผู้เล่นว่าวติดสายไฟฟ้า ห้ามปีน เสาไฟฟ้าขึ้นไปเก็บว่าวและอย่าใช้วัสดุไปเขี่ยว่าวที่ดติดสายไฟฟ้า อาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้รับอันตราย |
|
 |
|
5. เมื่อท่านต้องการตั้งเสาทีวีหรือเสาวิทยุต้องหลีกเลี่ยงอย่าไปตั้งในบริเวณที่มีสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะท่าน อาจพลั้งพลาด เสาดังกล่าวล้มไปแตะสายไฟฟ้าแรงสูงท่านอาจได้รับอันตรายและหากมีเสาทีวี วิทยุ หรือเสาอื่นที่ อยู่ใกล้สายแรงสูง ต้องยึดโยงให้มั่นคงแข็งแรา |
|
 |
|
6. การถือวัสดุต่างๆ ต้องระวังอย่าให้เข้าใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง เช่นท่อน้ำ ราวตากผ้า โดยเฉพาะบริเวณระเบียง ตึกหรือดาดฟ้าตึกแถว |
|
 |
|
7. การก่อสร้างตึก อาคารในบริเวณที่ใกล้สายแรงสูง ผู้ปฏิบัติงานต้องระมัดระวัง อย่าให้วัสดุก่อสร้างไปแตะ สายไฟฟ้าแรงสูงและผู้ดำเนินการก่อสร้างควรไปติดต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องถิ่นเพื่อทำการครอบฉนวน ที่สายไฟฟ้าแรงสูงให้ ซึ่งจะช่วยให้ปลอกภัยในการปฏิบัติงาน |
|
 |
|
8. การติดตั้งป้ายโฆษณาหรือสิ่งอื่นๆ ที่อยู่ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูงต้องระวังอย่าให้วัสดุต่างๆ ไปแตะสายไฟฟ้า แรงสูง ควรปรึกษาขอคำแนะนำจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องถิ่น เพื่อดำเนินการครอบฉนวนป้องกันมิให้เกิด อันตรายได้ |
|
 |
|
9. การเผาหญ้า กิ่งไม้ หรือเศษวัสดุต่างๆ ให้ห่างจากเสาไฟฟ้าเพราะอาจทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรและ เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่ใกล้ได้ |
|
 |
|
10. การยิงนกที่เกาะอยู่บนเสาไฟฟ้าหรือบนลูกถ้วยไฟฟ้า อาจทำให้สายไฟฟ้าขาดหรือลูกถ้วยแตกชำรุดเกิด กระแสไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดเป็นอันตรายต่อผู้ยิงนกหรือผู้ที่อยู่ใกล้ได้ |
|
 |
|
11. ห้ามจับปลาโดยใช้กระแสไฟฟ้าช็อตปลา เพราะเป็นการผิดกฎหมายและผู้จับปลาหรือผู้ที่อยู่ใกล้ อาจถูก กระแสไฟฟ้าดูดบาดเจ็บหรือเสียชีวิต |
|
 |
|
12. ห้ามปีนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโดยพละการเพื่อขึ้นไปติดตั้งสิ่งต่างๆ เช่น ป้ายโฆษณา ลำโพง ต้องแจ้งให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทราบเพื่อพิจารณาดำเนินการและป้องกันมิให้เกิดอันตรายจากการถูกกระแส ไฟฟ้าดูด |
|
การช่วยเหลือผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด |
|
เมื่อท่านพบเห็นผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด ท่านต้องเข้าใจวิธีการช่วยเหลือให้พ้นออกจากการถูกระแสไฟฟ้าดูดได้อย่าง ถูกวิธีและรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองและช่วยให้ผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดพ้นอันตรายได้ หลังจากนั้น ต้องทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ช่วยเหลือในระหว่างที่รอและนำส่งโรงพยาบาลด้วย ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขอแนะ นำขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้ |
|
 |
|
1. หากพบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดให้ตัดการจ่ายไฟ เช่น คัทเอาท์ หรือ เต้าเสียบ |
|
 |
|
2. ใช้ไม้แห้งหรือฉนวนไฟฟ้าเขี่ยอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นจากผู้ที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูดหรือใช้ผ้าแห้ง เชือก ดึงผู้ป่วย ออกจากจุดที่เกิดเหตุโดยเร็วเพื่อปฐมพบาบาล |
|
 |
|
3. ช่วยปฐมพยาบาลขั้นต้น โดยการวางผู้ป่วยให้นอนหงาย แล้วซ้อนคอผู้ป่วยให้แหงนขึ้น |
|
 |
|
4. ตรวจดูว่ามีสิ่งอุดตันในช่องปากหรือไม่ หากพบให้นำออกและช่วยเป่าปากโดยใช้นิ้วง้างปากและบีบจมูกของ ผู้ป่วย |
|
 |
|
5. ประกบปากของผู้ป่วยให้สนิท เป่าลมเข้าแรง ๆ โดยเป่าปากประมาณ 12-15 ครั้ง/นาที สังเกต การขยาย ของหน้าอก หากเป่าปากไม่ได้ให้เป่าจมูกแทน |
|
 |
|
6. หากหัวใจหยุดเต้น ต้องนวดหัวใจโดยวางผู้ป่วยนอนราบแล้วเอามือกดเหนือลิ้นปี่ให้ถูกตำแหน่ง(ดังรูป) กดลง ไปเป็นจังหวะเท่ากับการเต้นของหัวใจ(ผู้ใหญ่ประมาณนาทีละ 60 ครั้ง เด็กประมาณ 80 ครั้ง) |
|
 |
|
7. แล้วฟังการเต้นของหัวใจสลับกับการกดทุก 10-15 ครั้ง |
|
 |
|
8. ถ้าหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้นให้เป่าปาก 2 ครั้ง |
|
 |
|
9. นวดหัวใจ 15 ครั้งสลับกัน |
|
 |
|
10. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ต้องสลับกันเป่าปาก 1 ครั้ง นวดหัวใจ 5 ครั้ง |
|
|
|
การปฐมพยาบาลต้องทำทันทีที่ช่วยเหลือผู้ป่วยออกมา และควรนำส่งโรงพยาบาล ขณะนำส่งโรงพยาบาลจะต้อง ทำการปฐมพยาบาลตามขั้นตอนดังกล่าวตลอดเวลา
ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 (ภาคกลาง ) จ. ชลบุรี |
|
|