บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

กลเม็ดใช้บัตรเครดิตแบบถูกวิธี ![]()
กลเม็ดใช้บัตรเครดิตแบบถูกวิธี ทุกวันนี้การใช้บัตรเครดิตกลายเป็นส่วนหนึ่ง ในชีวิตของคนไทยทั่วไปแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ประกอบการทั้งธนาคาร และสถาบันที่ออกบัตรเครดิตต่างดึงดูดใจลูกค้าด้วยโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษต่าง ๆ มากมาย จนทำให้จำนวนผู้ใช้บัตรเครดิตเพิ่มอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีบัตรเครดิตแล้วก็ควรใช้อย่างสบายใจและเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยแนวทางดังต่อไปนี้
คำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ ดูวันก่อนออกจากบ้านไป ช้อปปิ้ง ยึดแนวนี้ไม่มีพลาด ปัจจุบันบัตรเครดิตมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากเดิม ซึ่งเคยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 25 % - 29 % ต่อปี เหลือเพียง 18 % ต่อปีเท่านั้น ข้อดีของการมีบัตรเครดิต ท่านไม่จำเป็นที่จะต้องชำระคืนเต็มจำนวนเพราะท่านสามารถเลือกชำระคืนเพียง 5 % ของค่าใช้จ่ายท่านของท่าน บัตรเครดิตยังให้ท่านเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า ข้อเสียของการมีบัตรเครดิต สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาในการเลือกสมัครบัตรเครดิต ท่านไม่จำเป็นที่จะต้องชำระคืนเต็มจำนวนเพราะท่านสามารถเลือกชำระคืนเพียง 5 % ของค่าใช้จ่ายท่านของท่าน บัตรเครดิตยังให้ท่านเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า สำหรับเหตุการณ์ในทุกสถานการณ์ เช่นค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียน และบัตรเครดิตยังมีโปรโมชั่นส่งเสริมการขายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้าอัตราดอกเบี้ย 0 % การสะสมคะแนนแลกของกำนัล ต่างๆ การเห็นไหมครับว่าบัตรเครดิตน่าสนใจจริงๆครับ
ในทางกลับกัน การใช้บัตรเครดิตอย่างไม่เหมาะสม อาจทำให้คุณตกอยู่ในความเดือดร้อน มีหลายกรณีที่ผลของ จัดทำงบค่าใช้จ่ายประจำเดือน โดยแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ คอลัมน์แรกเขียนรายการค่าใช้จ่ายและคอลัมน์ที่สอง เขียนรายได้หลังหักภาษี เมื่อคุณนำค่าใช้จ่ายมาเปรียบเทียบกับรายได้ คุณจะเห็นทันทีว่าคุณเป็นหนี้เท่าไร และคุณสามารถรับภาระได้หรือไม่ ขั้นตอนนั้นนับว่ามีความสำคัญมาก วิธีการที่ดีที่สุดในการสร้างกรอบให้ตัวเอง คือการยืมเงินหรือใช้จ่ายเงินล่วงหน้าภายในวงเงินที่คุณสามารถใช้คืนได้ พิจารณาว่าคุณสามารถใช้เงินในจำนวนเท่าไร แล้วค่อยใช้เครดิตตามจำนวนนั้นแทนการนั่งคำนวณว่าคุณจะได้รับเครดิตเท่าไร กฎทั่วไป คือ คุณควรจะจำกัดยอดการกู้ยืมเงินไว้ที่ 20% ของรายได้หลังหักภาษี ควรจำกัดตัวเองด้วยการใช้บัตรเพียงใบเดียว เช่น บัตรเครดิตของห้างสรรพสินค้าที่คุณชอบ หรือบัตรสถานีบริการน้ำมัน ควรแน่ใจว่า ในการชำระเงินที่กู้ยืมมานั้น คุณไม่ต้องจ่ายค่าปรับ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณมีความยืดหยุ่นในการชำระเงินเวลาใดก็ได้ อย่าคิดเอาเองว่าคุณได้รับอนุญาตให้กู้ยืม ดังนั้นคุณจึงพร้อมแล้วที่จะใช้เครดิตให้มากกว่ายิ่งขึ้น หากคุณมีเป้าหมายที่จะควบคุมการเงินของคุณ ควรแน่ใจว่าการเงินของคุณมีเสถียรภาพเพียงพอก่อนการยอมรับเงื่อนไขต่างๆ เพิ่มเติม ควรอ่านรายละเอียดต่างๆ อย่างถี่ถ้วน เพราะมีข้อแตกต่างมากมายระหว่างผู้ออกเครดิต และเงื่อนไขการจ่ายคืน ปรึกษาคู่สมรสหรือสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบในภาระหนี้สิน ควรหาข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปอย่างราบรื่น การทำเช่นนี้จะช่วยไม่ให้เกิดการใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น หรือการใช้เงิน อย่างไม่สมเหตุผล อีกทั้งช่วยสร้างความมั่นใจว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทุกคน เต็มใจทำตามข้อตกลง ควรคิดเสมอว่าการเซ็นชื่อร่วมกันถือเป็นสัญญา ถ้าผู้ทำสัญญาไม่อาจชำระหนี้ได้ คุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้นก่อนเซ็นชื่อควรแน่ใจว่าอีกฝ่ายมีความรับผิดชอบอย่างจริงจัง และพิจารณาว่าคุณ สามารถจัดการกับหนี้สินต่างๆ ได้หากคุณต้องเป็นผู้รับผิดชอบ หากคุณเป็นนักชอปปิ้งด้วยที่ไม่อาจห้ามใจตัวเองได้ และมักทำผิดเงื่อนไขการกู้ยืมเป็นเวลาติดต่อกันยาวนาน คุณยังไม่ควรใช้บัตรเครดิตจนกว่าคุณจะสามารถใช้เงินภายในวงเงินที่มีอยู่ได้ ให้บัตรเครดิตเป็นเพื่อนร่วมทางที่คุณวางใจได้ ไม่มีใครต้องการเผชิญกับภาวะเงินขาดมือในขณะอยู่ต่างประเทศแต่ถ้าคุณมีบัตรเครดิตที่ใช้ได้ทั่วโลกสักใบ ฝันร้ายนี้ย่อมจะไม่เกิดขึ้น ที่มา : มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค http://www.consumerthai.org
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |