บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ข้อคิดดีๆ ของผู้ประกอบการใหม่ ![]()
ข้อคิดดีๆ ของผู้ประกอบการใหม่ โครงการนี้เป็นความริเริ่มและต่อเนื่องมาตลอดโดยมุ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป คนทำงานกินเงินเดือน หรือมนุษย์สำนักงาน ผู้จบการศึกษา ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม แลกเปลี่ยนประสบการณ์และได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในการที่จะเป็นเจ้าของธุรกิจแทนการเป็นลูกจ้าง โดยอาจจะมีลักษณะเป็นงานเสริมจากงานประจำ เป็นอาชีพที่สองของคนทำงาน เป็นการริเริ่มของทายาทธุรกิจ ก่อนที่จะเข้าไปรับธุรกิจของที่บ้านอย่างเต็มที่หรือเป็นเรื่องของผู้คนที่เกษียณจากงานประจำมีทุน-มีแรงที่อยากจะทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ให้มีกระแสเงินสดเลี้ยงดูตนเอง อย่างแน่นอนในระยะเวลาที่เหลืออยู่ ในโอกาสที่ผมได้เข้าไปเป็นวิทยากร หรือไปเป็นกรรมการพิจารณาแผนธุรกิจ ผมได้พบกับแนวความคิดที่หลากหลายและเห็นมุมมองในการที่ผู้เข้าอบรมจะดำเนินธุรกิจ ซึ่งแยกแยะออกมาเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้ครับ 1. กลุ่มที่อยากจะทำธุรกิจ จะมีลักษณะความคิดปนความฝัน หรือเป็นกลุ่มที่ได้รับความกดดันจากการทำงาน-ไม่มีความสุขในงานปัจจุบัน บางท่านก็มีลักษณะเห็นคนอื่นทำก็อยากทำบ้างและคิดว่าตนเองทำได้ กลุ่มนี้ต้องพัฒนาความอยากจะทำธุรกิจมาเป็นการสำรวจ ตรวจสอบตัวเองในแง่ของความพร้อมในเรื่องทุน ความทุ่มเท และลงลึกในแนวคิดที่จะทำธุรกิจจริงๆ ว่า ต้องการจะทำธุรกิจอะไรกันแน่ 2. กลุ่มที่คิดจะทำธุรกิจ จะมีลักษณะที่ทำการศึกษาด้านใดด้านหนึ่ง มาอย่างลึกซึ้งพอสมควร เช่น ศึกษาด้านการผลิตมาแล้วเนื่องจากพื้นฐานตนเองเป็นวิศวกรหรือเป็นนายช่าง มองเห็นช่องทางการตลาด หรือการผลิต แต่ที่ขาดอยู่เป็นส่วนมาก คือ มีทุนไม่พอ ต้องการความรู้เพิ่มเติมด้านการเงิน การบริหารเงิน การจัดการกระแสเงินสด การเจรจาติดต่อกับสถาบันการเงิน การขอกู้เงินและการวางรูปแบบกิจการว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นต้น 3. กลุ่มที่ลงมือรวบรวมทุนเพื่อทำธุรกิจตามที่กำหนดไว้ กลุ่มนี้จะมีลักษณะที่ตกผลึกทางความคิด มีแผนการหาทุน หาหุ้นส่วนกันแล้ว มีการสำรวจทำเลที่ตั้ง เจรจากับ Supplier บ้างบางส่วน กลุ่มนี้มักจะขอข้อคิด ข้อแนะนำด้านการเงิน สถาบันการเงินที่จะติดต่อ การทำตัวอย่างไร ทำข้อมูลอย่างไรที่จะอธิบายให้สถาบันการเงิน หุ้นส่วน เข้าใจถึงความเสี่ยงและผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ กลุ่มนี้ถือว่า พร้อมลุย ผู้เขียนสนใจกลุ่มที่ 3 นี้มาก และมักจะให้ข้อคิดก่อนที่จะเริ่มมีการเรียกเงินมาลงขันในบัญชีกลาง (มักจะเปิดบัญชีขึ้นมาเพื่อเป็นกองกลางในการดำเนินงาน) โดยผู้เขียนจะให้ข้อคิดดังต่อไปนี้ 1. อะไรที่เอาจากผู้อื่นมาแล้วต้องคืนเขาพร้อมดอกเบี้ย เราเรียกว่า หนี้ เมื่อเป็นหนี้แล้วต้องใช้หนี้ จึงจะมีเครดิต อย่าหลอกตัวเอง เช่น ตั้งวงแชร์จากญาติพี่น้อง เอามาทำทุน อย่างนี้เรียกว่าหนี้ไม่ใช่ทุน 2. คิดไว้เสมอว่า ทุนที่ลงไปถ้าหมดหรือเสียหายแล้วครอบครัวลูกเมีย ต้องไม่เดือดร้อน อย่าเอาครอบครัวมาเป็นเดิมพัน ถ้าทำอย่างนั่นเรียกว่า นักพนัน-คนเสี่ยงโชค ไม่ใช่ผู้ประกอบการ 3. การเป็นหุ้นส่วนกัน คือ ข้อตกลงที่จะร่วมกันรับทั้งผิด-รับทั้งชอบ ร่วมหัวจมท้าย ไม่ใช่ทำไปครึ่งๆ กลางๆ แล้วเปิดไฟเลี้ยวหนีออกไป ตรงนี้ต้องคุยให้จบ...ไม่จบอย่าเรียกระดมทุนเด็ดขาด 4. คนที่ต้องดูแลการเงิน คือ คนที่ใจแข็งที่สุด และคนนี้ต้องรู้ว่าตั้งแต่จ่ายเงินออก จนรับเงินเข้ามา มีขั้นตอนอะไรบ้าง ตอนไหนจ่ายออก ตอนไหนต้องไปไหว้ลูกค้าให้เขาเอาเงินมาจ่ายเรา ( เวลาขายเชื่อ) ถ้าไม่รู้วงจรเงินสด (Cash cycle) เริ่มต้น-ลงท้ายที่ไหน ผมว่าเสี่ยงสูงที่จะเสียหาย 5. ข้อสุดท้าย ห้ามมีแนวความคิด อันความสามัคคีนั้นดีอยู่แต่ต้องให้ตัวกูเป็นหัวหน้า ทุกอย่างถ้าเป็นหุ้นส่วนต้องคุยกันไม่อย่างนั้น ทะเลาะกันเละ..... จากการแบ่งแยกออกมาเป็น 3 กลุ่มและข้อคิด ผมจะได้นำเสนอกรณีศึกษาที่พบจากการตรวจประเมินแผนธุรกิจของผู้เข้ารับการอบรมในมุมมองของสถาบันการเงินในฉบับหน้านะครับ ที่มา : โดย สุรพล โอภาสเสถียร http://www.bangkokbizweek.com |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |