บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ออมสินเวลา
จุดอ่อนอย่างหนึ่งของมนุษย์ผู้เจริญแล้ว (วัดด้วยการมีกติกา ระบบ ระเบียบในสังคม) ก็คือการยึดติดกับกฎกติกานั้นแบบ 'คาบไม่ปล่อย' เคยไหมที่คุณไปใช้บริการของหลายองค์กรที่มีกำหนดเปิดทำงานเวลา 09.00 น. คุณไปก่อนเวลาและรอที่เคาน์เตอร์หน้าประตู แม้ว่าเจ้าหน้าที่มาทำงานแล้ว แต่ไม่ยอมทำงาน จนเข็มวินาทีแตะเลข 09.00 น. เจ้าหน้าที่จึงเริ่มขยับเขยื้อนกาย มนุษย์เงินเดือนไม่น้อยชอบทำตัวเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกตั้งโปรแกรมไว้ หากไม่ถึงกำหนดเวลาทำงาน ลานที่ฝังตัวจะยังไม่ทำงาน สัจธรรมหนึ่งของการใช้ชีวิตในสังคมมนุษย์ก็คือ กฎเกณฑ์กติกาใดๆ ก็ตามที่มนุษย์เป็นผู้สร้างนั้นลบทิ้งได้เสมอ แต่ไม่ค่อยมีใครยอมเข้าใจสัจธรรมนี้ (หรือเพราะมันเป็นสัจธรรม ไม่ใช่กฎ?) แปลก! กลัวขาดทุน แต่ไม่กลัวเสียเวลา คนเรามีเวลาในโลกนี้เฉลี่ยราว 60 ปี หมดไปกับการเล่นก่อนวัยเรียนราว 5 ปี การเรียนราว 20 ปี เหลือเวลาอีกเพียง 35 ปี หักเวลาเกษียณหรือนอนรอความตายอีก 10 ปี หักเวลาพักผ่อน นอนหลับ สร้างครอบครัว ขับรถ ฯลฯอีกครึ่งหนึ่ง ก็เหลือเวลาทำงานจริงๆ แค่สิบสองปีครึ่ง หรือราว 4,500 วัน หรือประมาณหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นชั่วโมงเท่านั้น ไม่ยาวเมื่อเทียบกับเวลาของโลก หรืออายุของสัตว์บางชนิด ต้นไม้บางพันธุ์ แต่ยาวพอสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ นี่คือเวลาที่จะสร้างความแตกต่างกันระหว่างมนุษย์แต่ละคน เพียงรู้จักประหยัดเวลา เก็บเกี่ยวมันเพิ่มจากช่วงยามที่ผ่านไปอย่างไร้ค่า ก็อาจเพิ่มจำนวนชั่วโมงแก่ชีวิตได้อีก เพียงวันละสิบนาทีก็ได้เวลา 'สร้างความแตกต่าง' ในชีวิตเพิ่มมาอีกถึงสองพันกว่าชั่วโมง และมากกว่านี้อีกหลายเท่าหากรู้จักเก็บเวลาที่ไม่จำเป็นต้องใช้ใส่กระปุกออมสินแห่งชีวิต เลิกเสียเวลาไปกับเรื่องขยะ เช่นนินทา บ่น ด่า โทรศัพท์คุยเล่น ท่องเน็ตขยะ แค่ลดละเลิกเวลาพวกนี้ลงบ้างก็ได้เวลามาเยอะแยะ ความหมายของ 'ตรงเวลา' ไม่ใช่ซื่อสัตย์กับนาฬิกา แต่ซื่อสัตย์กับเวลาที่เรามี เงินทองมีน้อย ก็ไม่เสียมันไปกับค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่นเดียวกัน เวลามีน้อย ก็อย่าโยนมันทิ้งไปเปล่าๆ ทำอะไรสักอย่าง แต่อย่าอยู่เฉยๆ บทความโดย : วินทร์ เลียววาริณ ที่มา : นิตยสารเปรียว 15 สิงหาคม 2552 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |