บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

นิทาน เรื่องน้ำกับทิฐิ
นานมาแล้วมีชายคนหนึ่งชื่อว่า ทิฐิ เขาเป็นคนที่มีนิสัยอวดดื้อถือดีไม่ต่างจากชื่อ เพราะเมื่อได้ลองเชื่อมั่นสิ่งใดแล้ว ทิฐิคนนี้ก็จะยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นไม่เปลี่ยน และจะไม่ยอมรับฟังข้อคิดเห็นที่ผิดไปจากความเชื่อเดิมโดยเด็ดขาด แม้ว่านี่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นคนเอาจริงเอาจังและเคร่งครัดกับชีวิต แต่บางครั้งเขาก็ดื้อรั้นมากเกินไปจนขาดเหตุผล และทำให้สูญเสียสิ่งดีๆ ในชีวิตมากมาย โดยที่เขาเองก็ไม่เคยรู้มาก่อน เนื่องจากทิฐิไม่ใช่คนร่ำรวย ดังนั้นเขาจึงต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินมาใช้จ่าย จนกระทั่งมีฐานะขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้ว ทิฐิจึงคิดหยุดพักตัวเองจากการงาน แล้วเดินทางไปเรื่อยๆ เพื่อเที่ยวชมโลกกว้าง เมื่อตัดสินใจได้ดังนั้น ทิฐิจึงจัดการฝากบ้านไว้กับญาติพี่น้อง แล้วเก็บสัมภาระออกเดินทางทันที ทิฐิเดินทางไปยังที่ต่างๆ ชมนั้นแลนี่ และพูดคุยกับผู้คนที่อยู่ในที่เหล่านั้นมากมาย การท่องโลกกว้างของทิฐิน่าจะทำให้เขามีความรู้ดีๆ หรือเกิดทัศนคติใหม่ๆ ขึ้นมาบ้าง แต่เมื่อไรก็ตามที่มีคนกล่าวคำซึ่งผิดไปจากความรู้หรือความเชื่อมั่นเดิมของเขา ทิฐิก็จะรีบกล่าวแก่คนๆ นั้นทันทีว่า “นั่นไม่ถูกเลยนะ ที่จริงแล้วมันต้องเป็นอย่างที่ข้ารู้มาต่างหาก” สิ่งนี้เองทำให้การเดินทางไปทั่วโลกของเขา แทบจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดขึ้นในชีวิตของเขาเลย จนกระทั่งวันหนึ่งทิฐิได้พลัดหลงเข้าไปในทะเลทรายอันแสนแห้งแล้ง และไร้ผู้คนสัญจร เขาหลงทางอยู่ในดินแดนแห่งนั้นสามวันสามคืน จนกระทั่งอาหารและน้ำดื่มร่อยหรอและหมดลงในที่สุด ทิฐิจึงเดินต่อไปไม่ไหว เขาล้มลงนอนบนผืนทรายอย่างคนสิ้นเรี่ยวแรง แต่ทิฐิยังไม่อยากตายตอนนี้ ดังนั้นแม้ร่างกายของจะอ่อนระโหยโรงแรงขนาดไหน แต่เขาก็รวบรวมพลังใจของตนเฝ้ากล่าวคำภาวนาขอความเมตตาจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยเหลือเขาด้วย “ข้าแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ได้โปรดเมตตาข้า ผู้ซึ่งไม่เคยเบียดเบียนใคร ขอทรงประทานน้ำมาให้ข้า โปรดแบ่งน้ำของท่านให้ข้าได้รักษาชีวิตของตนเองไว้ แม้เพียงหนึ่งหยดก็ยังดี” แล้วในตอนนั้นเอง ทิฐิก็เห็นชายแปลกหน้าชาวเยอรมันคนหนึ่งเดินตรงมาหาเขา ทิฐิดีใจสุดจะกล่าว แล้วรีบพูดขึ้นทันทีว่า “โอ้...ท่านผู้เป็นความหวังของข้า โปรดแบ่งน้ำของท่านให้ข้าดื่มด้วยเถิด” ชายคนนั้นยื่นถุงหนังสีน้ำตาลในมือของเขาให้ทิฐิ แล้วกล่าวว่า แต่ทิฐิไม่อยากได้วาสซ่าร์ เขาอยากได้น้ำ ดังนั้นเขาจึงปฏิเสธที่จะรับถุงหนังสีน้ำตาลจากชายแปลกหน้าคนนั้น ชายคนนั้นจึงเดินจากไป ทิฐิภาวนาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกครั้ง คราวนี้มีชายชาวจีนคนหนึ่งเดินถือถุงหนังสีแดงเขามายื่นให้แก่ทิฐิ ทิฐิรู้สึกไม่พอใจ ตอนนี้เขากระหายน้ำมากเหลือเกินแล้ว แต่ทำไมชายผู้นี้จึงนำซือจุ้ย มามอบให้แก่เขา ทิฐิจึงปฏิเสธถุงหนังสีแดงของชายชาวจีน ชายชาวจีนจึงเดินจากไป ทิฐิเริ่มภาวนาถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีก และครั้งนี้มีผู้หญิงชาวอินเดียคนหนึ่งมาปรากฏกายตรงหน้าของเขาในแทบจะทันที จิตของทิฐิกำลังหลุดลอยออกจากร่างที่ใกล้แตกดับ แล้วในตอนนั้นเองเสียงๆ หนึ่งก็ดังแว่วๆ ให้ได้ยินว่า เธอทั้งหลาย.... เรื่องราวของทิฐินั้น สอนให้เราเปิดตาตนเองให้กว้าง แล้วมองสิ่งต่างๆ รอบตัวด้วยสายตาและหัวใจที่ไร้อคติ หากเธอปิดกั้นหัวใจและสายตาของเธอไว้ เธอก็อาจพลาดสิ่งดีๆ ในชีวิตไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งบางครั้งสิ่งดีๆ เหล่านั้นก็อาจจะไม่หวนกลับมาหาเธออีกแล้ว หรืออีกนัยหนึ่ง นิทานเรื่องนี้กำลังบอกเธอทุกคนซึ่งนับถือศาสนาต่างกัน แต่กำลังยืนอยู่บนโลกใบเดียวกัน จงอย่าลืมว่า ศาสนาทุกศาสนานั้นถือกำเนิดขึ้นด้วยความปรารถนาที่จะให้มีคนดีๆ อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก แม้คำสอนบางประการจะแตกต่างกัน แม้เสียงสวดมนต์จะเป็นคนละเสียง และธรรมเนียมปฏิบัติก็ไม่มีอะไรที่เหมือนกันเลย แต่เธอทุกคนล้วนได้รับการปลูกฝังให้เติบโตเป็นคนดีเหมือนกัน ดังนั้นขอให้เธอเปิดใจตัวเองให้กว้าง และเคารพในคำสอนของศาสนาอื่นๆ แม้เธอจะไม่ได้เป็นศาสนิกชนของศาสนานั้น เธออาจจะนำคำสอนของเขามาประยุกต์ใช้กับตัวเองบ้าง ถ้าพบว่ามันเข้ากันได้ดีกับการดำเนินชีวิตของเธอ ไม่เห็นจะแปลกตรงไหน หากเธอจะนำคำสอนเหล่านั้นมาปฏิบัติ ในเมื่อทุกศาสนาล้วนหมายมั่นที่จะพิชิตยอดเขาเดียวกัน นั่นคือ “ยอดเขาแห่งความดี ความรัก และความเมตตา” บทความโดย : ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |