บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ทำยังไงดี เมื่อเงินออมไม่มี เงินที่เป็นหนี้ก็ยังไม่หมด
สภาพเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ที่กำลังถูกคุกคามด้วยพิษร้ายจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ทำให้พวกเราต้องอยู่ในสภาพปากกัดตีนถีบกันถ้วนหน้า ถ้าหากเราไม่เตรียมตัวกันให้พร้อมในวันนี้อนาคตคงจะย่ำแย่แน่ๆ กูรูทางด้านการเงินมีแผนขั้นบันได 10 ขั้นที่ช่วยให้คุณมีสุขภาพทางการเงินที่แข็งแรง ฟิต แอนด์ เฟิร์ม ดังนี้ 1.เก็บเอกสารทางการเงินเข้าแฟ้ม เช่นใบเสร็จค่าผ่อนบ้าน ค่าประกันชีวิต หรือการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมและอย่าลืมจัดเก็บใบเสร็จ สลิปบัตรเครดิต รายการเหล่านี้สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้เป็นกอบเป็นกำ เมื่อถึงสิ้นปีคุณจะได้เงินภาษีคืนอีกเพียบ ส่วนสลิปบัตรเครดิตหากว่ามีปัญหาเกิดขึ้นคุณจะมีหลักฐานมายืนยันทันทีโดยไม่ต้องขอให้ธนาคารของคุณจัดส่งสำเนามาให้ 2. ทำบัญชีส่วนตัว เมื่อเริ่มทำบัญชีส่วนตัวคุณจะรู้ทันทีว่าคุณใช้เงินไปกับอะไร สิ่งไหนจำเป็นหรือไม่จำเป็น 3. รีบปลดหนี้เงินกู้ซื้อบ้าน คุณเคยคิดที่จะทำอะไรเพื่อปลดหนี้ก้อนนี้ได้เร็วขึ้นบ้างหรือไม่ หนทางนั้นมีมากมาย เช่น หากได้โบนัสก็รีบโปะเงินเพื่อลดต้นลดดอก และในช่วงดอกเบี้ยขาลง คุณควรจะชำระค่างวดเท่าเดิมแทนที่จะลดยอดลงตามดอกเบี้ย หรือแม้แต่การรีไฟเเนนซ์ไปที่ธนาคารอื่นที่คิดดอกเบี้ยต่ำกว่าธนาคารของคุณ เพียงเท่านี้คุณก็จะปลดหนี้ก้อนนี้ได้เร็วขึ้น 4. ลดหนี้อื่นๆ รวบรวมบัญชีหนี้ทั้งหมดและชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเป็นอันดับแรก บัตรเครดิตคือตัวอันตรายที่สุด ถ้าคุณติดหนี้บัตรเครดิตหลายใบคุณควรรวบรวมหนี้จากบัตรต่างๆมาไว้ในบัตรที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด 5. เลิกใช้บัตรเครดิต ข้อนี้อาจใช้ไม่ได้กับทุกคน สิ่งสำคัญคือ คุณจะต้องคิดว่าคุณใช้บัตรเครดิตเพื่ออะไร ถ้าคุณคิดว่าบัตรเครดิตสะดวก ปลอดภัย เพราะว่าไม่ต้องพกเงินสดเยอะๆ เวลาไปช็อปคุณอาจเปลี่ยนเป็นบัตรเดบิตก็ได้ เพราะคุณจะไม่มีทางใช้เงินเกินตัวแม้ว่าบัตรเดบิตจะไม่มีคะแนนหรือไมล์สะสมให้คุณ แต่คุณจะไม่ต้องคอยพะวงเรื่องการชำระหนี้ให้ทันเวลา และไม่ต้องเสียค่าปรับที่สำคัญไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่จะเกิดจากการใช้เงินเกินตัว 6.คุณอยากมีเงินเก็บเพิ่มอีกเท่าไหร่ ถ้ารายได้ของคุณยังพอมีเหลือเก็บ ให้เปิดบัญชีเงินฝากขึ้นอีกหนึ่งบัญชี แล้วหักเงินจากบัญชีเงินเดือนของคุณใส่เข้าไปในบัญชีใหม่นี้ทุกเดือนแบบอัตโนมัติ เพียงเท่านี้คุณก็จะมีเงินออมเพิ่มขึ้นทันที 7.ตั้งเป้าหมายเพื่อวัยเกษียณ ตั้งเป้าว่าคุณควรมีเงินเก็บสำหรับใช้จายวัยเกษียณเท่าไหร่และต้องทำให้ได้เพื่ออนาคตที่มั่นคงโดยลองคำนวณดูว่า อายุ รายได้ ทรัพย์สินและหนี้สินที่มีในปัจจุบัน คุณต้องบริหารและจัดการอย่างไร จึงจะมั่นใจได้ว่าอนาคตของคุณจะมั่นคง ถาวร และไม่เป็นภาระของลูกหลาน 8.ออมระยะยาวพร้อมลดหย่อนภาษี การทำประกันชีวิต นำเงินไปลงทุนในกองทุนรวม LTF(กองทุนที่ลงทุนในหุ้น) หรือ RTF(ลงทุนในตราสารหนี้ )และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือช่องทางในการออมเงินระยะยาวที่ให้ผลตอบแทน และช่วยให้คุณมีเงินเก็บสำหรับวัยเกษียณเพิ่มขึ้น แถมยังช่วยลดหย่อนภาษีได้เป็นกอบเป็นกำ 9.ทำประกัน การทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันภัยประเภทต่างๆ จะช่วยสร้างความอุ่นใจและช่วยลดภาระทางการเงินให้คุณได้ หากคุณเกิดเจ็บป่วยหรือมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น ทั้งยังเป็นหลักประกันเพื่ออนาคตที่มั่นคงของทั้งตัวคุณและคนในคอบครัว 10.จงมีความสุขกับเงินส่วนที่เหลือ หลังจากหักค่าใช้จ่ายประจำ ชำระหนี้ และเงินเก็บวัยเกษียณ แล้ว คือเงินที่คุณสามารถนำมาใช้จ่ายเพื่อความสุขส่วนตัวได้ ไม่ว่าจะ ดูหนัง ฟังเพลง และวิธีง่ายๆที่ควบคุมตัวเองไม่ให้เอ็นจอยกับชีวิตจนเลยเถิด คือการเบิกเงินส่วนที่เหลือมาใช้เป็นรายสัปดาห์ และใช้เงินไม่ให้เกินยอดี่คุณเบิกมา หากเงินหมดก่อนครบสัปดาห์ คุณจะต้องใจแข็ง ต้องงดจนกว่าจะถึงกำหนดเบิกเงินรอบใหม่ ที่มา : นิตยสารคู่สร้างคู่สม ประจำวันที่ 1-10 สิงหาคม 2552 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |