บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

งานทรมานกับงานในฝัน
คงไม่มีใครปฏิเสธว่า มนุษย์ทุกคนต่างต้องดิ้นรนประกอบอาชีพ หลากหลายผู้คนที่เป็นลูกจ้าง เป็น “มนุษย์เงินเดือน” ทั้งที่เป็นโดยเต็มใจ และที่เป็นโดยจำใจ แต่จะด้วยเหตุใดก็ตาม เมื่อถึงวันสิ้นเดือน เขาก็จะได้รับเงินเดือนเป็นค่าตอบแทน ทั้งๆ ที่บางคนฝืนใจทนทำงานนั้นอย่างเบื่อหน่าย วันๆ นั่งนับชั่วโมงนับนาที ลุ้นให้เวลางานผ่านไปไวๆ ทั้งๆ ที่เช้านั้นก็มาสาย แถมวันๆ ก็คอยแต่หลบเลี่ยงงาน อู้ได้เป็นอู้ แอบหลับได้เป็นหลับ ตกเย็นกลายเป็นคนตรงต่อเวลา ได้เวลาเลิกงาน ‘ข้าเผ่นทันที’ คนเช่นนี้มีอยู่มากมายแทบทุกองค์กร พอถึงสิ้นปีไม่ได้โบนัสก็โวยวาย เงินเดือนขึ้นน้อยกว่าเพื่อนก็ก่นด่าเจ้านายว่าไม่ยุติธรรม เล่นพรรคเล่นพวก ชอบแต่คนคอยประจบเอาใจ น้อยคนนักที่จะมองและทบทวนตัวเอง
Job หมายถึง การทำงานที่หวังเพียงค่าตอบแทน ทำเท่าที่เป็นหน้าที่ นอกเหนือจากนั้นไม่ใช่งานของเราก็ไม่ทำ ไม่ต้องช่วย ทนทำให้ถึงสิ้นเดือนเพื่อเงินเดือนที่ตั้งตารอ เป็นงานที่แสนทรมานและหนักอึ้ง งานที่ต้องทนทำอย่างทรมานมักทำให้การทำงานนั้นไม่มีความสุข และไม่ค่อยมีอนาคต เพราะสักที่จะทำให้พ้นไปวันๆ ตลอดเวลาที่ทำงานรู้สึกเหมือนร่างกายถูกพันธนาการไว้ที่อาคารหรือห้องสี่เหลี่ยม แต่หัวใจล่องลอยโบยบินแสวงหาที่ทำงานแห่งใหม่อยู่ร่ำไป ส่วน Career หมายถึง งานในฝัน งานในอุดมคติ เป็นความเปี่ยมสุขที่ได้ทำงานชิ้นนั้น ถึงแม้รางวัลการตอบแทนจะน้อยนิด แต่มีความรู้สึกว่าภาคภูมิใจและตั้งใจทำอย่างทุ่มเท ซึ่งบางครั้งงานที่ทำอยู่อาจจะไม่ใช่งานที่เคยใฝ่ฝัน แต่เมื่อลงมือกระทำอย่างตั้งใจ ทุ่มเท เสียสละ จนงานนั้นสำเร็จลุล่วงด้วยดี ก็ก่อให้เกิดความสุขใจได้ จึงกลายเป็นงานในฝันของคุณไปโดยปริยาย เป็นเรื่องที่น่าแปลก..ในงานชิ้นเดียวกันหรืออาชีพเดียวกัน คนหนึ่งทำเหมือนกับแบกภูเขาไว้บนอกสุดแสนจะทรมาน แต่อีกคนกลับทำอย่างมีความสุข ทุ่มเท เสียสละ ไม่คำนึงถึงเวลาที่เสียไป และไม่ติดยึดอยู่กับค่าตอบแทนหรือของขวัญรางวัล นั่นคือ ความแตกต่างของคนที่ทำงานแค่ “Job” กับคนที่ทำงานในฝัน “Career” ดังนั้นเมื่อเราไม่สามารถเลือกงานที่ทำได้ เราจะต้องพยายามเปลี่ยน Job งานของเราให้เป็น Career งานในฝันให้ได้ *** เมื่อครั้งที่ผมใช้ชีวิตมนุษย์สำนักงาน ผมมักเริ่มทำงานตอนเจ็ดโมงเช้า วันใดที่ไปทำงานเลย "เวลาปกติ" ของผม บางคนมองหน้า ผมและถาม "ทำไมวันนี้มาสาย?" ทั้งที่ยังไม่ถึงเวลาเริ่มงาน! นั่นไม่ใช่สิ่งที่ผมรำคาญเท่ากับคำถาม "ทำงานมากไปทำไม เดี๋ยวขาดทุน..." ในสัญญาว่าจ้างงานส่วนใหญ่มักมีประโยค เข้า ทำงาน 08.00 น. เลิกงาน 17.00 น. วันเสาร์ 08.00-12.00 น. เป็นต้น บางทีโลกนี้เต็มไปด้วยคนรักษาสัญญา ดังนั้นหลายคนจึงเห็นว่าทำงานมากเกินเวลาเป็นการขาดทุน "เงินเดือนนิดเดียว เอางานอะไรมากมาย" "เจ้านายโคตรเอาเปรียบเลย" "ใช้งานเป็นวัวเป็นควาย" แน่นอนเราควรแยกแยะ เจ้านายดีกับเจ้านายเอาเปรียบให้ออก แต่ก็ควรแยกแยะความแตกต่างระหว่าง งาน(job) กับ งาน (career) ด้วยเช่นกัน Job เป็นงานที่เราสักแต่ทำ ๆ ไปเพื่อรับค่าตอบแทนเป็นเงิน เป็นงานทรมาน ส่วน Career เป็นงานในฝัน รับค่าตอบแทนเป็นเงินและ/หรือความสุข งานทรมานมักไม่มีอนาคต เพราะคนทำไม่ใส่หัวใจเข้าไปในงาน งานในฝัน เกิดขึ้นได้ยาก หากเห็นงานที่ทำเป็นงานทรมาน หรือเป็นฐานชั่วคราวสำหรับกระโดดไปสู่ที่ทำงานใหม่ ที่น่าขัดแย้ง คือ บางคนรู้สึกว่างานที่ตนทำเป็นงานทรมาน ขณะที่บางคนกลับเห็นงานเดียวกันนั้นเป็นงานในฝัน คนส่วนมากฝันอยากได้งานในฝัน แต่ไม่ยอมลงทุนแรงและหัวใจ พวกเขาอาจลืมไปว่า งานไม่ใช่โปรแกรมหนัง ฉายจบแล้วจบเลย งานในฝันคือความต่อเนื่อง บ่อยครั้งมันไม่หยุดแม้เลยกำหนดเวลาทำงานไปแล้ว งานทุกชิ้นที่เราทำ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ทับถมกันเป็นประสบการณ์ ยิ่งทำมาก ประสบการณ์ยิ่งเข้มข้น ตรึงแน่นในวิญญาณของคุณ ไม่มีใครแย่งเอาประสบการณ์ไปจากคุณได้ คนที่ชักกระบี่ขึ้นมาฟันวันละสองสามกวัก เพราะกลัวเมื่อย ไม่มีวันเป็นจอมกระบี่ได้ ทำงานไป มองนาฬิกาไป ก็คงต้องทำงานไป มองนาฬิกาไปตลอดชีวิต คนที่คิดต้องชั่ง-ตวง-วัด ทุกงานที่ทำ ยากนักที่จะเปลี่ยนงานทรมานเป็นงานในฝันได้ เพียงแค่กลัวว่าจะขาดทุน ก็ขาดทุนแล้ว ที่มา : บทความส่วนแรกจาก Forward Mail และบทความส่วนที่สอง เริ่มต้นที่ *** โดย วรินทร์ เลียววารินทร์ |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |