บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

"คุณเคยทำสิ่งที่ผิดพลาดในชีวิตหรือไม่ ? "
เตรียมรับมือกับความล้มเหลว “คุณเคยทำสิ่งที่ผิดพลาดในชีวิตหรือไม่?” แน่นอนว่าทุกคนย่อมตอบว่า “เคย” เพราะคงไม่มีใครไม่เคยผิดพลาดเลยในชีวิต สอบเอนทรานซ์ไม่ติด ทำงานผิดพลาด เลิกกับแฟน การค้าขาดทุน ฯลฯ สถานการณ์แย่ ๆ เหล่านี้ทำให้เราต้องคิดหาทางออกที่ต่างกันไป บางคนแก้ไขได้ก็ผ่านพ้นไปด้วยดี แต่ถ้าไม่ อาจทำให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายยิ่งกว่าขอเพียงแต่เราใช้ “สติ” ตั้งรับปัญหาและความล้มเหลวที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการที่ไม่ยากอย่างที่คิด ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ ชายคนหนึ่ง ทำธุรกิจล้มเหลว ตอนอายุ 21 ปี / สอบกฎหมายไม่ผ่าน ตอนอายุ 22 ปี / ทำธุรกิจล้มเหลวอีกครั้ง ตอนอายุ 24 ปี จนต้องทำงานชำระหนี้สิน ที่หุ้นส่วนได้ก่อไว้เป็นเวลาถึง 17 ปี / เกิดอาการทางประสาท เมื่ออายุ 27 ปี / เมื่ออายุ 34 ปี ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาแห่ง "อิลลินอยด์" เขาประสบความปราชัยอย่างย่อยยับ และเมื่อเขารักกับผู้หญิงคนหนึ่ง หมั้นหมายกันเรียบร้อยแล้ว ยังไม่ทันจะแต่งงานเธอก็เสียชีวิตลง เขาได้หวนกลับมาเล่นการเมืองอีกครั้ง พอสมัครรับเลือกตั้งก็พ่ายแพ้การเลือกตั้งเรื่อยมา ซ้ำแล้วซ้ำอีก หลายต่อหลายครั้ง เขาล้มเหลว...อยู่ตลอดเวลา จนแทบจะตั้งตัวไม่ติดเลย แต่เขาก็สามารถใช้ "ความพยายาม" เผชิญกับอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงได้ ไม่ว่าอะไร จะเกิดขึ้นเขาก็ไม่สิ้นความพยายาม คุณรู้ไหมว่า...เขาคนนั้นคือใคร เขา..ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อตอนอายุ 52 ปี... เขาคือ อับราฮัม ลินคอล์น นั่นเอง!! อับราฮัม ลินคอล์น ผู้พ่ายแพ้ซ้ำแล้วซ้ำอีก “ผมก้าวเดินไปอย่างช้าๆ ประธานาธิบดีลินคอล์น ไม่สนใจความล้มเหลวที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าและเดินหน้ามุ่งสู่เป้าหมาย ทำให้เขากลายเป็นตำนานที่ทุกคนจดจำจนถึงทุกวันนี้ วิธีการจัดการกับความล้มเหลว เพื่อตั้งรับกับมันได้อย่างมั่นคงเป็นอย่างไร ลองดูวิธีการเหล่านี้แล้วเลือกใช้วิธีที่เหมาะกับสถานการณ์ของคุณ 1. ไม่มองว่าความล้มเหลวเป็นปัญหา เราต้องปรับความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับความล้มเหลวว่าเป็นเสมือนขั้นตอนสู่ความสำเร็จเพื่อให้เราผ่านพ้นไปให้ได้ นั่นทำให้เรามีมุมมองด้านบวกและเห็นด้านที่ดีของความล้มเหลว 2. ไม่ยึดติดตัวเองว่าเป็นผู้แพ้ตลอดไป หนทางแห่งความสำเร็จย่อมต้องมีความล้มเหลวเป็นพรมปูทาง อย่าฝังใจว่าผู้ที่ล้มเหลวจะไม่มีทางประสบความสำเร็จ ตัวอย่างนักธุรกิจติดอันดับโลกหลายคนที่เคยล้มเหลวมาก่อน อาจเป็นแบบอย่างที่ดีได้ 3. อย่าใช้ชีวิตล่องลอย หากล้มเหลวแล้วรู้สึกหมดไฟหรือหมดพลังและดำเนินชีวิตไปเรื่อย ๆ ราวกับเครื่องจักร พลิกมุมมองต่างจากคนอื่นแล้วมุมานะให้มากขึ้น เพื่อเป้าหมายที่เราจะต้องก้าวไปให้ถึง 4. เรียนรู้จากความผิดพลาด มองย้อนกลับไปที่ความผิดพลาดแต่ละครั้ง ทบทวนว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากมันบ้าง แล้วเราจะพบสิ่งมหัศจรรย์มากมาย โธมัส เอดิสัน ผ่านการทดลองประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าที่ล้มเหลวมาประมาณ 10,000 ครั้ง ผู้คนรอบข้างต่างบอกให้เขายกเลิกความตั้งใจนั้นเสีย แต่เขาไม่!! เพราะประสบการณ์จากความผิดพลาดทำให้งานของเขาคืบหน้าไปเรื่อย ๆ ความผิดพลาดจึงเป็นบทเริ่มต้นของผู้ที่จะประสบความสำเร็จ เพียงแต่เราต้องเรียนรู้ให้ทัน และ “อย่าผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก” 5. อดทนและอย่ายอมแพ้ คนที่จะประสบความสำเร็จ ไม่มีจิตใจยอมแพ้ต่อความล้มเหลวง่าย ๆ มีแต่ต้องสร้างแรงใจและพลังงานให้มากขึ้นเท่านั้นจึงจะบรรลุเป้าหมาย เมื่อตอนที่บีโธเฟนยังเด็ก มีแต่คนไม่เชื่อว่าเขาจะมีพรสวรรค์ด้านดนตรี แต่เราก็ได้รู้แล้วว่าเขาคือสุดยอดนักประพันธ์เพลงของโลก วิธีการที่นำเสนอต่าง ๆ นี้ อาจทำให้นิยามคำว่าล้มเหลวของเราเปลี่ยนไป เพียงคิดใหม่ให้ได้ว่า ความล้มเหลว คือโอกาสที่เราจะกลับคืนด้วยพลังอันเต็มเปี่ยมยิ่งขึ้น และความล้มเหลวคือโอกาสที่จะปรับปรุงและพัฒนาทักษะของเราเพื่อก้าวหน้าไปบนถนนสู่ความสำเร็จ หากคุณรู้สึกชีวิตล้มเหลว ลองทำตามคำแนะนำข้างต้นเพื่อจะได้พบกับความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่ไกลเกินเอื้อม...
ที่มา : สรรพากรสาส์น Plus เดือน ธันวาคม 2553 (เรียบเรียงใหม่บางส่วนช่วงประวัติของประธานาธิบดี ลินคอล์น โดย Webmaster) |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |