บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

คุณค่าของคน : อยู่ที่ตัวเอง (นายสตีฟ จอบส์)
ในงานพิธีมอบปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา โดยปกติจะมีการเชิญบุคคลที่มหาวิทยาลัยพิจารณาว่าประสบความสำเร็จในชีวิตมากล่าวสุนทรพจน์ให้กับนักศึกษาฟัง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการให้ข้อคิดกับนักศึกษาที่กำลังออกไปทำงาน ซึ่งในสังคมตะวันตกแล้วจะให้การยกย่องเชิดชูผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการสร้างตัวเองเป็นอย่างมาก ดังนั้นในการกล่าวสุนทรพจน์บางครั้งท่านเหล่านั้นอาจพูดถึงจุดเปลี่ยนผันที่สำคัญของชีวิตที่ต้องมีการตัดสินใจ ผู้เขียนได้รับเมลบทความนี้จากเพื่อนเก่าท่านหนึ่ง และเห็นว่าเป็นสุนทรพจน์ที่น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคนไทย จึงได้คัดลอกสุนทรพจน์จากวิกิพีเดียที่สร้างความประทับใจไปทั่วโลกของนายสตีฟ จอบส์ (Steve Jobs) ที่มีชื่อเสียงทั่วโลกในฐานะผู้ก่อตั้งแอปเปิ้ล คอมพิวเตอร์ และผู้สร้างแมคอินทอช สุนทรพจน์ที่นายจอบส์แสดงในวันรับปริญญาของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ปี ค.ศ. 2005 ไม่เพียงสร้างความประทับใจให้แก่บัณฑิตจบใหม่ในวันนั้น แต่ยังรวมไปถึงโลกคอมพิวเตอร์ และยังคงได้รับการชื่นชมและกล่าวขวัญไปทั่วโลกจนถึงวันนี้ นายจอบส์เล่าถึงบทเรียนในชีวิตของเขา 3 บท แต่เป็น 3 บท ที่ทำให้เขากลายเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก บทเรียนบทแรกนายจอบส์ เรียกว่า “การลากเส้นต่อจุด” เริ่มต้นด้วยการเล่าว่า ตัวเขาเองไม่เคยเรียนจบมหาวิทยาลัย เพราะได้ลาออกหลังจากเรียนในมหาวิทยาลัยรีด (Reed College) ได้เพียง 6 เดือน เหตุผลที่ทำให้เขาตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยนั้น มันเริ่มขึ้นตั้งแต่เขายังไม่เกิด เพราะแม่ที่แท้จริงของเขาซึ่งเป็นนักศึกษาสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานไม่ต้องการเลี้ยงดูเขา และตัดสินใจยกเขาให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่นตั้งแต่เขายังไม่ลืมตาดูโลก แต่เธอมีเงื่อนไขว่าพ่อแม่บุญธรรมของลูกของเธอจะต้องเรียนจบมหาวิทยาลัย และเขาเกือบจะได้เป็นลูกบุญธรรมของนักกฎหมายที่จบมหาวิทยาลัยและมีฐานะดี ถ้าเพียงแต่พวกเขาจะไม่เปลี่ยนใจในนาทีสุดท้ายว่า พวกเขาไม่ต้องการเด็กผู้ชาย ซึ่งกว่านายจอบส์จะได้พ่อแม่บุญธรรมก็เป็นเวลาอีกหลายเดือนหลังจากเขาเกิด เนื่องจากแม่ที่แท้จริงของเขาจับได้ว่า ว่าที่พ่อแม่บุญธรรมของนายจอบส์ได้ปิดบังระดับการศึกษาที่แท้จริงซึ่งพ่อบุญธรรมไม่ได้เรียนมัธยมด้วยซ้ำ แต่ต่อมาเธอก็ได้ยอมเซ็นยกนายจอบส์ให้แก่พ่อแม่บุญธรรม เมื่อพวกเขารับปากว่าจะส่งเสียให้จอบส์ได้เรียนมหาวิทยาลัย (และนี่คือคลิปวีดีโอที่ สตีฟ จอบส์ กล่าวสุนทรพจน์ พร้อมกับคำแปลเป็นภาษาไทยด้านล่างของคลิปนี้) 17 ปีต่อมา นายจอบส์ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยสมตามความต้องการของแม่ที่แท้จริง ผู้ไม่เคยเลี้ยงดูเขาแต่ต้องการกำหนดชะตาชีวิตของลูก เพียง 6 เดือน ในมหาวิทยาลัยรีด นายจอบส์ใช้เงินเก็บที่พ่อแม่บุญธรรม ซึ่งเป็นเพียงชนชั้นแรงงานได้สะสมมาตลอดชีวิต หมดไปกับค่าเล่าเรียนที่แสนแพง นายจอบส์ตัดสินใจลาออก เพราะเขามองไม่เห็นคุณค่าของการเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่สามารถช่วยให้เขาคิดได้ว่าเขาต้องการจะทำอะไรในชีวิต แม้มองกลับไปเขาจะรู้สึกว่า การตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตของเขา เพราะการลาออกทำให้เขาไม่ต้องฝืนเข้าเรียนในวิชาปกติที่บังคับเรียนซึ่งเขาไม่เคยชอบหรือสนใจ แต่สามารถเข้าเรียนในวิชาที่เขาเห็นว่าน่าสนใจได้ แต่เขาก็ยอมรับว่า นั่นเป็นชีวิตที่ยากลำบากเมื่อเขาไม่ได้เป็นนักศึกษาจึงไม่มีห้องพักในหอพัก และต้องนอนกับพื้นในห้องของเพื่อน ต้องเก็บขวดโค้กที่ทิ้งแล้วไปแลกเงินมัดจำขวดเพียงขวดละ 5 เซ็นต์ เพื่อนำเงินนั้นไปซื้ออาหาร และต้องเดินไกล 7 ไมล์ทุกคืนวันอาทิตย์ เพื่อไปกินอาหารดี ๆ สัปดาห์ละหนึ่งมื้อที่โบสถ์ ----------------------------------------------------------------- ในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้เขียนถึงสุนทรพจน์ของนายสตีฟ จอบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทคอมพิวเตอร์แอปเปิลที่ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่กล่าวถึงประสบการณ์ที่สำคัญในชีวิตของเขา ซึ่งเขามีการตัดสินใจที่สำคัญ ๆ ในชีวิตและหนึ่งในนั้นคือ การตัดสินใจลาออกจากมหาวิทยาลัยภายหลังจากที่เข้าไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยรีดได้เป็นเวลาเพียง 6 เดือน เนื่องจากเหตุผลทางการเงินที่บิดา-มารดาบุญธรรมต้องใช้เงินเก็บเกือบทั้งหมดในการส่งเสียให้เขาได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งนี้ จึงไม่ต้องการสร้างความเดือดร้อนให้บิดา-มารดาบุญธรรม อย่างไรก็ตามภายหลังจากลาออกจากมหาวิทยาลัย และประสบกับความยากลำบากในการดำรงชีวิต แต่เขาก็ยังโชคดี เขาสามารถเลือกที่จะไปเข้านั่งเรียนเฉพาะวิชาใดวิชาหนึ่งก็ได้ที่สนใจ และวิชาทั้ง หลายที่เขาได้เรียนในช่วงนั้น ซึ่งเขาใช้เวลาทั้งหมด 18 เดือน โดยเลือกเรียนตามแต่ความสนใจและสัญชาตญาณของเขาจะพาไป จนกลายมาเป็นความรู้ที่หาค่ามิได้ให้แก่ชีวิตของเขาในเวลาต่อมา และหนึ่งในนั้นคือ วิชาศิลปะการประดิษฐ์และออกแบบตัวอักษร (calligraphy) นายจอบส์ยอมรับว่า ในตอนนั้นเขาเองก็ยังมองไม่ออกเช่นกันว่า จะนำความรู้ที่ได้จากวิชานี้ไปใช้ประโยชน์อะไรได้ในอนาคตของเขา แต่ 10 ปีหลังจากนั้น เมื่อเขากับเพื่อนช่วยกันออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชเครื่องแรก วิชานี้ได้กลับมาเป็นประโยชน์ต่อเขาอย่างไม่เคยนึกฝันมาก่อนและทำให้แมคอินทอชกลายเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีการออกแบบตัวอักษรและการจัดช่องไฟที่สวยงาม ถ้าหากเขาไม่ลาออกจากมหาวิทยาลัย เขาก็คงจะไม่เคยเข้าไปนั่งเรียนวิชานี้ และก็คงไม่อาจจะมีตัวอักษรแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย หรือที่มีการเรียงพิมพ์ที่ได้สัดส่วนสวยงาม รวมทั้งเครื่องพีซี ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์วินโดว์ต่อมาได้ที่ลอกแบบไปจากแมคอินทอช อีกต่อหนึ่งก็เช่นกัน คงจะไม่มีตัวอักษรสวยงามให้ใช้อย่างที่มีอยู่ในตอนนี้ ในเมื่อไม่มีใครที่จะลากเส้นต่อจุดไปในอนาคตได้ ดังนั้นคำแนะนำของจอบส์ก็คือ คุณจะต้อง “ไว้ใจและเชื่อมั่น” ว่า จุดทั้งหลายที่ได้ผ่านมาในชีวิตคุณ มันจะ หาทางลากเส้นต่อเข้าด้วยกันเองในอนาคต ซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา โชคชะตาชีวิต หรือกฎแห่งกรรม ขอเพียงแต่คุณต้องมีศรัทธาในสิ่งนั้นอย่างแน่วแน่ จากประสบการณ์ชีวิตของนายสตีฟ จอบส์ ตลอดจนผู้ประสบความสำเร็จในชีวิตทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยได้แสดงให้เห็นว่า การได้เข้าเรียนและจบจากมหา วิทยาลัยไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการสร้างตัวและสร้างความสำเร็จในชีวิตเลย แต่การจะรู้อะไรนั้นขอให้มีความรู้จริงและลึกซึ้ง ดังคำกลอนของสุนทรภู่กล่าวไว้ว่า “รู้อะไรรู้กระจ่างแต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” ซึ่งหมายถึงความรู้อะไรนั้นมีสองประเภท คือรู้ให้ลึกหรือรู้ให้กว้าง ซึ่งหากมีความตั้งใจและมีความอุตสาหะก็ประสบความสำเร็จได้ ดังที่นายจอบส์ได้เลือกเรียนในเฉพาะ วิชาที่ชอบ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนวิชาพื้นฐานอื่น ๆ ที่ไม่ชอบและสามารถนำไปใช้ประโยชน์จนกระทั่งเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการคอมพิวเตอร์ บางคนอาจจะมีความเชี่ยวชาญพิเศษทางด้านภาษา การร้องเพลง หรือบางคนจะถนัดการซ่อมแซมเครื่องจักรเครื่องยนต์ และอื่น ๆ ซึ่งก็สามารถใช้ความชำนาญพิเศษนั้นในการเลี้ยงชีพได้ และด้วยกระแสความแรงของไอแพดและไอโฟนสี่ ในปี 2553 ทำให้คนทั่วโลกจับตามองผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัทแอปเปิ้ลมากขึ้น แต่บุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จเหล่านี้ คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก สตีฟ จ็อบส์ ทำให้หลายต่อหลายคนยกให้เขาเป็น บุคคลแห่งปี 2553 บทความโดย : อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร ที่มา : คอลัมภ์เข็มทิศลงทุน นสพ.เดลินิวส์ วันที่ 4 และ 11 ธันวาคม 2553 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |