บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ข้อควรรู้ เพื่อห่างไกลจากแฮกเกอร์
ยิ่งอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้นเท่าใด ปัญหาการถูกเจาะระบบล้วงข้อมูล หรือโดนแฮก ก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตเรามากขึ้นเท่านั้น ในวันนี้ เราจะมานำเสนอ 9 วิธี รู้ไว้ห่างไกลแฮกเกอร์ ที่นอกเหนือไปจากการใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัสทั่วไป ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ของอังกฤษ แนะนำวิธีป้องกันแฮกเกอร์ เจาะระบบเข้าไปล้วงข้อมูลส่วนตัวจากคอมพิวเตอร์ของคนทั่วไปไว้ดังนี้ 1. อย่าคลิกลิงค์ที่ส่งมากับอีเมล์ เพราะวิธีนี้เป็นวิธีหลักที่แฮกเกอร์ใช้มัลแวร์ จู่โจมเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ โดยการหลอกล่อให้ผู้ใช้คลิกลิงค์ หรือเปิดไฟล์แนบ โดยเฉพาะในยุคโซเชียลมีเดีย ที่แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของคุณ ว่าชอบทำอะไร หรือชอบกินอาหารประเภทไหน และส่งลิงค์ที่ตรงกับความสนใจมาให้ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ใช้วิธีพิมพ์ URL ของเว็บไซต์นั้นๆแทน รวมทั้งอย่าคลิก Pop-up ที่มาพร้อมกับเว็บไซต์ใดๆด้วย 2. อย่าใช้พาสเวิร์ดเดียวกันกับทุกเว็บไซต์ และอย่าใช้เลขวันเกิด ชื่อตัวเอง ชื่อพ่อแม่ หรือชื่อสัตว์เลี้ยงเป็นพาสเวิร์ด ทั้งนี้ คำใดก็ตามที่มีอยู่ในพจนานุกรมนั้นง่ายต่อการแฮก โดยบริษัทให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยออนไลน์ ซีแมนเท็ค แนะให้ใช้ประโยคที่คุณชอบ จากเพลง หรือบทกวีแทน หรือจากประโยคอย่างเช่น Voice TV is the best channel พาสเวิร์ดที่ได้คือ vtvitbc และใส่ตัวเลขและสัญลักษณ์เข้าไป เป็น vtv!tbc และในแต่ละเว็บไซต์ คุณอาจเติมอักษรตัวแรกของเว็บไซต์เข้าไปในพาสเวิร์ด เช่น สำหรับเว็บอเมซอน พาสเวิร์ดที่ได้ก็จะเป็น Avtv!tbc ซึ่งสำหรับคนภายนอก พาสเวิร์ดนี้แทบจะเดาไม่ออกเลย แต่สำหรับคุณแล้ว นี่ช่างเป็นพาสเวิร์ดที่จำง่ายอะไรเช่นนี้ 3. อย่าใช้พาสเวิร์ดในอีเมล์หลักของคุณซ้ำกับพาสเวิร์ดของเว็บไซต์ต่างๆที่คุณเป็นสมาชิก เพราะเมื่อเว็บนั้นๆถูกแฮก แฮกเกอร์จะใช้พาสเวิร์ดเดียวกันนี้เข้าถึงข้อมูลสำคัญๆในอีเมล์ของคุณ 4. ซื้อสินค้าออนไลน์กับเว็บที่ไว้ใจได้เท่านั้น และก่อนที่จะกรอกหมายเลขบัตรเครดิต ให้เหลือบดูที่ช่อง URL address ว่ามีรูปแม่กุญแจล็อคอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ URL address ของเว็บไซต์นั้นๆจะต้องเปลี่ยนจาก http ไปเป็น https ซึ่งบ่งบอกว่าการเชื่อมต่อดังกล่าวปลอดภัย แต่จงระวัง ว่าสำหรับเว็บอันตรายบางเว็บไซต์ คำว่า https อาจเปลี่ยนกลับไปเป็น http เหมือนเดิมอีกครั้งก็ได้ 5. คิดให้ดีทุกครั้งที่จะทวีตหรือแชร์ข้อมูล จำไว้ว่าเมื่อข้อมูลนั้นๆถูกปล่อยไปในโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว คุณจะไม่สามารถควบคุมได้เลยว่าใครจะเอาข้อมูลนั้นไปใช้ทำอะไร 6. ระวังการใช้ wifi สาธารณะ เพราะ wifi hotspot บางจุดไม่มีการเข้ารหัสป้องกันข้อมูล และเมื่อข้อมูลออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณไปยังเว็บไซต์หนึ่งๆ ผู้ไม่ประสงค์ดีที่มีโปรแกรมดักข้อมูลจะสามารถเอาข้อมูลของคุณไปได้ ฉะนั้น คุณไม่ควรทำธุรกรรมสำคัญใดๆ รวมทั้งธุรกรรมทางการเงิน ผ่านทาง Wifi สาธารณะอย่างเด็ดขาด 7. จำไว้ว่า คอมพิวเตอร์แมคอินทอช ก็ไม่ได้ปลอดภัยกว่าเครื่องพีซีเสมอไป แต่สาเหตุที่แมค ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตน้อยกว่าพีซีนั้น เป็นเพราะแฮกเกอร์ต้องการเข้าถึงกลุ่มคนที่เยอะกว่า อย่างผู้ใช้วินโดวส์ เป็นต้น แต่สิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไป ด้วยจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์แมคอินทอชที่มากขึ้น 8. ในเว็บไซต์โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook หรือ LinkedIn หากมีใครส่งคำเชิญเป็นเพื่อนมาให้ แต่คุณไม่แน่ใจว่าคุณรู้จักคนนั้นๆหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ให้บล็อกไว้ก่อน 9. เปิดใช้งานระบบ two-step verification สำหรับเว็บไซต์ที่มีระบบดังกล่าว อย่าง gmail, dropbox หรือ facebook โดยระบบที่ว่าจะขอเบอร์โทรศัพท์ของคุณสำหรับส่งเลขเพื่อยืนยันตัวตน นอกเหนือไปจากการใช้พาสเวิร์ดตามปกติ ซึ่งทำให้เมื่อมีใครได้พาสเวิร์ดของคุณไป คนๆนั้นก็จะไม่สามารถเข้าไปยังแอคเคาต์ของคุณได้ ขอขอบคุณ Voice TV ที่เอื้อเฟื้อ - 14 พฤษภาคม 2556 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |