บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
“ใบกำกับภาษีที่ไม่ได้ระบุอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ได้รับจะนำมาใช้เป็นภาษีซื้อได้หรือไม่ และผู้ออกใบกำกับภาษีจะมีความผิดหรือไม่ ” มีประเด็นอยู่ไม่น้อย เพราะเรื่องอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น สัมพันธ์กับใบกำกับภาษีโดยตรงเนื่องจากในใบกำกับภาษีนั้นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี จะต้องระบุจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ชัดเจน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเท่าใด ส่วนผู้รับใบกำกับภาษีก็จะใช้เป็นหลักฐานว่าได้จ่ายหรือพึงจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการตามใบกำกับภาษีนั้นแล้ว แต่เนื่องจากกฎหมายได้กำหนดรายละเอียดของรายการที่ผู้ออกใบกำกับภาษีจะต้องระบุไว้ในใบกำกับภาษีจะต้องระบุไว้ในใบกำกับภาษี (มาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร) ว่าอย่างน้อยต้องมีรายการดังนี้ (1) คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่เห็นได้เด่นชัด • คำว่า “เอกสารออกเป็นชุด” กรณีใบกำกับภาษีได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น • ข้อความว่า “สาขาที่ออกใบกำกับภาษี” คือ กรณีสถานประกอบการที่มิใช่สำนักงานใหญ่ ได้นำใบกำกับภาษีของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ • ข้อความ เลขทะเบียนรถยนต์ กรณีผู้ประกอบการฯ ซึ่งประกอบกิจการสถานบริการน้ำมันได้ขายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือได้ขายสินค้า หรือให้บริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรถยนต์ที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ดูจากรายการของใบกำกับภาษีที่กฎหมายบังคับให้มีอยู่ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า ไม่มีการกำหนดว่าใบกำกับภาษีจะต้องระบุอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบกำกับภาษี ดังนั้น ถ้าใบกำกับภาษีไม่ได้ระบุอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม จะถือว่าใบกำกับภาษีนั้นไม่ถูกต้องไม่ได้ แถมถ้ามีการระบุอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งถือว่ามีรายการมากกว่าที่กฎหมายกำหนด ก็ไม่ผิดกติกาอีกเช่นกัน แต่มีข้อสังเกตฝากไว้ให้ระวังในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มก็คือ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในปัจจุบันนั้นมีแค่ 2 อัตราที่ใช้จัดเก็บอยู่ คือ อัตราร้อยละ 7.0 และอัตราร้อยละ 0 เท่านั้นเคยมีกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนำใบกำกับภาษีซึ่งระบุอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10.0 (เก็บตกมาจากช่วงปี 2540 – 2542 ซึ่งจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 10.0) มาใช้เนื่องจากจัดพิมพ์ไว้ล่วงหน้าเป็นจำนวนมาก โดยขีดฆ่าตัวเลข 10.0 แล้วแก้ไขเป็น 7.0 และมอบให้ผู้ซื้อสินค้า ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบว่าเป็นใบกำกับภาษีที่มีการแก้ไขรายการที่อยู่ในใบกำกับภาษี แต่เนื่องจากรายการอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ใช่รายการที่บังคับให้ต้องมีในใบกำกับภาษี ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ถือเป็นความผิดเพราะเมื่อแก้ไขรายการดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ใบกำกับภาษีฉบับนั้นไม่สมบูรณ์แต่ประการใด ที่มา : สรรพากรสาส์น Plus ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 เดือน กรกฎาคม 2553 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |