ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้

 

เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้

 

   ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ เป็นปัญหาที่มักมีการหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญในช่วงระยะเวลาไม่นานมานี้ ซึ่งสิ่งที่ตามมา ก็คือ กระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางการคลังเพื่อนำไปสู่การกระจายรายได้ที่เป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงการคลังนั้น นอกจากเครื่องมือทางด้านรายจ่าย (โดยการจัดสรรทรัพยากรของรัฐไปยังผู้ที่มีรายได้น้อยและผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม) แล้ว รัฐบาลก็สามารถใช้เครื่องมือทางด้านรายได้ ซึ่งเครื่องมือที่สำคัญ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ เพราะภาษีดังกล่าวมีโครงสร้างอัตราก้าวหน้า (นั่นคือ ยิ่งรวยยิ่งเสียภาษีมาก)

แนวคิดในการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือในการลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด กล่าวคือ ในช่วงประมาณทศวรรษ 1950 ถึง 1960 แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่มักเห็นว่า การใช้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้าสูงๆ (อาทิเช่น สูงถึง 60-70%) เป็นนโยบายภาษีในอุดมคติ (Ideal Tax) โดยมองว่าการใช้ภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า นอกจากจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้แล้ว ยังจะช่วยให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นมากเพียงพอที่จะใช้จ่ายเพื่อเปลี่ยนจากประเทศกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว

ต่อมาเมื่อเกิดปรากฏการณ์เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในทศวรรษ 1970 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่กลับเริ่มหันมาเชื่อว่า อัตราภาษีที่สูงจะลดแรงจูงใจในการทำงาน และบิดเบือนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับกระแสโลกาภิวัตน์และกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ (อาทิเช่น WTO) และแรงกดดันในการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ (ซึ่งมีลักษณะไร้พรมแดนมากขึ้น) ได้ทำให้ประเทศต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับความสามารถในการแข่งขันของประเทศมากขึ้น แนวคิดเช่นนี้ ได้ทำให้อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปรับลดลงมาก ขณะเดียวกัน ก็ทำให้ VAT กลายเป็นรายได้หลักของรัฐบาลประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลกในปัจจุบัน

ในกรณีของประเทศไทยนั้นต้องยอมรับว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่สามารถทำหน้าที่ในการสร้างความเท่าเทียมในการกระจายรายได้ได้ ทั้งๆ ที่มีโครงสร้างอัตราภาษีแบบก้าวหน้า ซึ่งสาเหตุที่สำคัญเป็นเพราะฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยแคบมาก กล่าวคือ สัดส่วนของผู้มีงานทำที่เข้าสู่ระบบภาษีนี้มีน้อยมาก ซึ่งผู้เขียนได้ทำการศึกษาพบว่า จากจำนวน "ผู้มีงานทำ" (ซึ่งหมายถึง การเป็น "ผู้มีเงินได้") ทั้งหมดนั้น มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยเฉลี่ยเพียง 30.6% นอกจากนี้ การยกเว้นภาษีที่ค่อนข้างใจดีของกระทรวงการคลัง ยังทำให้ผู้ยื่นแบบส่วนใหญ่ไม่ต้องเสียภาษี (เงินได้สุทธิส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) กล่าวคือ โดยเฉลี่ยแล้ว มีเพียง 11% ของผู้มีงานทำเท่านั้นที่มีรายได้สุทธิถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

จากข้อมูลในตารางอาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ประเทศไทยมีผู้หนีภาษีจำนวนมาก ซึ่งผู้หนีภาษี ประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนแรก ผู้ที่ไม่ยื่นแบบเลย ซึ่งเท่ากับ 100-30.6 = 69.4% ของผู้มีงานทำทั้งหมด และ ส่วนที่สอง ในจำนวนผู้ที่ยื่นแบบ 30.6% นั้น บางส่วนก็ยังมีการยื่นแบบ โดยให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เพื่อลดจำนวนภาษีที่ต้องชำระลง (อาทิเช่น ไม่แสดงรายได้ในแบบแสดงรายการให้ครบถ้วนตรงตามความเป็นจริง หรือขอหักค่าใช้จ่ายสูงเกินไปไม่ตรงกับความเป็นจริง) ทั้งนี้ เมื่อรวมผู้หนีภาษีในส่วนแรกและส่วนที่สองแล้ว สัดส่วนของผู้หนีภาษีในประเทศไทยจึงสูงกว่า 70% ของผู้มีงานทำทั้งหมด คำถามที่ตามมา ก็คือ ภายใต้สถานการณ์ที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บังคับจัดเก็บอย่างถูกต้อง จากผู้มีงานทำเพียงไม่ถึง 30% ของผู้มีงานทำทั้งหมด เราจะหวังให้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจัดเก็บในอัตราก้าวหน้าทำหน้าที่ลดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ได้อย่างไร

ปรากฏการณ์ที่ฐานภาษีของไทยแคบและมีผู้หนีภาษีมากนี้ หากจะกล่าวโทษกรมสรรพากรอย่างเดียวย่อมไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ เพราะต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจนอกระบบของไทยมีขนาดใหญ่มาก และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเองนั้น สัดส่วนระหว่างจำนวนประชากรที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อประชากรทั้งหมดของประเทศในกรณีของไทย ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.8% (คำนวณโดยผู้เขียน) ก็มิได้แตกต่างจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ซึ่งมีงานวิจัยของ Richard Bird ที่พบว่าสัดส่วนนี้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.14-12% ของประชากรทั้งหมด โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ต่ำกว่า 5% (ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว สัดส่วนนี้อยู่ที่ระหว่าง 25-78%)

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกรมสรรพากรเองก็มิได้นิ่งเฉย โดยได้ให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการขยายฐานภาษีให้กว้างขึ้น ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากรได้ตั้งเป้าขยายฐานการจัดเก็บภาษีของกรมเพิ่มไม่ต่ำกว่า 324,000 ราย ในปีงบประมาณ 2553 ซึ่งหากภารกิจนี้ประสบความสำเร็จ ก็ไม่เพียงแต่จะช่วยให้รัฐบาลมีรายได้เพียงพอต่อการพัฒนาประเทศเท่านั้น แต่ยังจะช่วยให้สังคมไทยมีความเสมอภาคมากขึ้น และสิ่งนี้เองจะเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้สังคมไทยมีสันติสุขเกิดขึ้นในที่สุด

บทความโดย : ดร.ปัณณ์ อนันอภิบุตร เศรษฐกร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT