บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
ขอนำประเด็นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ตามแบบ ภ.ง.ด.51 และเงินเพิ่มกรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี หรือยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร มาปุจฉา - วิสัชนา ซึ่งได้ทราบแล้วว่า รอบระยะเวลาที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ได้แก่ รอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือนเต็ม ไม่ว่าจะเป็นรอบระยะเวลาบัญชีปกติ รอบระยะเวลาบัญชีปีแรก หรือรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายก็ตาม สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่น้อยกว่า 12 เดือนแต่ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 มีเพียงกรณีเดียวคือ รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้เปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมีกำหนดเวลาเกินกว่า 6 เดือน
วิสัชนา ตามบทบัญญัติมาตรา 67 ทวิ วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดให้รอบระยะเวลาบัญชีในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี 1. กรณีรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกที่มีกำหนดเวลาไม่ถึง 12 เดือน 2. กรณีรอบระยะเวลาบัญชีปีสุดท้ายมีกำหนดเวลาไม่ถึง 12 เดือน อย่างไรก็ตาม สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยน แปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมีกำหนดเวลาไม่เกิน 6 เดือน เพราะกรณีดังกล่าวไม่เข้าเงื่อนไขการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ตามมาตรา 67 ทวิ วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร
ปุจฉา ในปัจจุบันการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมีกี่วิธีอะไรบ้าง วิสัชนา ในระยะเริ่มแรกของการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร นั้น กำหนดให้มีการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีจากประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำและจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี เพียงกรณีเดียว ไม่ว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประเภทใด แต่ในปัจจุบันการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ได้แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1. การเสียการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีจากประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำและจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป 2. การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการในช่วงเวลา 6 เดือน แรกของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์ หรือเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดให้มีผู้สอบทานงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลา 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 26 พฤศจิกายน 2534 เป็นต้นมา ปุจฉา กำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 กำหนดไว้อย่างไร วิสัชนา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล (ถ้ามี) ภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรอบระยะเวลาบัญชีตรงกับปีปฏิทินซึ่งกำหนดเวลาหกเดือนแรกจะสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน จึงต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภายในเดือนสิงหาคม ซึ่งในปี 2555 นี้ วันสุดท้ายของกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ได้แก่วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2555 จึงไม่มีการเลื่อนหรือขยายเวลา ตามนัยมาตรา 193/8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 117/2545 แต่อย่างใด ปุจฉา ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด.51 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ต้องแนบหลักฐานหรือไม่ วิสัชนา ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ภ.ง.ด.51 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ต้องแนบหลักฐานใดๆ ทั้งนี้ เว้นแต่ กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปที่อธิบดีกรมสรรพากร ให้ความเห็นชอบผู้สอบบัญชีที่ทำหน้าที่ สอบทานงบการเงิน ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 128) ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้สิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีจากกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิที่ได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการในรอบระยะเวลาหกเดือนแรก ให้แนบงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่มีผู้สอบทานงบการเงินไปพร้อมกับแบบ ภ.ง.ด.51 ด้วย บทความโดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 8 สิงหาคม 2555
|
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |