บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net

สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ในเดือนที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางออกไปพบปะกับข้าราชการเพื่อนสมาชิกในสามจังหวัดภาคอีสาน คือ ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ พบว่าในแต่ละจังหวัดสมาชิกจะให้ความสนใจเข้าร่วมการสัมมนา กบข สัญจรอย่างคึกคักซึ่งใน แต่ละจังหวัดจะมีเพื่อนสมาชิกเข้าร่วมงาน สัมมนามากกว่า 500 คนขึ้นไป ขอเรียนให้สมาชิกมีความสบายใจว่า ผลตอบแทนการลงทุนในปี 2552 ที่ผ่านมา กบข สามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนได้ในอัตราร้อยละ 8.9 ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและวิกฤติตลาดการเงินครั้งรุนแรงที่เคยทำให้อัตราผลตอบแทนการลงทุนติดลบร้อยละ 5.2 ในปี 2551 แต่ผลตอบแทนการลงทุนในรอบ 12 ปีนับตั้งแต่การจัดตั้งกองทุน ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 7.2 ต่อปี คำถามยอดนิยมของเพื่อนสมาชิกที่มีมาตลอด และในการสัมมนาในครั้งนี้คือ ต้องการให้ กบข จัดสวัสดิการเงินกู้ให้กับสมาชิก ก็ต้องขอเรียนว่าสวัสดิการที่คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้สมาชิก กบข ในปัจจุบันในส่วนของเงินกู้นั้นจำกัดไว้สำหรับเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยและเงินกู้เพื่อการศึกษาเท่านั้น เพราะ กบข จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกองทุนเงินออมของสมาชิก ซึ่งกำหนดให้สมาชิกของ กบข ต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน กบข ในอัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือน โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบเข้าในสัดส่วนร้อยละ 3 ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ รัฐยังต้องจ่ายเงิน อีกก้อนที่เรียกว่าเงินประเดิมและเงินชดเชย ร้อยละ 2 สำหรับสมาชิกที่เลือกที่จะรับเงินบำนาญแทนการเลือกเงินบำเหน็จ การจัดตั้ง กบข เป็นส่วนหนึ่ง ของการปฏิรูประบบบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ จากเดิมที่จะได้รับเงินบำเหน็จ (เงินก้อน) หรือรับเงินบำนาญ (เงินงวดรายเดือน) ที่จัดสรรมาจากงบประมาณประจำปี ซึ่งทำให้การจัดสรรเงินงบประมาณประจำปียากลำบากและมีความไม่แน่นอน 3 ประการ คือ (1) ไม่ทราบจำนวนเงินบำเหน็จบำนาญที่แน่นอนเพราะจำนวนข้าราชการที่จะเลือกบำเหน็จหรือบำนาญในแต่ละปี ยังมีการเกษียณก่อนกำหนด หรืออื่น ๆ (2) ความไม่แน่นอนของการจัดเก็บรายได้ของรัฐในแต่ละปี เช่นในกรณีที่ประเทศประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายมาก (3) ภาระของเงินหมวดบำเหน็จบำนาญที่จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามเงินเดือนและโครงสร้างอายุสมาชิกที่จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้สัดส่วนของรายจ่ายหมวดเงินเดือน ค่าจ้าง และบำเหน็จบำนาญมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จนทำให้การจัดสรรเงินเพื่อลงทุนมีแนวโน้มลดลง (1) เหตุสูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี หรืออายุมากกว่า 50 ปี ที่ลาออกด้วยโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (2) เพราะทุพพลภาพ (3) เหตุทดแทน และ (4) เสียชีวิต
ที่มา : คอลัมภ์เข็มทิศลงทุน นสพ.เดลินิวส์ วันเสาร์ ที่ 20 มีนาคม 2553 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |