ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล

 

 

 

   กรุงเทพฯ 24 ธ.ค.2556- นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า หลังจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปแล้ว จะต้องเดินหน้าแก้ไขประมวลรัษฎากร ใน 2 ส่วนสำคัญ คือ การจัดเก็บภาษีเงินได้สำหรับคณะบุคคล  เพื่ออุดช่องโหว่การหลีกเลี่ยงภาษีของบุคคลธรรมดาในการทำธุรกรรม ด้วยการตั้งคณะบุคคลขึ้นมาเพื่อเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 โดยไม่นำรายได้มาคำนวณอยู่ในฐานภาษีของตนเอง เพราะจะมีภาระภาษีน้อยกว่า

 ทั้งนี้ บางรายรวมกลุ่มกันตั้งคณะบุคคลขึ้นมาเป็น 20-30 คณะบุคคลในชื่อเดียวกัน เช่น กลุ่มธุรกิจตัวแทน นายหน้า ผู้รับเหมาช่วง และอาชีพอื่นเป็นจำนวนมาก  จึงต้องปรับให้มาเสียภาษีร้อยละ 20 ของรายได้ ขณะที่ผู้จดทะเบียนเงินได้นิติบุคคลเสียภาษีร้อยละ 21 ของกำไรสุทธิ นับว่าคณะบุคคลยังได้ประโยชน์มากกว่า คาดว่าจะดึงรายได้ภาษีกลับเข้ามาได้ประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี การจดทะเบียนดังกล่าวจะบังคับใช้ไปจนกว่าการแก้ไขกฎหมายใหม่จะผ่านสภาและมีผลบังคับ กลุ่มดังกล่าวจึงต้องมาจดทะเบียนใหม่กับกรมสรรพากร

 สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ต้องเร่งผลักดันให้ผ่านความเห็นชอบจากสภาด้วยเช่นกัน ยอมรับว่า การปรับภาษีบุคคลธรรมดา คนระดับล่างได้ประโยชน์เป็นส่วนใหญ่ สัดส่วนร้อยละ 50 ระดับกลางรองลงมาสัดส่วนร้อยละ 30 ระดับบนได้ประโยชน์ร้อยละ 20 แต่ระดับบนเสียภาษีมูลค่าสูงกว่าทุกกลุ่ม  เมื่อกฎหมายผ่านสภา จะเริ่มมีผลบังคับใช้สำหรับปีภาษี 1 ม.ค.56 เมื่อให้ประชาชนยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีในวันที่ 1 ม.ค.-31 มี.ค.57

ส่วนหนึ่งเพื่อต้องรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อการดึงบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในประเทศ เพื่อภาระภาษีลดลงจะดึงกลุ่มดังกล่าวเข้ามาเพิ่มขึ้น ให้แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน  เพราะเมื่อดูอัตราการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ร้อยละ 20  มาเลเซียร้อยละ 27 อินโดนีเซียร้อยละ 30   ฟิลิปปินส์ร้อยละ 32  เวียดนามร้อยละ 35  ขณะที่ ไทยร้อยละ 37 นับว่าอัตราภาษีของไทยยังสูงกว่าหลายประเทศ ต่ำกว่าประเทศเดียวในอาเซียนคือ พม่า จัดเก็บร้อยละ 40  จึงต้องปรับให้สอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน

ที่มา : สำนักข่าวไทย

------------------------------------------------------------------------

ดัดหลังกลุ่มอาชีพอิสระเลี่ยงภาษี ซิกแซ็กตั้งคณะบุคคล-เล็งเก็บเต็มเพดาน20%

 
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกลุ่มอาชีพอิสระ อาทิ ดารา หมอ วิศวกร ด้วยการไปจัดตั้งเป็นคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลว่า นำเรื่องนี้หารือกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลังแล้ว แนวคิด เบื้องต้นกรมสรรพากรจะเก็บภาษีที่อัตรา 10% ของรายรับให้เหมือนกับมูลนิธิ สมาคม แต่ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าควรเก็บ 20% เพื่อไม่ให้เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเลี่ยงภาษีขึ้นมาอีก

"คาดว่าวิธีการใหม่นี้จะทำให้ผู้ที่คิดจะจัดตั้งคณะบุคคลมาเลี่ยงภาษีหมดไป เพราะฐานภาษีของบุคคลธรรมดาเป็นแบบขั้นบันได 5-37% ตามอัตรารายได้ แต่วิธีการใหม่ถ้าเป็นคณะบุคคลแล้วต้องเสีย 20% เมื่อเปรียบเทียบจะสูงกว่าการเสียแบบบุคคลธรรมดา" นายสาธิตกล่าว

ทั้งนี้การดำเนินการเรื่องดังกล่าวต้องเสนอแก้กฎหมายภาษีหรือประมวลรัษฎากรไปยังรัฐสภา โดยกฎหมายใหม่นี้จะแยกคำนิยามให้ชัดว่า คณะบุคคลคืออะไร ห้างหุ้นส่วนคืออะไร หากเป็นคณะบุคคลที่ไม่แสวงหากำไรต้องเสียภาษีอย่างไร เช่น การจัดตั้งชมรมขึ้นมาของนักเรียน หรือคนทำงาน ที่มีกิจกรรมร่วมกัน เก็บเงินร่วมกัน แต่ไม่ได้ทำการค้าอะไร หรือแสวงหาผลกำไรอัตราภาษีควรจะน้อยกว่าคณะบุคคลที่แสวงหากำไร ซึ่งกฎหมายใหม่จะบอกว่าต้องเก็บภาษีอัตราเท่าใด ส่วนการรวมตัวกันเพื่อมุ่งการค้า แต่ไม่ได้จดเป็นบริษัท ไม่ใช่ห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ก็ต้องเสียภาษีแบบบริษัท ซึ่งจะแบ่งแยกกันชัดเจน แต่คงต้องรอให้กฎหมายออกมาก่อน

ส่วนเรื่องการแยกยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาระหว่าง สามีและภรรยาที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งออกมานั้น ขณะนี้กรมสรรพากรออกประกาศแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา และนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกรม www.rd.go.th แล้ว ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปีภาษี 2555 ที่ต้องยื่นแบบแสดงภาษีในช่วงเดือนม.ค.- มี.ค.2556

ทั้งนี้ในประกาศดังกล่าวระบุว่าการเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาสำหรับปีภาษี 2555 เป็นต้นไปนั้น มิให้ถือว่าเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น คงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาลว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร โดย ในปี 2556 กรมเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและดึงคน ให้มาเสียภาษีเพิ่มขึ้น ล่าสุดเตรียมนำระบบบัตรสะสมแต้ม จากการซื้อสินค้าและบริการ นำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีอื่นๆ เมื่อมีการสะสมแต้มจะต้องมีใบเสร็จ ของภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) ออกมา จะช่วยแก้ปัญหาเลี่ยงแวตของร้านค้าต่างๆ ตรงนี้จะเป็นการขยายฐานภาษี ทำให้การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น แม้จะไม่มีการขึ้นภาษีใดๆ ก็ตาม 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวสด - วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

-----------------------------------------------------------------------

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ มาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมและให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ซึ่งนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีข้อเสนอในส่วนที่เกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลว่า

ข้อกฎหมายปัจจุบันได้มีการกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเป็นหน่วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และได้เกิดปัญหาการใช้ประโยชน์จากการจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลในการหลีกเลี่ยงภาษี จึงเห็นควรมีการปรับปรุงการจัดเก็บภาษีจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลขึ้นใหม่เพื่อป้องกันการวางแผนหลีกเลี่ยงภาษีจาก รูปแบบดังกล่าว โดยการตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร และกำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2556 ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ที่จะต้องยื่นรายการในปี 2557 เป็นต้นไป
 
ในการจัดเก็บภาษีเงินได้จากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลแบบใหม่นี้ จะได้มีการกำหนดความหมายของทั้งสองคำดังกล่าว เนื่องจากไม่มีการกำหนดความหมายกันมาก่อน ในอันที่จะป้องกันความสับสนและเกิดช่องโหว่ของกฎหมาย ดังนี้
 
“คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล” ให้หมายความว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันโดยไม่มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น เช่น การจัดตั้งชมรมของนักเรียน หรือคนทำงาน ที่มีกิจกรรมร่วมกัน เก็บเงินร่วมกัน แต่ไม่ได้ทำการค้าอะไร หรือแสวงหาผลกำไร
 
“ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล” ให้หมายความว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และให้หมายความรวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญที่อธิบดีกำหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

 
ตามหลักเกณฑ์ใหม่ จะกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้พึงประเมินก่อนหักรายจ่ายในอัตราร้อยละ 20 เป็นอัตราเดียวตลอด
 
ในการกำหนดอัตราภาษีเงินได้ดังกล่าวจะทำให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
เนื่องจากไม่มีการแก้ไขกฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในส่วนที่เกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้จ่ายเงิน ได้จึงต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายเดิม ดังนั้น หากต้องมีภาระเพิ่มขึ้นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลก็มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมให้ถูกต้องต่อไป

 ที่มา : คอลัมภ์มุมภาษี  หนังสือเดลินิวส์ - วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT