ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

 

 

           รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นระยะเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี จากอัตรา 30% เหลือ 23% และ 20% ตามลำดับ ดังนี้

  สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 เพียงหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 23% ของกำไรสุทธิ

  สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไปอีกสองรอบระยะเวลาบัญชี ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 20% ของกำไรสุทธิ

  ส่วนสาเหตุที่กำหนดให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวเป็นการชั่วคราวเพียง 3 รอบระยะเวลาบัญชี ก็สืบเนื่องมาจากการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว โดยทั่วไปต้องตราเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฎากรเป็นการถาวร แต่เนื่องจากกระบวนการในการแก้ไขกฎหมายโดยวิธีการดังกล่าวต้องใช้ระยะเวลายาวนานมาก ในเบื้องต้นจึงใช้มาตรการตรากฎหมายระดับรอง คือ พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรไว้ก่อน สำหรับการแก้ไขการลดอัตราเป็นการถาวรก็จะได้ดำเนินการต่อไป

  ในคราวเดียวกันนี้ได้ปรับปรุงการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท ที่เดิมได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก และจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 15% ของกำไรสุทธิในส่วนที่เกิน 150,000 บาทแต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 25% และสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เกินกว่า 3 ล้านบาท ให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 30%

โดยได้มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว ให้สอดคล้องกับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลข้างต้น กล่าวคือ สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ยังคงยกเว้นและลดอัตราเหมือนเช่นเดิม แต่สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่เกินกว่า 1 ล้านบาทนั้น ลงเหลือ 23% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 เพียงหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี และลดลงเหลือ 20% สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไปอีกสองรอบระยะเวลาบัญชี

รวมทั้งปรับปรุงการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจการลงทุนในด้านต่าง ๆ ให้กับนักลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนจากต่างประเทศ อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนให้มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่สอดคล้องกันไปด้วย ซึ่งมั่นใจว่าจะดึงดูดการลงทุนได้มาก

             เป็นอันว่า แนวนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่ได้หาเสียงไว้ก่อนรับการเลือกตั้ง ได้ถูกนำมาเป็นนโยบายของรัฐบาล และทยอยนำมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม ดังเช่น กรณีการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% ของกำไรสุทธิ เป็น 23% แถมรัฐบาลยังใจดีลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือ 20% ในปีต่อไปอีก นับได้ว่าใจถึงอย่างมาก

 อย่างไรก็ตามการลดอัตราภาษี เงินได้นิติบุคคลดังกล่าวไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมายของกรมสรรพากร กระทรวงการคลังแต่ประการใด เป็นที่รู้กันดีโดยทั่วไปว่า อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในบ้านเรานั้นสูงกว่าอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของเพื่อนบ้าน ทั้ง เวียด นาม มาเลเซีย และสิงคโปร์

 เวียดนาม และมาเลเซีย จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 25% ของกำไรสุทธิ ส่วนสิงคโปร์ จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 17% ของกำไรสุทธิ เท่านั้น

 นอกจากนี้ ทั้งสามประเทศยังจัดเก็บภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเพียงระดับเดียว คือภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ไม่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากการจ่ายเงินปันผลซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยของเราที่จัดเก็บภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเป็นสอง ระดับคือ

 ระดับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งปกติที่ผ่านมารวมทั้งในปี 2554 จัดเก็บในอัตรา 30% ของกำไรสุทธิ คงเหลือกำไรสะสมที่จะนำไปจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนอีก 70% เมื่อมีการจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรก็จะจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย อีก 10% ของเงินปันผลหรือเงินแบ่งของกำไร

 หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นนำกำไรสะสมที่เหลือจากการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมาจ่ายทั้งหมด ก็จะได้จำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายรวมทั้งสิ้นเป็น 7% ของกำไรสุทธิ และเมื่อรวมกับจำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลอัตรา 30% ก็จะได้เป็นอัตราภาษีเงินได้ที่เรียกเก็บจากกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้นเป็น 37% ของกำไรสุทธิ

 นั่นเองเป็นเหตุผลว่า ทำไมอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดจึงเป็นอัตรา 37% ของเงินได้สุทธิ ทำไมไม่เป็นอัตราอื่น เช่น 40% เพราะอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นอัตราก้าวหน้าตามจำนวนเงินได้สุทธิที่เพิ่มขึ้น อันเป็นหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ตามความสามารถในการเสียภาษีเงินได้ โดยเริ่มจาก 5% เป็น 10% เพิ่มเป็น 20% และ 30% ตามลำดับ หากเป็นเลขอนุกรมก็ควรเป็นอัตรา 40%

การกำหนดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้เช่นนั้นก็เป็นเพราะประเทศไทยเราผูกอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้กับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการเลือกประกอบธุรกิจ ไม่ว่าคุณจะประกอบกิจการในรูปแบบบุคคลธรรมดาคนเดียวเป็นเจ้าของ คุณก็ต้องเสียภาษีเงินได้สูงสุดที่อัตรา 37% และแม้คุณเลือกประกอบธุรกิจในรูปบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลคุณก็ต้องเสียภาษีเงินได้สูงสุดที่อัตรา 37% เท่ากัน อันเป็นลักษณะของภาษีอากรที่ดีตามหลักความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ

ที่มา : คอลัมภ์มุมภาษี จาก นสพ.เดลินิวส์ - วันที่ 10,17 มกราคม 2555




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT