ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี

 

 

 รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี

 

    ต้องขอออกตัวก่อนว่าดิฉันไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษี แต่วันนี้ อยากจะนำเกร็ดเกี่ยวกับภาษีที่ได้ประสบมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่าน เพราะตอนนี้ย่างเข้าสู่ฤดูกาลยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว

เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากในการอัดฉีด เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจในปี 2552 ติดลบมากเกินไป วิธีการหนึ่งที่รัฐบาลทำ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียกเก็บเงินภาษี และมีผู้ให้ข้อสังเกตว่า รัฐบาลใช้วิธีคืนเงินภาษีช้าๆ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนในระบบของรัฐ เท็จจริงแค่ไหนไม่ทราบ แต่จนป่านนี้ดิฉันเองก็ยังไม่ได้รับคืนภาษีเงินได้ของปี 2551 ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเกินไป

ผู้คนที่ดิฉันสนทนาด้วยบอกว่า ไม่ได้ว่าอะไรที่กรมสรรพากรจะใช้เวลาตรวจสอบนาน แต่ที่รู้สึกโกรธแค้น คือ ขอเอกสารทีละหน่อย ละหน่อย ทำให้เสียเวลา เวลาขอแจ้งว่าส่งทางโทรสารก็ได้ แต่พอส่งแล้วก็แจ้งมาขอตัวจริงอีก โดยเฉพาะผู้ที่ยื่นเอกสารผ่านอินเทอร์เน็ต ดิฉันรวบรวมข้อควรรู้มาให้ท่านทราบดังนี้

  ยื่นแบบแต่เนิ่นๆ ท่านที่ยื่นแบบในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือน มี.ค.จะพบว่าทุกช่องทางแน่นไปหมด ยื่นด้วยเอกสารก็มีคิวยาว ไปรอเป็นวันๆ เสียเวลาทำงานอย่างมาก ยื่นด้วยอินเทอร์เน็ตก็เข้าสู่ระบบยาก ค่อนข้างช้า แม้ว่าในปีที่แล้วจะดีขึ้นแล้วก็ตาม

  กรมสรรพากรได้พัฒนาการลงทะเบียนยื่นภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต และได้ปรับปรุงจนใช้งานค่อนข้างสะดวกแล้ว หากไม่มีรายการมากมาย คือ มีเพียงรายได้จากเงินเดือน และโบนัส ท่านยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตอาจสะดวกกว่าค่ะ

  หากมีเอกสารหรือมีรายการมาก ไม่ควรยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต อันนี้เจ้าหน้าที่สรรพากรบอกดิฉันเอง

  ทราบหรือไม่ว่า ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบุพการี 30,000 บาทนั้น ไม่สามารถหักลดหย่อนได้หากบุพการีมีรายได้เกิน 30,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นรายได้ประเภทใด ทั้งดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ

  เงินบริจาคหากมีชื่อมากกว่า 1 คน ต้องหารเฉลี่ยเท่ากันทุกคนเวลานำมาใช้ลดหย่อน เว้นแต่ระบุลงไปว่าเป็นเงินบริจาคจากใครจำนวนเท่าใด ถ้าจะให้ดี แยกชื่อบริจาคจะสะดวกกว่าค่ะ ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้ทำบุญร่วมกัน

  หากสมรสจดทะเบียน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะกู้ในนามสามีหรือภรรยา สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละครึ่ง

  เบี้ยประกันชีวิต ที่จะนำมาหักลดหย่อน คู่สามีภรรยา สามารถหักลดหย่อนแต่ละคนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินคนละ 100,000 บาท

  เงินได้จากรางวัลต้องนำไปคำนวณภาษี โดยถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) เพราะฉะนั้นหากท่านเผอิญโชคดีส่งบัตรชิงโชคไปแล้วได้รับรางวัล ทางห้างร้านเขาจะตีมูลค่ารางวัลของท่านเป็นเงิน และหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ 5% และท่านยังมีภาระต้องเสียภาษีส่วนที่เหลือตามฐานภาษีของท่านนะคะ อย่าคิดว่าหัก 5% ก็เรียบร้อยแล้ว และกรณีที่ได้รางวัลเป็นบริการ อาทิเช่น โรงแรมหรือสปา ถึงท่านจะใช้หรือไม่ใช้สิทธิก็ตาม ทางสรรพากรจะถือว่าท่านรับเงินได้ไปแล้วเท่ากับที่ห้างร้านเขาตีราคาเอาไว้ ท่านต้องเสียภาษีบนเงินได้นี้ด้วย เพราะฉะนั้น หากท่านได้รางวัล ให้สอบถามก่อนว่ารางวัลอะไร และถ้าเห็นว่ารางวัลนั้นท่านไม่ได้ใช้แน่ๆ ก็ไม่ควรรับมา มิฉะนั้น จะกลายเป็นทุกขลาภไป

    อยากจะฝากห้างร้านที่ตีมูลค่ารางวัลด้วยว่าอย่าตีแบบเฟ้อค่ะ เข้าใจว่าเวลาโฆษณาดูเท่ดี เหมือนว่ารางวัลใหญ่ แต่มูลค่าจริงไม่ถึงที่ท่านตี และนอกจากนี้ เนื่องจากผู้รับรางวัลมีภาระภาษี 5-37% ของมูลค่าของรางวัล ไม่ได้ได้มาฟรีๆ ดังนั้น ท่านควรจะให้ผู้ได้รางวัลสามารถใช้รางวัลนั้นได้โดยไม่มีกำหนดอายุ มิฉะนั้น ท่านให้รางวัลเป็นเงินสดจะดีกว่าค่ะ ลูกค้าจะได้ไม่เสียความรู้สึก

   ควรพยายามไม่ให้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเกินกว่าที่ควรจะเสีย ถ้าจะให้ดี หักไม่ครบและไปจ่ายภายหลังจะดีกว่า เพราะฉะนั้น กรณีเป็นพนักงานบริษัท เวลามีรายการลดหย่อนต่างๆ ต้องแจ้งฝ่ายบุคคลตั้งแต่ต้นปี อาทิเช่น วางแผนว่าจะซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในช่วงปลายปี หรือตลอดทั้งปี ก็แจ้งฝ่ายบุคคลไว้ตั้งแต่ต้นปีเลย เพราะหากไปแจ้งในจุดที่ลงทุน ภาษีที่หักไปแล้วอาจจะเกินที่ควรจะต้องจ่าย ดังนั้น จึงต้องไปขอคืน ซึ่งกว่าจะได้คืนอาจต้องข้ามไปเป็นปี

   ฝากกรมสรรพากรพิจารณาว่า จะดีกว่าหรือไม่ที่บังคับให้ยื่นเอกสารประกอบทุกชิ้นตามไปหลังการยื่นผ่านอินเทอร์เน็ต โดย ทำให้การยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นเพียงการทดแทนการไปยืนเข้าคิว เป็นวันๆ เพราะในปัจจุบันท่านผลักภาระการเก็บเอกสารให้เป็นของผู้เสียภาษี และเอาเข้าจริงๆ ท่านก็ตรวจเอกสารทุกชิ้นอยู่ดี เพียงแต่ท่านมีเวลาตรวจยาวขึ้นเป็นปีๆ ถ้าผู้เสียภาษีส่งให้ท่านทั้งหมด อย่างน้อยท่านก็ต้องรีบตรวจเบื้องต้นภายในช่วงเวลาที่ยื่น คือ ภายใน 31 มี.ค.

   เชื่อไหมคะว่าของภาษี 2551 ดิฉันยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตก็แล้ว ถูกตามเอกสารก็แล้ว ถูกแจ้งให้ยื่นเป็นกระดาษใหม่ก็แล้ว ถูกตามรอบที่สามก็แล้ว รวมระยะเวลาการยื่น 11 เดือน ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้คืนเลยค่ะ

   หากรัฐบาลต้องการให้ผู้เสียภาษีบริจาคเงินภาษีที่จะได้คืนก็ขอกันดีๆ ได้ค่ะ ไม่ต้องยึกยื้อ ให้เสียความรู้สึกและเสียเวลากันเปล่าๆ โลกสมัยนี้พัฒนาไปมากแล้ว ส่งเอกสารกลับไปครั้งหนึ่งใช้เวลาตรวจ 3-5 เดือนแล้วส่งกลับมาขอเพิ่ม ขอใหม่ และขอเสนอว่า เงินภาษีที่ถูกหักเกินไป หากบริจาคให้กรมสรรพากร จะสามารถถือเป็นเงินบริจาคให้กับองค์กรการกุศล สามารถนำไปหักลดหย่อนในปีต่อไปได้ด้วย

บทความโดย : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ  ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT