บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net

ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ชี้ รายได้คนจนสุดต่ำกว่าคนรวยสุดถึง 12.81 เท่า มีคนแค่ 2.3 ล้านคนจ่ายภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยในงานประชุมสัมมนาประจำปีของ สสค.ว่า ความยากจนโดยรวมของประเทศไทยได้ลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2543-2550 แต่การกระจายรายได้ในภาพรวมไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยโครงสร้างรายได้ปัจจุบัน กลุ่มคนที่มีรายได้สูงสุดของประเทศ หรือกลุ่มประชากร 20% มีส่วนแบ่งรายได้สูงสุดถึง 55.1% ของรายได้รวม ขณะที่กลุ่มประชากรที่มีรายได้ต่ำสุด 20% มีส่วนแบ่งรายได้เพียง 4.3% ของรายได้รวม ทำให้รายได้ของคนจนสุดต่างจากคนรวดสุดถึง 12.81 เท่า ซึ่งไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 25 ปีก่อน จึงไม่แปลกที่ผลการจัดอันดับการกระจายรายได้ของประเทศไทยรั้งท้ายอยู่ในอันดับที่ 50 ของโลก
1. การปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ ซึ่งมีการผลักดันให้มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีธนาคารที่ดินเพื่อกระจายให้กับคนที่ไม่มีที่ดินทำกิน 2. ผลักดันการขยายขอบเขตระบบสวัสดิการ หรือการมุ่งสู่การเป็นรัฐสวัสดิการมากขึ้นโดยมีการผลักดันให้มีการการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ 3. ส่งเสริมการพัฒนาระบบการเงินฐานราก โดยจะเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรทางการเงินระดับฐานราก และสนับสนุนให้สถาบันการเงินทุกประเภทให้บริการทางการเงินที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน 4. สนับสนุนการพัฒนาการประกันภัยพืชผลสำหรับเกษตรกร เพราะจากผลการวิจัยของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2549 พบว่า รายได้สุทธิของครัวเรือนเฉลี่ยต่อคนในภาคเกษตรต่ำกว่านอกภาคเกษตรประมาณ 2 เท่า เมื่อเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้ระดับหนึ่ง ชี้ BOI สร้างความไม่เท่าเทียมเสนอ VAT 10% หนุนรัฐสวัสดิการ 1. ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ที่เกิดจากการกระจุกตัวด้านรายได้ การออมและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ผู้มีรายได้สูงจะมีโอกาสมากกว่า 2. ความเหลื่อมล้ำด้านโอกาส โดยเฉพาะด้านการเข้าถึงการศึกษา และคุณภาพการศึกษาระหว่างคนในเมืองและชนบทแตกต่างกัน ทั้งนี้ แนวคิดในการให้สิทธิทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนไม่ควรจะให้เป็นการทั่วไป แต่จะต้องมีการระบุเงื่อนไขสำคัญ เช่น ให้สิทธิพิเศษเฉพาะการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นต้น และเมื่อได้รับสิทธิประโยชน์ไปแล้วต้องถูกประเมินด้วยว่า ได้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่ขอรับส่งเสริมหรือไม่ ขณะที่บริษัททั่วไปซึ่งปัจจุบันถูกจัดเก็บในอัตรา 30% อาจจะเสนอให้ปรับลดอัตราภาษีลงแบบขั้นบันได โดยมีเป้าหมายให้เหลือที่อัตรา 20% แทน
ที่มา: นิตยสารการเงินธนาคาร Update 22/09/53 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |