

(Corporate Income Tax : CIT)
การจัดเก็บภาษีนิติบุคคล เป็นการเก็บภาษีเงินได้ซ้อน 2 ครั้ง คือ เก็บจากกำไรสุทธิครั้งหนึ่งแล้ว และเก็บจากเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไรอีกครั้งหนึ่ง แต่มีการแก้ไขการซ้ำซ้อน โดย บุคคลธรรมดา จะได้รับเครดิตภาษี ส่วนนิติบุคคลจะนำมาเป็นรายได้ครึ่งหนึ่ง หรือ ไม่ต้องนำมาเป็นรายได้เลย ( แล้วแต่เงื่อนไข ) อย่าลืมนำภาษีซ้อน และ BOI มาพิจารณาด้วย เพราะ กม.ภาษีซ้อน และ BOI อยู่เหนือประมวลรัษฎากร กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางบัญชี ( Accounting Profit or Loss ) อาจแตกต่างจาก กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษี ( Taxable Profit or Loss ) เพราะรายได้และรายจ่ายทางภาษี ต้องเป็นรายได้และรายจ่ายที่กฎหมายกำหนดเงื่อนไขไว้


นิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล ตาม ม.39 มีดังนี้
1. บริษัทจำกัด
2. บริษัทมหาชน จำกัด
3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
4. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
5. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดย รัฐบาลต่างประเทศ
6. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดย องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ
7. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดย นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
8. กิจการร่วมค้าซึ่งได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่าง
บริษัทกับบริษัท
บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กับ บุคคลธรรมดา
บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กับ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กับ ห้างหุ้นส่วนสามัญ
บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กับ นิติบุคคลอื่น
9. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา 47 (7) (ข)
10. นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ( ปัจจุบันยังไม่มีประกาศกำหนด )
นิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล ตาม ม.อื่นๆ มีดังนี้
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในประเทศไทย มาตรา 66
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย มาตรา 66
3. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย และกิจการที่ทำนั้นเป็นกิจการประเภทขนส่งผ่านประเทศต่างๆ มาตรา 67
4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีลูกจ้าง หรือผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ประกอบกิจการในประเทศไทย มาตรา 76 ทวิ
5. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ แม้มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้ ม.40(2)(3)(4)(5)(6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย มาตรา 70 (ให้ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย )
นิติบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคล เช่น
กระทรวง ทบวง กรม
องค์การรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลไทยที่มิใช่บริษัทจำกัด
บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
นิติบุคคลอาคารชุด
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
วัด
มูลนิธิหรือสมาคมที่รมต.ประกาศเป็นองค์การสาธารณกุศล
สหกรณ์
หอการค้า
สหภาพแรงงาน


ฐานภาษีโดยทั่วไป คือ กำไรสุทธิซึ่งคำนวณได้จาก รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วย รายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ (เงื่อนไขการคำนวณทส. หส. รายจ่าย) และ 65 ตรี (เงื่อนไขการหักรายจ่ายที่ไม่ยอมให้หัก) การคำนวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่งให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
สาขาประกอบกิจการในตปท.
ต้องนำเงินได้หรือกำไรสุทธิของสาขามารวมคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีในไทยด้วย เพราะถือว่าเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ส่วนภาษีที่เสียตปท. อาจนำมาหักเป็นรายจ่าย หรือ เป็นเครดิตหักจากภาษีเงินได้ ต้องดูภาษีซ้อน หรือกม.ที่กำหนดไว้ เช่น เสียภาษีนิติบุคคลตปท.ที่ 40% สามารถนำมาให้เครดิตภาษีในไทยได้ 30% ที่เหลือให้เป็นค่าใช้จ่าย สาขา.ของธนาคารไทย ที่ไปตั้งในตปท ได้ให้บจ.ง.กู้เงิน และบจ.ง.จ่ายดบ.โดยตรงไปที่สาขาตปท. ไม่ต้องหักภาษีตามม.70 เพราะถือว่าจ่ายดบ.ให้บจ.ไทย สาขาที่รับดบ.ก็ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เพราะเป็นการประกอบธุรกิจนอกราชอาณาจักร
มีดังนี้
1. กรณีทั่วไป เสียจากกำไรสุทธิ (ที่กล่าวข้างต้น) ม.65
2. กรณีนิติบุคคลที่จดทะเบียนในตปท. ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ อาจขอเสีย ร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ถ้ายอดรายรับไม่ปรากฎ อาจประเมินโดยเทียบเคียงกับยอดในรอบบัญชีก่อน ถ้ายอดในรอบบัญชีก่อนไม่ปรากฎ ก็อาจประเมินตามที่เห็นสมควรก็ได้ ( ป.13/2529 บอกว่าต้องขออนุญาตก่อน )
3. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยหรือตปท. หากไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้คำนวณภาษี หรือมิได้ทำบัญชี หรือทำไม่ครบ หรือไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้สรรพากรตรวจสอบตามหมายเรียก สรรพากรมีอำนาจประเมินภาษี ร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ ม.71 ( อ่าน ป.13/2529 มีวิธีหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายด้วย จะสามารถนำมาใช้ได้ไหม เพราะอาจเสียภาษีน้อยกว่าร้อยละ 5)
4. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการในไทยประเภทขนส่งระหว่างประเทศ ให้เก็บร้อยละ 3 ของค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียม และปย.อื่นใดที่เรียกเก็บในไทยก่อนหักรายจ่าย หรือ ร้อยละ 3 ของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และปย.อื่นใดที่เรียกเก็บเนื่องในการรับขนของออกจากไทยก่อนหักรายจ่าย ม.67 (รายได้อื่นเสียจากฐานกำไรสุทธิ)
5. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้ม.40(2)(3)(4)(5)(6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ให้ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10 เฉพาะรายได้ 40(4)(ข) ส่วนรายได้อื่น หักร้อยละ 15 (ดูมาตรา 70)
6. กรณีจำหน่ายเงินกำไรไปตปท. เสียร้อยละ 10 โดยนำส่งภายใน 7 วันนับแต่วันจำหน่าย ( นิยาม “จำหน่าย” ดู 70 ทวิ วรรค 2 )
7. กรณีมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ อันมิใช่ค่าลงทะเบียน ค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก หรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา เสียร้อยละ 10 ของรายรับ และ 40(8) เสียร้อยละ 2 ของรายรับ
( อธิบายเพิ่ม )แบ่งใหญ่ๆ ได้
1. กำไรสุทธิ ม.65
2. รายได้ก่อนหักรายจ่าย ม.67
3. เงินที่ได้จ่ายจากหรือในไทย ม.70
4. การจำหน่ายกำไรออกไปนอกปท. ม.70 ทวิ
การเสียภาษีจากฐาน 1 , 2 , 3 จะเสียเพียงฐานใดฐานหนึ่งเท่านั้น หากเสียภาษีจากฐาน 1 ก็อาจเสียจากฐาน 4 ได้ ถ้าได้จำหน่ายกำไรออกไปนอกประเทศ แต่หากเสียภาษีจากฐาน 2 , 3 จะไม่มีการเสียจากฐาน 4 อีก แม้ส่งเงินที่เหลือไปตปท.

1. รอบบัญชี 12 เดือน เป็นปกติทั่วไป
2. น้อยกว่า 12 เดือน มี 3 กรณี
นิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ ( จะมากกว่า 12 เดือนไม่ได้ )
นิติบุคคลขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบบัญชี ( จะมากกว่า 12 เดือนไม่ได้ )
นิติบุคคลเลิกกิจการ หรือ ควบเข้ากัน ให้ถือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิกหรือควบเข้ากันเป็นวันสุดท้าย แม้นิติบุคคลจะจดทะเบียนเลิกแล้ว แต่ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลจนกว่าจะได้ชำระบัญชีเสร็จสิ้น หากระหว่างชำระบัญชี มีรายได้ ต้องเสียภาษีด้วย (นิติบุคคลยังต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 51 พร้อมงบการเงินต่อไปจนกว่าจะได้จดทะเบียนการชำระบัญชีแล้วเสร็จ )
3. การขยายรอบบัญชี
นิติบุคคลจดเลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชีไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีในกำหนดเวลาตามม.68 , 69 ถ้าได้ยื่นคำร้องภายใน 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนเลิก สรรพากรอาจอนุมัติให้ขยายเวลาออกไปก็ได้ (แต่วิธีนี้มักไม่นิยม เพราะจะใช้วิธีขอขยายเวลายื่นรายการออกไปแทน )

อัตราภาษี มี หลายอัตรา ดังนี้

1. ภาษีจากกำไรสุทธิ ร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ (แต่มีการออก กม.ลดลงให้ในกรณีต่างๆ ดู ภ.ง.ด. 50)
2. ภาษีตาม ม.70 นอกจากที่ระบุใน 3 ร้อยละ 15 ของรายรับ
3. ภาษีตาม ม.70 เฉพาะ 40(4)(ข) ร้อยละ 10 ของรายรับ
4. ภาษีตาม ม.70 ทวิ (จำหน่ายกำไร) ร้อยละ 10 ของเงินที่จำหน่าย
5. มูลนิธิหรือสมาคม นอกจากที่ระบุใน 6 ร้อยละ 10 ของรายรับก่อนหักรายจ่าย
6. มูลนิธิหรือสมาคม เฉพาะ 40(8) ร้อยละ 2 ของรายรับก่อนหักรายจ่าย
7. นิติบุคคลไทยหรือตปท.ที่มีปัญหา ร้อยละ 5 ของรายรับก่อนหักรายจ่าย
8. นิติบุคคลตปท.ประกอบกิจการในไทยประเภทขนส่งระหว่างประเทศ ร้อยละ 3 ของค่าโดยสาร ค่าระวาง
กำไรสุทธิ คำนวณได้จาก รายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วย รายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ (เงื่อนไขการคำนวณทส. หส. รายจ่าย) และ 65 ตรี (เงื่อนไขการหักรายจ่ายที่ไม่ยอมให้หัก) การคำนวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่งให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
เกณฑ์รับรู้รายได้ จะแตกต่างกันดู ทป.1/2528 , ทป.155/2549 , ป.39/2537 , ป.61/2539 , ( รายได้บางประเภท จะต่างกับมาตรฐานการบัญชี) นิยามรายได้ แบ่งเป็น 2 กรณี
รายได้จากกิจการ ได้แก่ รายได้จากการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์
รายได้เนื่องจากกิจการ ได้แก่ รายได้ที่มิได้เกิดจากการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ แต่เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการดำเนินงานของกิจการ เช่น ขายสท. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เงินที่ได้รับจากการช่วยเหลือจากบริษัทแม่ ภาษีที่ผู้อื่นออกแทน ส่วนลดจากการปลดหนี้
ตัวอย่าง ที่ถือเป็นรายได้
รายได้รับล่วงหน้า ให้รับรู้ตามเกณฑ์สิทธิ์ ดูทป.1/2528 , ทป.155/2549 เช่นธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ให้รับรู้รายได้ตามส่วนของงานที่ทำเสร็จ แต่ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายจะโดนหักตามที่รับจริง และภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นแล้ว
ขายต่างประเทศ ให้รับรู้รายได้ ณ วันที่บริษัทขนส่งออกใบตราส่งสินค้า(B/L) ไม่ใช่วันที่ตามใบกำกับสินค้าหรือใบขนขาออก เพราะแสดงว่าได้กำหนด คัดเลือก นับ ชั่ง ตวง วัด เพื่อให้ได้ตัวสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นการแน่นอน และส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้ขนส่งเรียบร้อยแล้ว ถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ของผู้ขายที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินซึ่งขายนั้นให้แก่ผู้ซื้อและการส่งมอบนั้นสำเร็จแล้ว ทั้งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายนั้นก็ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว (ส่วน vat จะเสียเมื่อชำระอากรขาออก หากได้รับยกเว้นอากรขาออก ความรับผิดจะเกิดเมื่อมีการออกใบขนสินค้าขาออก ซึ่งภาษีนิติบุคคลไม่ได้รับรู้เหมือน vat แต่จะรับรู้เมื่อมีการโอนความเสี่ยงในสินค้าให้บริษัทขนส่งสินค้าแล้ว )
รับทรัพย์สินโดยไม่มีค่าตอบแทน โดยบจ.เป็นเจ้าของที่ดิน ได้รับอาคารบนที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ โดยมีเงื่อนไขว่า เจ้าของที่ดินต้องให้ผู้สร้างอาคารเช่าชั่วเวลาหนึ่ง บจ.ต้องคำนวณมูลค่าอาคารที่ได้รับเป็นกรรมสิทธิ ตาม ม.9 ทวิ เป็นเงินได้ในรอบบัญชีที่ได้รับกรรมสิทธิ์ และมีสิทธิ์หักค่าสึกหรอ ( บจ.ได้ทรัพย์สิน โดยไม่เสียค่าตอบแทนถือว่าได้รับทรัพย์สิน ซื่งเป็นงินได้ตาม ม.39 จึงเป็นรายได้ตาม ม.65 )
เงินชดเชยจากการส่งออกในรูปบัตรภาษี ถือเป็นรายได้เมื่อได้รับหนังสือแจ้งอนุมัติให้ได้รับบัตรภาษีจากกรมศุล
ผู้แทนจำหน่ายได้รับรางวัลจากบจ. เนื่องจากการส่งเสริมการขาย รางวัลดังกล่าวถือเป็นรายได้ ต้องนำมารวมคำนวณภาษี และเมื่อผู้แทนขายสินค้าที่เป็นรางวัล ต้องนำกำไรจากการขายสินค้ามารวมคำนวณกำไร โดยผู้แทนจำหน่ายมีสิทธินำมูลค่าของรางวัลมาถือเป็นต้นทุนได้
ผู้ผลิตสินค้าสนับสนุนมอบรางวัลให้แก่บจ. เพื่อนำไปแจกให้ผู้แทนจำหน่ายโดยไม่คิดมูลค่า รางวัลนื้ถือเป็นปย.ที่บจ.ได้รับ ต้องคำนวณเสียภาษี และเมื่อบจ.นำรางวัลที่ได้รับไปแจกให้ผู้แทนจำหน่าย บจ.สามารถนำมูลค่าของรางวัลมาเป็นรายจ่ายได้
ให้เช่ารถยนต์ โดยผู้ให้เช่าเรียกเก็บค่าจดทะเบียนรถ ค่าต่อทะเบียน ค่าเบี้ยประกันจากผู้เช่า ถือเป็นเงินได้ 40(5)(ก) และให้เสีย vat ด้วย
เงินได้ 40(5)(ก) รวมถึง การที่ผู้ให้เช่าเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นจากผู้เช่าด้วย เช่น ค่าล่วงเวลาพนักงานขับรถ ค่าทางด่วน ค่าอาหารของคนขับ ค่าภาษีโรงเรือน
บจ.ได้ใช้อุปกรณ์ผลิตชิ้นส่วนจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ผลิตสินค้าขาย โดยบจ.ไม่ต้องเสียค่าตอบแทน ถือเป็นปย.อย่างอื่นที่ได้รับ ต้องนำมารวมเป็นรายได้ด้วย ( ดังนั้นเวลาเราตั้งราคาขาย อย่าลืมคำนึงถึงภาษีตัวนี้ด้วย )
ตัวอย่าง ที่ยังไม่ถือเป็นรายได้
ส่งสินค้าตัวอย่างให้ลูกค้าทดลองใช้โดยไม่คิดมูลค่า ไม่ว่าลูกค้าในหรือตปท เนื่องจากเป็นการส่งเสริมการขาย ไม่ถือเป็นรายได้ และมีสิทธินำมูลค่าของสินค้าตามราคาทุนไปถือเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี ( แม้ไม่เสียภาษีนิติบุคคล แต่การโอนสินค้ายังคงต้องเสีย vat แต่ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษี )
เงินมัดจำค่าขายสินค้า ไม่ถือเป็นรายได้ จะเป็นรายได้จนกว่ากิจการได้โอนความเสี่ยงและค่าตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้านั้นให้ผู้ซื้อ ซึ่งตรงกับมาตรฐานบัญชี ( แต่ vat เกิดขึ้นแล้ว เมื่อรับเงิน )

ที่มา : http://www.businesssoft.com