ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ภาษีมรดก

 

ภาษีมรดก

 

    มรดก-ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับมรดกไว้เป็นบรรพเฉพาะ แต่ในบทความนี้จะสรุปสาระสำคัญๆ เพื่อประโยชน์ในเรื่องภาษีอากรเท่านั้น

   

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 บัญญัติว่า “เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาททายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น” หลักการของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  ในเรื่องมรดกได้รับรองให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้ตายหรือผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์มรดกที่เรียกว่าเจ้ามรดก ตกทอดแก่ทายาททันทีที่ เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย มีคำถามว่าเจ้ามรดกนี้หมายความรวมทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลใช่หรือไม่ ซึ่งอาจพิจารณาพิเคราะห์ได้ว่า เจ้ามรดกจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลไม่อาจเป็นเจ้ามรดกได้เพราะนิติบุคคลไม่อาจถึงแก่ความตายได้ การสิ้นสุดสภาพบุคคลของนิติบุคคล จะมีผลทำให้บรรดาทรัพย์สิน สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลนั้นต้องจัดการไปตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคล จะนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะมรดกมาบังคับไม่ได้

     เมื่อกล่าวถึงการตายของบุคคล อาจกล่าวได้ว่าการตายตามกฎหมายมี 2 ประการ คือ

 1. การตายโดยธรรมชาติ หมายความถึงการตายซึ่งแพทย์ถือว่าบุคคลจะถึงแก่ความตายเมื่อหัวใจหยุดเต้นและสมองไม่ทำงาน

 2. การตายโดยผลของกฎหมาย หมายความถึงการตายที่มีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กฎหมายบัญญัติเกิดขึ้น และกฎหมายให้ถือว่าถึงแก่ความตาย หรืออาจเรียกว่าเป็นการตายโดยนิตินัย ได้แก่ กรณีที่ศาลได้มีคำสั่งให้ เป็นคนสาบสูญ ตามมาตรา 62 แห่งประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งกฎหมายให้ถือว่าตายอันมีผลทำให้ทรัพย์มรดกของผู้ตายตกทอดแก่ทายาทเช่นกัน ทั้งนี้ตามมาตรา 1602 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    

มาตรา 1600 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า “ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตาย โดยแท้”

     ดังนั้น ทรัพย์มรดกที่อาจตกทอดแก่ทายาทได้ จึงได้แก่

1.  ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งวัตถุที่มี รูปร่าง และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ 
2.  สิทธิต่างๆ เช่นสิทธิเหนือพื้นดิน ลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขาย เป็นต้น
3.  หน้าที่และความรับผิดต่างๆ ได้แก่ ความ ผูกพันในหนี้สินที่ผู้ตายต้องชำระ หรือความรับผิดตามสัญญา เช่น สัญญาค้ำประกันที่ผู้ตายได้ทำไว้ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี แม้ทายาทจะต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งเป็นทรัพย์มรดก แต่ก็ไม่ต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน

     สำหรับสิทธิหรือหน้าที่อันเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายจะไม่นับว่าเป็นมรดกและจะไม่ตกทอดแก่ทายาท ซึ่งสิทธิหรือหน้าที่อันเป็นการเฉพาะตัวนี้ มี 2 อย่างคือ

1. เป็นการเฉพาะตัวโดยสภาพ หมายถึง สิทธิหน้าที่ซึ่งโดยสภาพผู้ตายจะเป็นผู้ใช้หรือกระทำได้ด้วยตนเอง จะโอนไปให้ผู้อื่นไม่ได้  ส่วนใหญ่แล้วได้แก่ สิทธิหรือหน้าที่ที่เกี่ยวกับ เนื้อตัว ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ความรู้สึกหรือคุณสมบัติเฉพาะตัวบุคคล ไม่เกี่ยวกับประโยชน์ในทางทรัพย์สิน เช่น สิทธิและหน้าที่จะทำการสมรสตามสัญญาหมั้น เป็นการเฉพาะตัวของบุคคล เมื่อคู่สัญญา (หมั้น) คนใดคนหนึ่งตาย สัญญาเป็นอันระงับ ไม่เป็นมรดกที่จะตกทอดแก่ทายาทได้

2. เป็นการเฉพาะตัวตามกฎหมาย หมายถึง สิทธิหรือหน้าที่ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้เป็นการเฉพาะตัว ย่อมไม่เป็นมรดก เช่น สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น 

     มีข้อสังเกตว่า มรดกคือทรัพย์สินของ ผู้ตาย ทรัพย์สินนั้นจึงต้องเป็นของผู้ตายอยู่ แล้วในเวลาที่ถึงแก่ความตาย เมื่อความตายเป็นเหตุให้ผู้ตายสิ้นสภาพบุคคลนับแต่ตายแล้วเป็นต้นไป ผู้ตายก็ไม่อาจมีสิทธิหรือหน้าที่ได้  ดังนั้น ทรัพย์สินที่ได้มาเพราะความตาย หรือหลังจากนั้นไปก็ไม่อาจนับได้ว่าเป็นทรัพย์สินของผู้ตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตายทรัพย์สินที่ได้มาเพราะเหตุที่บุคคลถึงแก่ความตายนั้น เป็นการถือเอาความตายของบุคคลมาเป็นเหตุให้ต้องชำระเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแก่กัน ตัวอย่างเช่น เงินบำนาญตกทอดซึ่งทางราชการจ่ายให้ในกรณีที่ข้าราชการถึงแก่ความตาย เงินทุนสงเคราะห์เพื่อช่วยเหลืองานศพและอุปการะบุตรของสมาชิกที่ถึงแก่ความตายเงินทดแทนที่นายจ้างจ่ายให้ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเมื่อลูกจ้างถึงแก่ความตาย เป็นต้น 

    

     ทายาทแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.  ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกตามที่กฎหมายบัญญัติ เรียกว่า “ทายาทโดยธรรม” และสิทธิรับมรดกของทายาทโดยธรรม เรียกว่า “สิทธิโดยธรรม”

2.  ทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกตามที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม เรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม” และสิทธิรับมรดกของผู้รับพินัยกรรม เรียกว่า “สิทธิตามพินัยกรรม”

     ซึ่งบุคคลคนเดียวอาจเป็นได้ทั้งสองฐานะ คือทั้งทายาทโดยธรรม และผู้รับพินัยกรรมก็ได้ แต่ทายาทโดยธรรมจะมีได้แต่เฉพาะบุคคลธรรมดาเท่านั้น ส่วนนิติบุคคลไม่มีกฎหมายบัญญัติให้มีสิทธิได้รับมรดก เว้นแต่วัดกับแผ่นดิน แต่แม้ว่าจะมีสิทธิได้รับทรัพย์สินของผู้ตาย ก็เป็นการได้รับโดยเหตุผลเฉพาะเรื่อง ไม่ใช่ได้รับในฐานะทายาทโดยธรรมของผู้ตาย  ส่วนนิติบุคคลอาจเป็นทายาทได้แต่เฉพาะในฐานะผู้รับพินัยกรรมเท่านั้น  

     สำหรับทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ และ แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้คือ

1.  ผู้สืบสันดาน หมายถึง บุตรของเจ้ามรดก ซึ่งรวมถึงบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรมด้วย
2.  บิดามารดา ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบิดาที่รับรองบุตรนอกกฎหมายและผู้รับบุตรบุญธรรม
3.  พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
4.  พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
5.  ปู่ ย่า ตา ยาย
6.  ลุง ป้า น้า อา

     ซึ่งทายาททั้ง 6 ลำดับข้างต้นเป็นทายาทโดยธรรมประเภทญาติของเจ้ามรดก ส่วนสามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ก็เป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส ซึ่งมีสิทธิรับมรดกร่วมกับทายาทที่เป็นญาติของเจ้ามรดกด้วย

     ความหมายของภาษีมรดก

     ภาษีมรดกจัดเป็นภาษีทรัพย์สินประเภทที่เรียกเก็บจากความตายของเจ้าของมรดกเป็นสำคัญ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาษีกองมรดกและภาษีการรับมรดก ภาษีทั้ง 2 ประเภทมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้

  

     เป็นภาษีที่เก็บจากกองทรัพย์สินของผู้ตาย โดยให้ทำการรวบรวมทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดมาประเมินภาษีและชำระภาษีตามจำนวนที่ประเมินได้ จากนั้นทรัพย์สินที่เหลือจากการชำระภาษี แล้วจึงจะตกทอดไปยังทายาทของผู้ตาย ซึ่งภาษีกองมรดกนี้ไม่ได้คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง  ผู้ตายกับผู้รับมรดก และอัตราภาษีส่วนใหญ่ จะเป็นอัตราก้าวหน้าตามขนาดของกองมรดก

     การเก็บภาษีกองมรดกนี้มีข้อดีคือ ทำให้ รัฐได้จำนวนภาษีมาก เพราะเป็นการเก็บภาษีจากทรัพย์สินรวมทั้งสิ้นก่อนแบ่งให้ทายาท  รวมทั้งเจ้าหน้าที่สามารถจัดเก็บได้ง่าย และมีการประเมินเพียงครั้งเดียว ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและเกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรมมากกว่าการจัดเก็บภาษีมรดกโดยวิธีอื่น รวมทั้งทำให้ช่องว่างทางสังคมของคนรวยกับคนจนลดลงมากขึ้น เพราะมีฐานภาษีที่กว้างกว่า เป็นเหตุทำให้รัฐมีรายได้ เพื่อนำไปทำนุบำรุงประเทศได้มากขึ้นนั่นเอง

     อย่างไรก็ดีสำหรับข้อเสียของการจัดเก็บภาษีกองมรดกก็คือ ทำให้ทายาทผู้รับมรดกแต่ละคนจะต้องรับภาระภาษีเท่ากันโดยไม่คำนึงว่าทายาทนั้นจะมีรายได้มากหรือน้อย หรือจะได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนเท่าใด รวมทั้งทำให้ประชาชนมีความรู้สึกไม่ดีกับการจัดเก็บภาษีวิธีนี้เพราะจะต้องเสียภาษีจากกองทรัพย์มรดก ทั้งจำนวน ซึ่งคิดเป็นเงินภาษีที่ต้องเสียจำนวนมาก และหากมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นก็จะทำให้รัฐจัดเก็บภาษีได้ช้าลงด้วย

  

     เป็นภาษีที่เก็บจากบุคคลที่ได้รับมรดก เมื่อเจ้าของทรัพย์สินหรือเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้วทรัพย์มรดกจะถูกแบ่งให้ผู้รับมรดกหรือทายาทแต่ละคนตามสัดส่วน ดังนั้น ในกรณีนี้ผู้รับมรดกแต่ละคนจะเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี อัตราภาษีรวมทั้งการลดหย่อนต่างๆ จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับมรดกกับผู้ตายคือ ผู้รับมรดกที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ตาย เช่น เป็นทายาทโดยธรรม ก็จะถูกเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า แต่สำหรับกรณีผู้รับมรดกที่มีความสัมพันธ์ห่างออกไป เช่น เป็นทายาทโดยพินัยกรรม ก็จะถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่า เป็นต้น

     การเก็บภาษีการรับมรดกนี้มีข้อดีคือ ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกที่ดีในการจัดเก็บภาษีมากกว่าการเก็บภาษีจากกองมรดก สามารถลดกระแสสังคมได้ เพราะจะไม่มีความรู้สึกว่าเป็นการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อน โอกาสในการเสียภาษีการรับมรดกอาจมีน้อยกว่าการเสียภาษีกองมรดก เนื่องจากในการรับมรดกแต่ละคนจะเสียภาษีก็ต่อเมื่อมีจำนวนมรดกที่ได้รับถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ เช่น หากมีการกำหนดว่าจะมีการจัดเก็บภาษีมรดก สำหรับกรณีได้รับมรดกเกิน 10 ล้านบาท แล้วมีข้อเท็จจริงเกิดขึ้นว่า กองมรดกมีทรัพย์มรดกรวมจำนวน 30 ล้านบาท แต่ได้แบ่งให้ทายาท 5 คนๆ ละ 6 ล้านบาท เช่นนี้ก็ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก เป็นต้น

     สำหรับข้อเสียของการจัดเก็บภาษีการรับมรดกนี้ พบว่าเป็นการจัดเก็บภาษีที่ไม่อำนวยรายได้ให้แก่รัฐมากเท่ากับการจัดเก็บภาษีกองมรดก รวมทั้งไม่สะดวกต่อการจัดเก็บภาษีเพราะจะต้องจัดเก็บเป็นรายบุคคลผู้รับมรดก กรณีที่มีทายาทเป็นจำนวนมากก็อาจต้องใช้เวลาในการจัดเก็บมากขึ้น และต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วย

     สำหรับการพิจารณาเลือกวิธีการจัดเก็บภาษีมรดกที่เหมาะสมกับประเทศไทย หากมีการนำมาใช้นั้นก็คงต้องเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตของคนไทยทั่วไปด้วย

     ภาษีมรดกในประเทศไทย

อาจกล่าวได้ว่าในประเทศไทยเคยมีการ จัดเก็บภาษีมรดกมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล  แต่ก็ไม่เป็นที่แพร่หลายนัก ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 ก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476 ขึ้น ซึ่งเป็นกฎหมายที่ถูกคัดค้านจากกลุ่มคนที่มีฐานะร่ำรวยเป็นอย่างมาก 

     เนื้อหาโดยสรุปในพระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476 พบว่าเป็นการจัดเก็บภาษีกองมรดกเป็นหลัก โดยจะต้องนำทรัพย์สินที่กำหนดไว้ เช่น อสังหาริมทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ที่มีรูปร่างที่อยู่ในประเทศไทย สิทธิเรียกร้องต่างๆ หลักทรัพย์ เป็นต้น มาคำนวณหายอดสุทธิแห่งค่าซึ่งเป็นการตีราคาทรัพย์มรดกออกมาเป็นเงินแล้วนำหนี้สินต่างๆ มาหักออก เหลือเป็นฐานในการคำนวณภาษีตามอัตราที่กำหนด ซึ่งหากคำนวณแล้วมีจำนวนไม่เกิน 10,000 บาท ก็ไม่ต้องเสียภาษีกองมรดก แต่หากมีจำนวนเกินกว่า 10,000 บาท ก็ต้องเสียภาษีกองมรดก

     นอกจากจัดเก็บภาษีกองมรดกแล้ว กฎหมายดังกล่าวยังคงกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีการรับมรดกด้วย โดยจะกำหนดให้มีการลดหย่อนเพิ่มเติมตามสภาพของผู้ได้รับมรดก และหากจำนวนมรดกที่รับไม่เกิน 10,000 บาท ก็ไม่ต้องเสียภาษีการรับมรดก แต่หากมีจำนวนเกินกว่า 10,000 บาท ก็ต้องเสียภาษีการรับมรดกด้วย

     พระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476 ถูกยกเลิกไปโดย พระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติอากรมฤดกและการรับมฤดก พุทธศักราช 2476 พุทธศักราช 2487 ด้วยเหตุผลว่าเป็นภาษีที่จัดเก็บได้เป็นจำนวนไม่แน่นอน และจัดเก็บได้น้อยแต่ มีภาระต้องปฏิบัติมาก รวมมีการใช้บังคับกันประมาณ 10 ปี และนับแต่นั้นเป็นต้นมาก็ไม่ปรากฏว่ามีการตรากฎหมายภาษีมรดกใช้บังคับในประเทศไทยอีกเลย แม้ว่าจะมีเสียงเรียกร้องจากบุคคลบางกลุ่มเป็นระยะๆ ก็ตาม

     มรดกกับการจัดเก็บภาษีในปัจจุบัน

     ทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาทเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย จะเป็นไปโดยผลของกฎหมาย เมื่อนำมาปรับพิเคราะห์เข้ากับประมวลรัษฎากรแล้วจะพบว่า เมื่อทายาทได้รับทรัพย์มรดกมา กรณีถือเป็นการได้รับเงินได้พึงประเมินตามความหมายของมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร4 ซึ่งโดยหลักแล้วทายาทจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย อย่างไร  ก็ดีในเรื่องดังกล่าวนี้ได้มีการบัญญัติกฎหมาย  ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ทายาท ผู้ที่ได้รับมรดกนั้นไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีได้รับมรดกโดยตรงจากเจ้ามรดก หรือเป็นกรณีที่ได้รับจากกองมรดก ทั้งนี้ตามมาตรา 42(10) และ (16) แห่งประมวลรัษฎากร จึงเห็นได้ว่า แม้ทรัพย์มรดกที่ได้รับจะเป็นเงินได้พึงประเมิน แต่ก็ไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

     เมื่อทายาทได้รับทรัพย์มรดกแล้ว ต่อมา ได้ขายทรัพย์มรดกนั้นออกไป กรณีนี้ก็ถือว่าทายาทที่ขายทรัพย์มรดกไปนั้นได้รับเงินได้พึงประเมิน แต่ก็มีการยกเว้นภาษีให้ในบางกรณี ซึ่งการพิจารณาว่าการขายทรัพย์มรดกประเภทใดบ้างที่ได้รับยกเว้นภาษี และประเภทใดที่ต้องเสียภาษี ควรต้องแยกพิจารณาดังนี้

    

     เงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาทางมรดกจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าสังหาริมทรัพย์นั้นจะเป็นทรัพย์สินอะไรก็ตาม ทั้งนี้ตามมาตรา 42(9)แห่งประมวลรัษฎากร6 และไม่คำนึงว่าเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากการขายนั้นจะมีจำนวนเท่าใดก็ตาม

     สำหรับประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น การขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาทางมรดกไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะแม้ว่าทรัพย์มรดกจะเป็นสินค้าตามความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ในกรณีนี้มิใช่เป็นกรณีการประกอบกิจการขายสินค้าในทางธุรกิจหรือวิชาชีพของทายาท ผู้ขายทรัพย์มรดกนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยเหตุผลดังกล่าว

     

     เงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาทางมรดกนั้น จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงบางส่วน กล่าวคือ จะได้รับยกเว้นภาษีเฉพาะกรณีเป็นเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกที่ตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา หรือการปกครองท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะและยกเว้นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาให้เฉพาะเงินได้พึงประเมินในส่วนที่ไม่เกิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้นเท่านั้น ทั้งนี้กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2(17) หรืออาจกล่าวได้ว่า การขายทรัพย์มรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์แทบจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เลยก็ได้ เพราะเงื่อนไขในการยกเว้นภาษีเงินได้พึงประเมินในกรณีนี้ได้ถูกกำหนดไว้ค่อนข้างมากนั่นเอง

     ในเรื่องภาษีธุรกิจเฉพาะ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาทางมรดกจะได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 342) 

 

การจัดเก็บภาษีมรดกเพื่อลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนในประเทศไทย แม้ว่าจะได้มีการผลักดันกันมาหลายยุคหลายสมัย แต่ก็ไม่สามารถฝ่าแรงต้านออกมาเป็นกฎหมายได้เลย แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว เพราะหากมีความประสงค์ที่จะผลักดันให้เกิดการจัดเก็บภาษีมรดกให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนแล้วก็ไม่ควรคำนึงถึงจำนวนเงินภาษีที่จะเก็บได้เพราะคาดการณ์ได้ว่าคงจะเก็บได้เป็นจำนวนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับภาษีประเภทอื่น ทั้งยังควรจะต้องทำความเข้าใจกับประชาชนให้ชัดเจนว่าทำไมจึงต้องเก็บภาษีมรดก เพื่อให้เกิดการยอมรับและสมัครใจที่จะเสียภาษีตามหลักการจัดเก็บภาษีที่ดี

อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยภาษีมรดกที่ใช้บังคับ แต่ผู้เขียน ขอสรุปเน้นส่งท้ายว่ายังมีประเด็นเกี่ยวกับการขายทรัพย์มรดกที่เป็นปัญหาภาษีที่ควรต้องระมัดระวังดังที่ ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างไว้ข้างต้น ซึ่งหากได้ปฏิบัติให้ถูกต้องแล้วก็จะทำให้ปัญหาเกี่ยวกับภาษีอากรในเรื่องทรัพย์มรดกไม่เป็นที่ขัดแย้งกันอีกต่อไป

ที่มา : สรรพากรสาส์น

 บรรณานุกรม
1. เพรียบ หุงตางกูร. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยมรดก พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2548  
2. อัมพร ณ ตะกั่วทุ่ง, คำอธิบาย มรดก ; สำนักพิมพ์นิติบรรณการ , กันยายน 2543




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT