ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว

 

 

    ธุรกิจการท่องเที่ยว หมายถึง การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัด หรือการให้บริการ หรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทาง ที่พัก อาหารและเครื่องดื่ม ทัศนาจร หรือการให้บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งธุรกิจนำเที่ยวอาจขายบริการแก่นักท่องเที่ยวโดยตรงได้ หรือขายผ่านตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยว และอาจดำเนินการโดยการนำเอาบริการอำนวยความสะดวกด้านยานพาหนะ ที่พัก อาหาร และทัศนาจรมารวมกันและขายในลักษณะเหมารวมที่เรียกว่า ทัวร์เหมารวม ธุรกิจนำเที่ยวดำเนินบทบาทที่แตกต่างจากธุรกิจอื่นในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยซื้อบริการอื่น ๆ มาประกอบกันเป็นการนำเที่ยวแบบเหมารวม เช่น โรงแรม บริษัทเดินรถ ภัตตาคาร กับลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว

 

   ผู้ประกอบการต้องมีความรอบคอบรู้ในปริมาณและคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ รวมทั้งประเภทของกิจการพักผ่อนหรือธุรกิจที่สามารถจัดให้ได้ โดยผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวบางแห่งอาจเป็นเจ้าของบริการอื่น ๆ เอง เพื่อความสะดวกในการดำเนินการ เช่น เป็นเจ้าของโรงแรม รีสอร์ท ภัตตาคาร รถโดยสาร เป็นต้น ธุรกิจนำเที่ยวขายส่ง เนื่องจากผู้ประกอบการนำเที่ยวจะซื้อบริการด้านต่าง ๆ จากผู้ผลิตเป็นจำนวนมาก เช่น ห้องพัก ตั๋วเข้าชมการแสดง หรือเช่าเหมารถโดยสาร อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการล้วนต้องมีการวางแผนและผลิตสินค้าเกี่ยวกับท่องเที่ยวที่ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักสำคัญ คือ ส่วนของการเดินทางไป–กลับจากจุดหมายปลายทาง เช่น ตั๋วเครื่องบิน และส่วนของการบริการที่เกิดขึ้นที่จุดหมายปลายทางหรือแหล่งท่องเที่ยว เช่น อาหาร ทัศนาจร ที่พักแรม เป็นต้น

    ธุรกิจการท่องเที่ยว อาจจำแนกประเภทตามลักษณะของการจัดบริการนำเที่ยว ได้แก่

   ธุรกิจนำเที่ยวภายในประเทศ หมายถึง การจัดนำนักท่องเที่ยวที่มีภูมิลำเนาในประเทศ เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวภายในประเทศนั้น ๆ เช่น การจัดนำนักท่องเที่ยวไทยในเมืองไทย

   ธุรกิจจัดนำเที่ยวนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศไปยังแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ (inbound tour operator) เช่น ชาวอังกฤษหรือชาวเยอรมันเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย ธุรกิจจัดนำเที่ยวภายในประเทศเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวต่างประเทศ เช่น คนไทยเดินทางไปเที่ยวฮ่องกงหรือสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้อาจจำแนกประเภทธุรกิจนำเที่ยวตามลักษณะและขอบเขตของการบริการ เช่น ธุรกิจนำเที่ยวที่เสนอบริการแบบเหมารวม เป็นธุรกิจจัดนำเที่ยวโดยรวมค่าบริการต่าง ๆ ในราคาแบบเบ็ดเสร็จ การนำเที่ยวมีกำหนดสถานที่ท่องเที่ยวและระยะเวลาที่แน่นอนและมักเดินทางเป็นกลุ่ม หรือธุรกิจนำเที่ยวที่เสนอบริการเฉพาะกลุ่ม ตามความต้องการหรือความสนใจของกลุ่ม ที่มักจะเป็นสมาชิกของสโมสร สมาคม หรือองค์การธุรกิจ เช่น การนำเที่ยวชมด้านศิลปวัฒนธรรม วัด ปราสาทราชวัง หรือด้านธรรมชาติ ดูนก เดินป่า ไต่เขา หรือด้านกีฬากอล์ฟ เป็นต้น หรือธุรกิจนำเที่ยวที่เสนอบริการอิสระ สำหรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศและในประเทศเฉพาะราย เป็นการจัดนำเที่ยวตามความต้องการของนักท่องเที่ยว เช่น การจัดที่พักแรม พาหนะ การรับ-ส่งที่สนามบินหรือสถานีขนส่ง อาหารบางมื้อ เป็นต้น หรือธุรกิจนำเที่ยวที่เสนอบริการลักษณะพิเศษ เป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิต เช่น โรงแรม ภัตตาคาร แหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ กับลูกค้าในการจัดนำเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล หรือประชุม นิทรรศการ หรือเป็นผู้จัดเดินทางท่องเที่ยวที่ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท หรือเป็นนายหน้าบริษัทรถโดยสาร

    การประกอบกิจการนำเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นกรณีรับบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศ หรือจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย รวมทั้งการให้บริการนำเที่ยวภายในประเทศ ไม่ว่าการบริการจัดนำเที่ยวนั้นจะได้จัดเป็นหมู่คณะหรือเป็นเอกเทศ การรับจัดนำเที่ยวดังกล่าวถือเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม มาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

โดยทั่วไป การให้บริการในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการในต่างประเทศ ดังเช่น กรณีบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศนั้น พึงได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 แต่ได้มีข้อกำหนดไว้เป็นพิเศษว่า กรณี  การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรแก่ผู้รับบริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ที่เป็นการให้บริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศนั้น ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ดังเช่นกรณีจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และการให้บริการนำเที่ยวภายในประเทศ


ค่าบริการนำเที่ยวที่คิดเป็นการเหมานั้น สำหรับกรณีรับบริการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศ ประกอบด้วยค่าบริการในการทำหนังสือเดินทางและจัดทำวีซ่า ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ค่าบริการนำเที่ยว รวมทั้งค่าโรงแรม ค่าอาหาร และค่าขนส่ง ณ ต่างประเทศ เป็นต้น

ค่าบริการนำเที่ยวที่คิดเป็นการเหมา สำหรับกรณีจัดบริการนำนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ประกอบด้วยค่าบริการท่องเที่ยวรวมทั้งค่าขนส่ง ค่าอาหาร ค่าบัตรผ่านประตู ค่ามัคคุเทศก์ ค่าโรงแรมและค่าอาหารที่โรงแรม ค่าตั๋วโดยสาร เครื่องบินภายในประเทศ เป็นต้น

ผู้ประกอบการต้องนำค่าบริการนำเที่ยวที่คิดเป็นการเหมาดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยค่าบริการใด ๆ ที่คิดเอาจากนักท่องเที่ยวทั้งหมดมาเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7%

  
กรณีค่าบริการนำเที่ยวมิได้คิดเป็นการเหมา มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๆ คือ

(1) ได้มีการตกลงกับนักท่องเที่ยวโดย ขอคิดสินจ้างเฉพาะค่านำเที่ยวและค่าบริการเท่านั้น ส่วนค่าใช้จ่ายที่นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากสินจ้างดังกล่าว เช่น ค่าโรงแรม ค่าตั๋วโดยสารเครื่องบิน ค่าอาหารในโรงแรม ซึ่งผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวจ่ายทดรองให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนไปก่อน โดยจ่ายไปจริงเท่าใดก็จะเรียกเก็บคืนจากนักท่องเที่ยวเท่านั้น (cost plus) และ

(2) กรณีที่มีส่วนลดใด ๆ จากผู้รับ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็จะคืนส่วนลดนั้นให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งหมดโดยตนเองจะไม่รับเก็บไว้เป็นรายได้ของตน และ

(3) ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้มีหลักฐานพิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้งปราศจากข้อสงสัยว่าได้มีการปฏิบัติเช่นนั้นจริง

เช่นนี้ ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวมีสิทธินำเฉพาะสินจ้างที่เป็นค่านำเที่ยวและค่าบริการมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% สำหรับค่าใช้จ่ายอื่นที่นักท่องเที่ยวต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสินจ้าง ซึ่งผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวได้เรียกเก็บจากนักท่องเที่ยวตามจำนวนที่ทดรองจ่ายไปจริง ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

อนึ่ง การให้บริการรับจัดนำเที่ยวดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ หากผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าสินจ้างที่เป็นค่านำเที่ยวและค่าบริการที่ผู้ประกอบการที่รับจัดนำเที่ยวเรียกเก็บ

ที่มา : คอลัมภ์มุมภาษี หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  วันที่ 9 และ 16 กรกฎาคม 2556




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT