บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับกิจการตัวแทนประกันชีวิต และนายหน้าประกันชีวิต ไว้นานแล้วตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 115/2545 ลงวันที่ 17 กันยายน 2545 จึงเห็นควรนำมาปัดฝุ่นทบทวนในส่วนที่เป็นปัญหาทางภาษีอากรของกิจการดังกล่าว โดยนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้ ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับคำว่า “บริษัทประกันชีวิต” “ตัวแทน” “นายหน้า” “หัวหน้าตัวแทน” และคำว่า “ค่าตอบแทน” ไว้อย่างไร วิสัชนา ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.115/2545 ได้กำหนดนิยามศัพท์ของแต่ละคำดังกล่าวไว้ดังนี้ 1. คำว่า “บริษัทประกันชีวิต” หมายความว่า บริษัทประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต (ซึ่งในปัจจุบันมีข้อกำหนดให้แยกต่างหากจากกิจการประกันวินาศภัยโดยเด็ดขาดแล้ว) 2. คำว่า “ตัวแทน” หมายความว่า ตัวแทนประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และให้หมายความรวมถึงบุคคลซึ่งทำหน้าที่งานลักษณะทำนองเดียวกับตัวแทนประกันชีวิตให้แก่บุคคลใดๆ 3. คำว่า “นายหน้า” หมายความว่า นายหน้าประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และหมายความรวมถึงบุคคลที่ทำหน้าที่งานลักษณะทำนองเดียวกับนายหน้าประกันชีวิตให้แก่บุคคลใดๆ 4. คำว่า “หัวหน้าตัวแทน” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีข้อตกลงหรือข้อผูกพันกับบริษัทประกันชีวิตให้ทำหน้าที่ในฐานะผู้นำกลุ่มซึ่งมีหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา หรือด้วยประการอื่นใด แก่ตัวแทนที่อยู่ในกลุ่มหรืออยู่ในทีมหรือในลักษณะทำนองเดียวกับกลุ่ม หรือทีม ไม่ว่าจะเรียกว่าเป็นผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าเขต หรือหัวหน้าภาค หรือเรียกเป็นอย่างอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน โดยจะได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทประกันชีวิต 5. คำว่า “ค่าตอบแทน” หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ อย่างอื่นที่คำนวณได้เป็นเงิน รวมทั้งค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเรียกว่าเป็นค่าบำเหน็จ ค่าธรรมเนียม ส่วนลด รางวัล โบนัส หรือเรียกเป็นอย่างอื่นที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนได้รับเนื่องจากการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน ปุจฉา ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้า หรือหัวหน้าตัวแทนได้รับถือเป็นเงินได้ประเภทใด วิสัชนา โดยทั่วไป ค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน ได้รับจากบริษัทประกันชีวิตหรือบุคคลใดๆ เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินจากการรับทำงานให้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ตาม ค่าตอบแทนที่ตัวแทน หรือนายหน้า หรือหัวหน้าตัวแทนได้รับอาจถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรได้ หากตัวแทน หรือนายหน้า หรือหัวหน้าตัวแทนมีหลักฐานในการประกอบกิจการให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า ได้ประกอบกิจการในรูปแบบของการทำธุรกิจและสามารถพิสูจน์รายจ่ายในการประกอบกิจการได้ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการดังนี้ (1) ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและ ซึ่งจะมีผลทำให้ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทน ต้องคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร โดยให้นำมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี มาใช้บังคับโดยอนุโลม (ค่าใช้จ่ายจริง) จะหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาดังเช่นเงินได้ตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้อีกต่อไป ปุจฉา กรณีตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนได้รับประโยชน์จากการที่บริษัทประกันชีวิตได้ให้ไปท่องเที่ยวในต่างประเทศหรือไปสัมมนาที่ต่างประเทศ ต้องถือรวมเป็นเงินได้ค่าตอบแทนหรือไม่ วิสัชนา กรณีดังกล่าว ให้นำมูลค่าของประโยชน์ที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนได้รับจากการไปท่องเที่ยวหรือสัมมนาในต่างประเทศดังกล่าว ถือเป็นค่าตอบแทนที่ตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนได้รับจากบริษัทประกันชีวิตที่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีด้วย ปุจฉา กรณีบริษัทประกันชีวิตมีนโยบายให้รางวัลแก่ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันชีวิตหรือหัวหน้าตัวแทน ที่ทำผลงานได้ดีเด่น หรือทำรายได้ได้ตามเป้า ตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทประกันชีวิตกำหนดไว้ โดยให้รางวัลเป็นเงินหรือทรัพย์สิน ต้องถือรวมเป็นเงินได้ค่าตอบแทนหรือไม่ วิสัชนา รางวัลดังกล่าวย่อมถือเป็นค่าตอบแทนของตัวแทนหรือนายหน้าหรือหัวหน้าตัวแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันชีวิต ซึ่งต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีด้วยเช่นกัน
ที่มา : MSN ไทย คอลัมภ์ :การเงินการธนาคาร Last update : 6/3/2010 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |