ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ปัญหาคณะบุคคล

 

         ในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา ประชาชนทั่วไปอาจจะได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของหน่วยภาษีคณะบุคคลไม่มากก็น้อย ซึ่งแน่นอนว่า การจัดการกับช่องโหว่ในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีมาโดยตลอด อาจส่งผลกระทบต่อบุคคลธรรมดาผู้จัดตั้งคณะบุคคลหรือกำลังจะจัดตั้งคณะบุคคล ดังนั้นความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้เสียภาษีจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งในฐานะหน้าที่ของพลเมืองที่ดี

   "คณะบุคคล" คือ บุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันเหมือนห้างหุ้นส่วนสามัญ แต่ไม่มีวัตถุประสงค์ ที่จะแบ่งปันกำไรอันพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น คำว่า คณะบุคคล เมื่อพิจารณาในทางกฎหมายแล้ว ไม่ปรากฎอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ปรากฎอยู่เฉพาะในประมวลรัษฎากรซึ่งได้กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะ บุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เป็นหน่วยภาษีประเภทหนึ่ง โดยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเกิดจากกลไกของกฎหมายเทคนิคในระบบกฎหมายภาษีอากรที่มุ่งประสงค์จะแก้ไขปัญหา ในขณะนั้น จากเดิมที่หน่วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีเฉพาะบุคคลธรรมดา ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 ได้มีแก้ไขเพิ่มเติมหน่วยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ให้รวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ด้วยเจตจำนงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการไม่แบ่งปันผลกำไรของหน่วยธุรกิจ หรือห้างหุ้นส่วนสามัญกลับไปยังหน่วยภาษีสุดท้ายหรือบุคคลธรรมดา และป้องกันปัญหาการจัดเก็บภาษีจากเงินได้ซ้อนกันหรือภาษีซ้อนเชิงเศรษฐศาสตร์ (Economics Double Taxation) ไปพร้อมกัน

   จากประวัติศาสตร์ที่กล่าวมา ทำให้คณะบุคคลเป็นหน่วยภาษีประเภทหนึ่งในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งแต่ละหน่วยภาษีหรือแต่ละคณะบุคคลสามารถเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้าตามตารางท้ายประมวลรัษฎากร หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อนของบุคคลได้คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันไม่เกิน 60,000 บาท

   ซึ่งต่อมาการจัดตั้งคณะบุคคลเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุที่การจัดตั้งนั้นมีความง่ายและสะดวกโดยปราศจากการจดทะเบียน นอกจากการจดทะเบียนทางภาษี และมีผลทำให้เกิดหน่วยภาษีแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา ซึ่งทำให้ผู้มีเงินได้จำนวนหนึ่งใช้เป็นช่องทางในการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยรวมให้ลดลงผ่านการจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อกระจายฐานเงินได้ให้เสียภาษีเป็นจำนวนหลายหน่วยภาษีซึ่งได้ประโยชน์จากอัตราภาษีที่ลดลงจากการแตกหน่วยภาษี และสามารถหักค่าใช้จ่ายและค่า ลดหย่อนได้ใหม่อีกครั้

   ทั้งนี้ การวางแผนภาษีโดยการจัดตั้งคณะบุคคลเป็นช่องโหว่ของระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาโดยตลอด จนเสมือนหนึ่งเป็นที่เข้าใจกันอย่างไม่ถูกต้องว่า การจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อกระจายฐานภาษีนั้นเป็นการวางแผนภาษีสิ่งที่ถูกต้อง และทำได้ในทุกกรณีจากการตรวจสอบก่อนที่กรมสรรพากร จะมีมาตรการเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีแจ้งยกเลิกคณะบุคคลหรือคัดกรองคณะบุคคลนั้น พบว่าในปี พ.ศ. 2552 มีการจดทะเบียนจัดตั้งคณะบุคคลกว่าสามหมื่นกว่าคณะบุคคล ที่น่าตกใจไปกว่านั้นพบว่า มีการแสวงประโยชน์ผ่านการจัดตั้งคณะบุคคลโดยปราศจากการเข้าหุ้นกัน ปราศจากผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน และปราศจากการร่วมกันทำกิจการกันจริง

   ตัวอย่างเช่น

  (1) รายได้จากวิชาชีพซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะทาง กลับมีการจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อรองรับรายได้ดังกล่าว โดยที่บุคคล ผู้ร่วมเป็นคณะบุคคลนั้นไม่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือไม่มีบทบาทหรือความเท่าเทียมกันในรายได้ที่เกิดแก่คณะบุคคล

  (2) การจัดตั้งคณะบุคคลเพื่อผ่องถ่ายกำไรหรือกำหนดราคาโอนจากนิติบุคคลที่มีกำไรสุทธิสูง ผ่านไปคณะบุคคลที่จัดตั้งขึ้น เพื่อบรรเทาภาระภาษีโดยรวมทั้งหมด

  (3) การจัดตั้งคณะบุคคลผ่านบุคคลธรรมดาในรูปแบบของการจับคู่ความน่าจะเป็นในคู่ที่แตกต่างกัน ทำให้บุคคลธรรมดาเพียงไม่กี่ราย ก็สามารถสร้างคณะบุคคลได้นับร้อยคณะบุคคลได้ เป็นอาทิ ตัวอย่างข้างต้นย่อมแสดงให้เห็นถึงความได้เปรียบของการเลือกการจัดตั้งคณะบุคคลโดยการจัดตั้งหน่วยภาษีใหม่โดยปราศจากสาระสำคัญทางเศรษฐกิจร่วมกัน ทำให้ผู้เสียภาษีที่ใช้ช่องว่างดังกล่าวสามารถเสียภาษีต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และขัดกับหลักการสำคัญทางภาษีประการสำคัญ นั่นคือ หลักความสามารถในการเสียภาษีของผู้เสียภาษี (Ability-to-Pay Principle) หรือหลักความเป็นธรรมในแนวดิ่ง (Vertical Equity) ที่จะเน้นถึงความสามารถในการรับภาระภาษีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและการจัดสรรเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากภาคเอกชนสู่รัฐอย่างเหมาะสม

   ปัญหาการจัดตั้งคณะบุคคลตามกรณี ข้างต้น ในบางมุมมองแม้ประชาชนบางส่วนอาจมองว่า ไม่มีผลกระทบต่อตน แต่หากมองในภาพรวมผ่านระบบการคลังสาธารณะ เป็นที่ประจักษ์ว่า ผลเสียหายดังกล่าวย่อมเกิดแก่รัฐและประชาชนโดยตรง การสร้างความเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีเป็นสิ่งสำคัญในการอำนวยรายได้เข้าสู่รัฐ แม้บางครั้งการจัดเก็บภาษีจะถูกมองในภาพลักษณ์เชิงลบ แต่ไม่อาจปฎิเสธความจริงของความต้องการใช้รายจ่ายสาธารณะเพื่อพัฒนาประเทศ หากรายจ่ายสาธารณะมีมากกว่ารายได้สาธารณะ นั่นย่อมหมายถึง หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น เป็นหนี้สาธารณะของประชาชนทุกคน ซึ่งอาจเป็นภาระต่อประเทศในอนาคต หรือเป็นภาระต่อลูกหลานตามทฤษฎีการคลังสาธารณะแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ การจัดเก็บภาษีตามความสามารถในการเสียภาษีของบุคคลอย่างเหมาะสม ทำให้ไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกันย่อมทำให้เกิดความสมัครใจ ในการเสียภาษีมากขึ้น

   เหตุผลดังที่กล่าวมาแล้ว ทำให้กรมสรรพากรในฐานะหน่วยงานผู้มีอำนาจทางภาษี มีความจำเป็นต้องรักษาผลประโยชน์สาธารณะ โดยผ่านมาตรการเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีแจ้งยกเลิกคณะบุคคลหรือแจ้งข้อมูลผู้เสียภาษีประเภทคณะบุคคลเพื่อคัดกรองคณะบุคคลด้วยความสมัครใจซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว ในปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนคณะบุคคลของกรมสรรพากรบ่งชี้ว่า จำนวนของคณะบุคคลที่จดทะเบียนกับกรมสรรพากรลดลงไปกว่าหนึ่งหมื่นราย แสดงให้เห็นว่า การดำเนินการมาตรการเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีแจ้งยกเลิกคณะบุคคลหรือคัดกรองคณะบุคคลนั้น ส่งผลให้บุคคลผู้มีความประสงค์จะยกเลิกคณะบุคคลอยู่แล้ว ได้มีโอกาสได้ยกเลิกคณะบุคคล หรืออาจส่งผลต่อบุคคลบางกลุ่มซึ่งไม่อาจใช้ประโยชน์จากการจัดตั้งคณะบุคคลได้อีกต่อไป ซึ่งย่อมจะมีเสียงคัดค้านเป็นธรรมดา แต่มาตรการของกรมสรรพากรนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อคณะบุคคล ที่จัดตั้งโดยสุจริต ในทางตรงกันข้ามกลับส่งเสริมให้ระบบภาษีเงินได้เกิดความเป็นธรรมขึ้น ผู้เสียภาษีรู้สึกสมัครใจในการเสียภาษีมากขึ้น และอำนวยรายได้เข้าสู่รัฐมากขึ้น ซึ่งนั่นหมายถึง ส่วนแบ่งที่เป็นธรรมซึ่งประชาชนและรัฐควร ได้รับนั่นเอง

 

     "หัวหมอ" เลี่ยงภาษีเพียบ

   สรรพากรสั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา

   ภาษีคณะบุคคล (1)และ(2)

   ภาษีคณะบุคคล (3),(4)และ (5)

   คณะบุคคล...อีกหน่วยภาษี ที่ไม่ควรมองข้าม

  ที่มา : สรรพากรสาส์น  เดือน ตุลาคม 2553




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT