ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร

 

 

   การกำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชย ("Severance Pay") ให้แก่ลูกจ้างเกิดจากแนวความคิดพื้นฐานที่ต้องการให้ลูกจ้างได้รับความช่วยเหลือหลังจากที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง ซึ่งการเลิกจ้างนั้นมิได้เกิดจากความผิดของลูกจ้าง โดยให้ลูกจ้างมีเงินจำนวนหนึ่งสำหรับ ใช้จ่ายในระหว่างที่ว่างงาน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ในขณะนี้ คือลูกจ้างบางคนที่ต้องออกจากงานอาจไม่ทราบว่าตนมีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากนายจ้าง หรือหากทราบ แต่ก็ไม่ทราบว่าแท้ที่จริงแล้วอาจจะมีแนวทางประหยัดภาษีสำหรับเงินค่าชดเชยที่ได้รับจากนายจ้างได้ด้วย ผู้เขียนจึงขอนำเสนอบทความที่เกี่ยวข้องดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยในส่วนแรก จะขอสรุปหลักถึงประเด็นข้อกฎหมายต่างๆ ที่นายจ้างและลูกจ้างพึงนำมาพิจารณาเพื่อปกป้องสิทธิของตนเมื่อมีการเลิกจ้างเกิดขึ้น และในส่วนที่สอง จะเป็นการวิเคราะห์และสรุปถึงแนวทางการคำนวณภาระภาษีให้แก่ลูกจ้างสำหรับเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้าง ทั้งนี้ ได้สรุปสิทธิประโยชน์ทางภาษีของลูกจ้างรวมทั้งแนวคำวินิจฉัยของกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องไว้ตอนท้าย

ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการจ่ายเงินค่าชดเชยสำหรับลูกจ้างที่เป็นคนไทย ตลอดจนคนต่างชาติซึ่งเข้ามาทำงานให้กับนายจ้างในประเทศไทยว่า ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหาก

  (1) ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยมิได้กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนด และ

  (2) ลูกจ้างถูกเลิกจ้างหลังจากที่ทำงานกับนายจ้างมาแล้วอย่างน้อยครบ 120 วัน

 ฉะนั้น ในกรณีที่ลูกจ้างลาออกจากงานเอง ก็ไม่ถือว่า เป็นกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแม้ว่าจะทำงานให้กับนายจ้างเป็นระยะเวลานานเท่าใดก็ตาม

อัตราค่าชดเชย

นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในจำนวนที่ไม่น้อยกว่าอัตราค่าชดเชยขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งปัจจุบันนั้ขึ้นอยู่กับอายุงานของลูกจ้าง ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

  1.ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
  2.ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
  3.ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
  4.ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
  5.ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

จากรายการข้างต้น จะเห็นได้ว่าระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างเป็นตัวกำหนดว่า

 (1) ลูกจ้าง มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างหรือไม่ และ

 (2) ลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างเป็นจำนวนมากหรือน้อยเพียงใดด้วย

ฉะนั้น ประเด็นสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาเป็นลำดับแรกคือเรื่องของการนับระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ซึ่งการนับระยะเวลาการทำงานจะต้องพิจารณาว่า ลูกจ้างจะเริ่มนับระยะเวลาการทำ งานของตนได้ตั้งแต่เมื่อใดและถูกเลิกจ้างเมื่อใด

ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ลูกจ้างสามารถเริ่มนับระยะเวลาการทำงานได้นับตั้งแต่วันแรกที่ลูกจ้างเริ่มเข้าทำงานให้กับนายจ้าง หากลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้างครบ 120 วันแล้วและถูกเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนด ลูกจ้างย่อมมีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างแม้ว่าลูกจ้างรายนั้น จะอยู่ในระหว่างทดลองงานก็ตาม นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างและจะนำเหตุว่าลูกจ้างอยู่ในระหว่างทดลองงานมาปฏิเสธการจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างไม่ได้ โดยสรุปลูกจ้างทดลองงานก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเช่นเดียวกับลูกจ้างทั่วไป

นอกจากนี้ หลังจากที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในปี 2551 แล้ว ท่านจะเห็นได้ว่าลูกจ้างทดลองงานจะมีสถานะทางกฎหมายไม่แตกต่างจากลูกจ้างทั่วไปแต่ประการใด ยกตัวอย่างเช่น หากมีการเลิกจ้างลูกจ้างทดลองงาน นายจ้างจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างทดลองงานหรือจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างทดลองงานด้วย

ทั้งนี้ ในกรณีที่นายจ้างไม่ต้องการจ้างลูกจ้างทดลองงานและไม่ต้องการจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างทดลองงานอีกต่อไป นายจ้างสามารถทำได้อยู่ในทางปฏิบัติโดยการกำหนดระยะเวลาทดลองงานไม่เกิน 119 วัน
นอกจากนี้ หากมีข้อเท็จจริงปรากฎว่า นายจ้างจ้างลูกจ้างโดยตกลงแบ่งทำสัญญาจ้างเป็นช่วงๆต่อเนื่องกันเพื่อจะหลีกเลี่ยงว่า ลูกจ้างไม่ได้ทำงานติดต่อกัน ในกรณีเช่นนี้ หากลูกจ้างทำงานในลักษณะเดียวกันในทุกช่วงเวลา ก็ต้องนับระยะเวลาการทำงานทุกช่วงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการได้สิทธิของลูกจ้างในเรื่องค่าชดเชยด้วย


ค่าจ้างอัตราสุดท้าย

โดยหลักการ นายจ้างนำเฉพาะค่าจ้างหรือเงินเดือนในอัตราสุดท้ายที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างมาเป็นฐานในการกำหนดจำนวนค่าชดเชยซึ่งนายจ้างจะต้องชำระให้แก่ลูกจ้าง ฉะนั้น นายจ้างและลูกจ้างพึงต้องคำนึงถึงค่าจ้างอัตราสุดท้ายให้มากเพราะอัตราค่าจ้างดังกล่าวจะใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย

ในบางกรณี ในขณะเจรจาตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานนั้น นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างด้วยวาจาว่า นายจ้างมีนโยบายจ่ายเงินเดือนให้กับลูกจ้างเป็นจำนวนไม่มาก แต่จะเสนอเงินโบนัส (แบบไม่มีกำหนดตายตัว) ให้แก่ลูกจ้างแทนในตอนปลายปี ในกรณีที่มีการตกลงกัน ดังกล่าว หากต่อมานายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง จำนวนค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นก็จะต้องคำนวณโดยใช้เงินเดือนเดือนสุดท้ายที่ลูกจ้างได้รับจากนายจ้างเป็นพื้นฐานในการคำนวณ โดยไม่รวมถึงเงินโบนัสที่นายจ้างตกลงว่าจะจ่ายให้ลูกจ้าง ทั้งนี้ เนื่องจากเงินโบนัสไม่ใช่ค่าจ้างและเป็นดุลพินิจของนายจ้างซึ่งจะจ่ายหรือไม่จ่ายก็ได้ หรือจ่ายมากน้อยเท่าใดก็ได้ ดังนั้นหากนายจ้างไม่จ่ายโบนัสให้แก่ลูกจ้าง หรือจ่ายน้อยกว่าตามที่ได้ตกลงกันด้วยวาจา หรือนายจ้างมิได้นำเงินโบนัสมาเป็นฐานในการคำนวณเงินชดเชย ลูกจ้างจึงไม่สามารถเรียกร้องเงินโบนัสต่อนายจ้างได้แต่อย่างใด

นอกจากนี้ ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตในเรื่องเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างว่า ตามกฎหมายแรงงานนั้น ค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง (ฎ. 1427/2533และ ฎ. 7210/2546) เมื่อนายจ้างได้เลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องนำค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนลูกจ้างไปรวมกับเงินเดือนซึ่งเป็นค่าจ้างเพื่อเป็นฐานในการคำนวณเป็นค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง แต่ตามกฎหมายภาษีอากรของประเทศไทย หากนายจ้างออกค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้าง (ลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้ด้วยตนเอง) ในกรณีเช่นนี้ เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ลูกจ้างจึงต้องนำค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนไปรวมกับเงินเดือนลูกจ้างได้รับเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

ในทางปฏิบัติ หากมีข้อตกลงเรื่องการให้นายจ้างออกค่าภาษีเงินได้แทนลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน เพื่อหลีกเลี่ยงข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต นายจ้างลูกจ้างควรตกลงร่วมกันให้ชัดเจนว่า นายจ้างจะออกภาษีทอดแรกให้ลูกจ้างเพียงทอดเดียว หรือนายจ้างจะออกภาษีให้แก่ลูกจ้างทุกทอด

ทั้งนี้ ในกรณีที่นายจ้างออกค่าเช่าบ้าน หรือค่าน้ำมันรถให้แก่ลูกจ้าง หลักเบื้องต้น ในการพิจารณาว่าค่าตอบแทนพิเศษเหล่านี้จะ ถือเป็นค่าจ้างหรือไม่ นั้น จะต้องพิจารณาว่า ค่าตอบแทนดังกล่าวจ่ายให้กับลูกจ้างตามที่ลูกจ้างได้จ่ายไปจริงโดยแสดงใบเสร็จรับเงิน หรือไม่ ถ้าเป็นกรณีเช่นนี้ ค่าตอบแทนดังกล่าว จะไม่ถือเป็นค่าจ้างเพราะไม่ใช้เป็นกรณีที่นายจ้างจ่ายเพื่อเข้ากระเป๋าของลูกจ้าง (ฎ. 2601/2526) ในทางกลับกัน หากนายจ้างจ่ายค่าตอบแทนพิเศษในลักษณะเป็นเงินจำนวนเฉพาะเจาะจงแน่นอนทุกเดือนโดยไม่ต้องใช้ใบเสร็จรับเงินประกอบ ค่าตอบแทนดังกล่าว จะถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และจะต้องนำไปรวมกับเงินเดือนซึ่งเป็นค่าจ้างเพื่อเป็นคำนวณเป็นค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง (ฎ. 178/2528)3

อายุความฟ้องเรียกค่าชดเชย

เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเฉพาะซึ่งกำหนดในเรื่องอายุความเรียกค่าชดเชย ลูกจ้างจึงอาจฟ้องเรียกค่าชดเชยได้ภายในอายุความ 10 ปี (ฎ. 1121/2524, ฎ. 2859/2525)

ข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยและการให้เหตุผลในการเลิกจ้าง

ตามมาตรา 119 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดเหตุ ที่นายจ้างสามารถนำมาอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างไว้หลายกรณี เช่น

 - ในกรณี ที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร

 - หรือในกรณีที่เป็นลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างเริ่มต้น และสิ้นสุดการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้าง เลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น

ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เป็นการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง และงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลา 2 ปี ในรายละเอียด ขอให้พิจารณาในมาตรา 118 วรรคสุดท้ายแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่า การจ้างแรงงานที่มีกำหนดเวลาซึ่งนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ต้องเป็นงานที่ไม่ใช่งานปกติในธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง แต่ในกรณีที่เป็นงานที่ลูกจ้างทำเป็นงานปกติ ในธุรกิจในทางการค้าของนายจ้าง ย่อมไม่เข้า ข้อยกเว้น นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง (ฎ.4026/2548)

นอกจากนี้ ถึงแม้ว่า มาตรา 119 ของ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จะกำหนดเหตุที่นายจ้างสามารถนำมาอ้าง เพื่อ ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างไว้หลายกรณี แต่หากนายจ้างจะนำมาใช้เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง นายจ้างจะต้องระบุเหตุผลในการเลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้างด้วย ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างในภายหลังเพื่อที่จะปฏิเสธที่จะจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างไม่ได้


หลักกฎหมายภาษีอากรในเรื่องค่าชดเชย

ในลำดับถัดไป ผู้เขียนจะขอนำเสนอถึงช่องทางที่ลูกจ้างควรที่จะนำมาพิจารณาเพื่อประหยัดภาษีเงินได้ของลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างได้รับเงินค่าชดเชยจากนายจ้าง ทั้งนี้ ก่อนที่ผู้เขียนจะนำเสนอถึงวิธีการที่ลูกจ้างพึงนำมาพิจารณาเพื่อประกอบการวางแผนภาษีอากรของลูกจ้าง ผู้เขียนมีความเห็นว่าลูกจ้างควรที่จะต้องทราบถึงหลักกฎหมายภาษีพื้นฐานเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและข้อยกเว้นที่เกี่ยวข้องกับลูกจ้างก่อน

หลักกฎหมายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้เป็นลูกจ้างนั้นมีหลักการสำคัญว่าเมื่อลูกจ้างได้รับเงินได้ หรือผลประโยชน์อื่นใดซึ่งมีมูลค่าและถือเอาได้ จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้เสมอ เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายมากำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ เช่น ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยจากนายจ้างเป็นต้น

ในเรื่องค่าชดเชยนั้น กฎหมายภาษีได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างและนายจ้างได้จ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง ลูกจ้างจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินค่าชดเชยที่นายจ้างจ่ายให้ แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินเงินเดือน 300 วันสุดท้ายและต้องไม่เกิน 300,000 บาท หากเกิน ลูกจ้างก็จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เพียงแต่ส่วนที่ไม่เกินเท่านั้น ทั้งนี้เมื่อลูกจ้างทราบข้อยกเว้นดังกล่าว ลูกจ้างย่อมนำมาใช้เป็นแนวทางในการคำนวณภาระภาษีเงินได้ของตนได้ เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ เสียภาษีเงินได้โดยประหยัดและโดยถูกต้องตามกฎหมาย

กรณีศึกษา

ในกรณีที่นายจ้างไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้างแต่ลูกจ้างสมัครใจลาออกจากงานเอง โดยนายจ้างใจดี ยอมจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่ง หรือในกรณีนายจ้างมีนโยบายลดค่าใช้จ่ายและประสงค์จะเลิกจ้างแต่เพื่อไม่ให้เกิดความกดดันกับลูกจ้างส่วนใหญ่ จึงใช้วิธีเสนอผลประโยชน์ให้ลูกจ้าง ลาออก ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างไม่สมัครใจลาออกตั้งแต่แรกแต่ด้วยการตัดสินใจในสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นลูกจ้าง โดยได้รับผลประโยชน์มากกว่าที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด การจ่ายค่าชดเชยในกรณีเหล่านี้ นายจ้างและลูกจ้างมักจะเข้าใจว่า ลูกจ้างจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในเงินช่วยเหลือที่ได้รับจากนายจ้างเช่นเดียวกับกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างและจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้เขียนมักจะถูกถามความเห็นค่อนข้างบ่อย จึงมีความเห็นว่า น่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านอยู่บ้าง


ความเห็นของผู้เขียน

เนื่องจากกรมสรรพากรมีคำวินิจฉัยว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่ได้เลิกจ้างลูกจ้างแต่ลูกจ้างสมัครใจลาออกจากงานเอง กรณีดังกล่าวไม่ใช่การเลิกจ้าง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างจึงไม่ใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ฉะนั้น ในกรณีที่ลูกจ้างสมัครใจลาออกจากงาน ไม่ว่าการลาออกจะมีเหตุจูงใจมาจากลูกจ้างเองตั้งแต่ต้น หรือจากนโยบายของนายจ้างที่ต้องการลดพนักงาน ลูกจ้างก็ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เทียบเคียงกับหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0811 / 02176 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2542 และ กค 0811/02176 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2546

  ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

  กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้

  กฎหมายแรงงาน

ที่มา : สรรพากรสาส์น




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT