บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ขอเตือน!!รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ...
โดยปกติกฎหมายกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีไว้ 12 เดือน ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร การนับ 12 เดือน ต้องนับเต็ม 12 เดือน เช่น วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2552 – 14 กุมภาพันธ์ 2553 หรือ 1 มีนาคม 2553 – 28 กุมภาพันธ์ 2554 แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายก็กำหนดให้ในบางกรณีต่อไปนี้ ที่รอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน หรืออาจจะมากกว่า 12 เดือน ก็ได้ (1) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรกก็ได้ (มาตรา 65 (ก)) อย่างไรก็ดีกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีแรกจะกำหนดเวลาเกินกว่ารอบระยะเวลาบัญชีปกติ (12) เดือนไม่ได้ ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า ถ้าบริษัทฯ กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีแรกไม่ถึง 12 เดือน บริษัทฯ ก็ไม่ได้ถูกบังคับให้ยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล งวด 6 เดือนแรก (ภ.ง.ด.51) แต่อย่างใด ตามมาตรา 67 ตรี แต่ถ้าบริษัทฯ ไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ก็มีผลเท่ากับว่ายื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51 )โดยไม่มีหน้าที่ต้องยื่น หากประมาณการกำไรสุทธิในขณะยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ขาดเกินไปร้อยละ 25 ก็ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มแต่อย่างใด (2) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (มาตรา 65 (ข)) บริษัทฯ ที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามรอบระยะเวลาบัญชีปกติแล้วต่อมาหากประสงค์จะขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็สามารถกระทำได้โดยยื่นคำขออนุญาตต่ออธิบดีกรมสรรพากร เมื่ออธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตก็เปลี่ยนได้ ถ้าอธิบดีกรมสรรพากรอนุญาตให้เปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทฯ จะต้องถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีทีอธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้เปลี่ยนได้ ตัวอย่าง บริษัท ข. จำกัด มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ต่อมาประสงค์จะขอเปลี่ยนรอบระยะเวลาบัญชีเป็นวันที่ 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคม บริษัทท ข.จำกัด อาจยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มจาก 1 เมษายน ถึง วันที่ 31 ธันวาคม ในปีเดียวกันก็ได้ รอบระยะเวลาบัญชีในปีที่ขอเปลี่ยนแปลงจะเหลือเพียง 9 เดือนเท่านั้น (3) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกิจการหรือควบเข้ากัน บริษัทฯ ที่เลิกกิจการหรือควบเข้ากัน รอบระยะเวลาบัญชีปีที่เลิกกิจการอาจไม่ถึง 12 เดือนก็ได้ และตามประมวลรัษฎากรให้ถือวันที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับจดทะเบียนเลิกหรือควบเข้ากันเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (มาตรา 72 วรรคสอง และมาตรา 73) ตัวอย่าง บริษัท ค. จำกัดมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่ม 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม บริษัทฯ เลิกกิจการในปี 2553 และวันที่ 31 ตุลาคม 2553 เป็นวันที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับจดทะเบียนเลิกกิจการ วันที่ตามกฎหมายถือเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่เลิก ฉะนั้นรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายที่เลิกกิจการ จึงมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2553 (10 เดือน) เท่านั้นไม่ถึง 12 เดือน มีข้อสังเกตว่า ในระหว่างชำระบัญชี บริษัทฯ ที่เลิกกิจการยังไม่สิ้นสภาพเป็นบริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และ 51 พร้อมงบการเงินต่อไปจนกว่าเสร็จสิ้นการชำระบัญชี โดยมีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มตั้งแต่วันถัดจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี (4) การขยายรอบระยะเวลาบัญชี กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกิจการโดยชำระบัญชี หากผู้ชำระบัญชีและผู้จัดการไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีภายในกำหนดเวลา 150 วัน นับแต่วันที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท รับจดทะเบียนเลิก ถ้าได้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก อธิบดีกรมสรรพากรอาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปอีกก็ได้ (มาตรา 72 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร) การที่กฎหมายกำหนดให้มีการขยายรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวออกไปได้ รอบระยะเวลาบัญชีที่ขยายนี้อาจจะยาวกว่า 12 เดือนก็ได้ ซึ่งเป็นเพียงกรณีเดียวที่รอบระยะเวลาบัญชีอาจจะมากกว่า 12 เดือน นอกจากรอบระยะเวลาบัญชีจะมีความเกี่ยวพันกับภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยตรงแล้ว ในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้นำรอบระยะเวลาบัญชีเป็นเกณฑ์ในการวัดรายได้ของผู้ประกอบการว่าอยู่ในเกณฑ์เป็นผู้ประกอบการายย่อยที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 432) พ.ศ.2548 ซึ่งกำหนดไว้ว่า มูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม (ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อไป คำว่า “ปี” ในกรณีที่ผู้ประกอบการเป็นนิติบุคคล ให้นับตามรอบระยะเวลาบัญชี เว้นแต่ในกรณีที่เริ่มประกอบการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เริ่มนับตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการถึงวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เห็นด้วยหรือไม่ว่า เรื่องของรอบระยะเวลาบัญชี ก็มีความหมายนะ...อย่ามองข้ามเชียว ที่มา : สรรพากรสาสน์ Plus ฉบับ เดือน กุมภาพันธ์ 2553 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |