บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ก็เลยมีคำถามปิ๊งขึ้นมาว่า เอ! ของแถมเหล่านี้ปั๊มน้ำมันต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ให้คำตอบกับตัวเองได้ว่า ไม่มี VAT ให้เสีย ก็เลยคิดถามต่อว่าเพราะอะไร เพื่อเป็นการเช็คความรู้เรื่องภาษีของตัวเองไปพลางๆ จริง ๆ แล้ว น้ำดื่มที่ทางปั๊มมีไว้เพื่อมอบเป็นของแถมให้ลูกค้านั้นก็คือ “สินค้า” ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(9)แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากทรัพย์สินอะไรก็ตามที่มีไว้เพื่อการใดๆ ก็เป็น “สินค้า” ทั้งสิ้น และการแจกสินค้าก็ถือเป็นการ "ขาย" สินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น การแถมสินค้าจึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่...ทุกอย่างมี ข้อยกเว้น ได้ถ้ารู้เคล็ดลับที่จะบอกต่อไปนี้ ถ้าหากผู้ขายสินค้าต้องการที่จะส่งเสริมการขายโดยการแถมสินค้าที่ไม่ต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ทำได้ตามหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. ให้แถมสินค้าที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามาตรา 81(1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น หนังสือ หรือพืชผลทางเกษตร เช่น ข้าวสาร เนื้อสัตว์ ไข่ไก่สด เป็นต้น 2. ให้แถมสินค้าพร้อมกับการขายสินค้าหรือการให้บริการ โดยมูลค่าสินค้าที่แถมต้องไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทหรือชนิดเดียวกันหรือไม่ การแถมสินค้าเช่นนี้ก็จะมีผลทำให้ไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าที่แถมมารวมคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 2(1)ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับการภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 40) ฯ ซึ่งทำให้ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น การแถมน้ำดื่มพร้อมกับการขายน้ำมันจึงไม่ต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่มตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวในข้อ 2. ปั๊มจึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับน้ำดื่มที่แถมแต่ก็คิดปัญหาต่อเนื่องไปได้อีกว่า แล้วใบกำกับภาษีสำหรับสินค้าที่แถมล่ะ จะออกยังไง ??? ในทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ได้แนะนำว่าถ้าผู้ขายสินค้าออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปก็ต้องระบุสินค้าที่แถมไว้ในใบกำกับภาษีด้วย ตาม ข้อ 13 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542ฯ เพื่อเป็นหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าเป็นการแถมสินค้าพร้อมกับการขายสินค้า แต่ถ้าผู้ขายสินค้ามีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ก็ไม่ต้องระบุของแถมในใบกำกับภาษี ยกตัวอย่างกรณีปั๊มน้ำมันที่ขอเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่ายโดยมีสิทธิไม่จำต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้เติมน้ำมันที่ไม่เกิน 1,000 บาท ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 54) ฯ เมื่อแถมสินค้าในกรณีนี้จึงไม่ต้องระบุรายการของแถมเพราะไม่ได้ออกใบกำกับภาษีนั่นเอง... ที่มา : สรรพากรสาส์น Plus ปีที่ 2 ฉบับที่ 10 เดือนมีนาคม 2553 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |