บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 0-2019-4656 , 0-2023-7182 , 084-1568284, 092-4634120, 098-2529544, Fax 0-2019-4659
Website :https://www.pattanakit.net / Email : pat@pattanakit.net
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ไม่ใช่แค่สะกดต่างกันเท่านั้น (นะ) หลักเกณฑ์การเสียภาษีที่สร้างความงุนงงปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับผู้ที่จ่ายเงินเรื่องหนึ่งก็คือ รถเช่า กับ รถขนส่ง ก็เพราะถ้าผู้จ่ายเงินเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เวลาจ่ายค่าเช่าต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 (ข้อ 6 คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528ฯ) แต่หากจ่ายค่าขนส่งจะหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 (ข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528ฯ) และค่าขนส่งยังได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (มาตรา 81 (1) (ณ) แห่งประมวลรัษฎากร) อีกต่างหาก ส่วนค่าเช่ารถยนต์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามหลักเกณฑ์ทั่วไปไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นเมื่อถูกเรียกเก็บค่าเช่ารถ ถ้าผู้ให้เช่ารถเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนด้วยแล้วก็จะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากค่าเช่าอีก
จะเห็นได้ว่าภาระภาษีสำหรับค่าขนส่งกับค่าเช่ารถต่างกันค่อนข้างมากทำให้มีปัญหาเวลาจ่ายเงินเกี่ยวกับรถยนต์ที่ได้รับการบริการจากบุคคลอื่นกรณีที่ถกเถียงกันมากว่าขนส่งกับรถ ต่างกันตรงไหน เบื้องต้นจึงขอแนะนำให้ดูจากลักษณะของสัญญาที่คู่สัญญาได้ตกลงให้บริการต่อกันซึ่งจะสามารถแยกแยะความแตกต่างได้ดังนี้ 1. การให้เช่ารถยนต์ ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบการครอบครองรถยนต์ให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งเป็นไปตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนการขนส่งโดยรถยนต์ ผู้รับขนส่งได้ครอบครองรถยนต์อยู่ตลอดเวลา ผู้ว่าจ้างขนส่งต้องการสิ่งที่จะได้รับจากผู้ขนส่งซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของข้อตกลงหรือสัญญาก็คือจะต้องขนส่งคนหรือสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเท่านั้น กล่าวคือ ให้ไปถึงจุดหมายปลายทางก็เป็นอันสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยผู้ว่าจ้างไม่ได้สิทธิครอบครองรถยนต์แต่อย่างใด ตัวอย่างที่ 1 บริษัท ก. จำกัด ต้องการรถตู้ 1 คัน เพื่อให้พนักงานไปสัมมานาที่ต่างจังหวัดในเช้าวันเสาร์และกลับเย็นวันอาทิตย์ โดยตกลงให้รถตู้ไปส่งพนักงานในเช้าวันเสาร์ แล้วจะกลับหรือไปที่อื่นใดไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท ก. แต่รถตู้ต้องกลับมารับพนักงานกลับในตอนเย็นวันอาทิตย์ กรณีนี้จะเห็นว่ารถตู้ต้องไปส่งและกลับเท่านั่น จึงถือเป็นการขนส่ง ตัวอย่างที่ 2 บริษัท ข. จำกัด ต้องการรถตู้ 1 คัน เพื่อให้ไปส่งพนักงานไปตรวจงานต่างจังหวัด โดยรถตู้จะต้องรอพนักงานในระหว่างที่ตรวจงานและหากเดินทางไปที่ต่างๆ ก็สามารถเรียกใช้รถตู้ดังกล่าวได้ตลอดเวลา จนกระทั่งถึงกำหนดกลับรถตู้ต้องรอพนักงานของบริษัท ข. จะเห็นได้ว่าในระหว่างที่รถตู้ต้องรอพนักงานของบริษัท ข. การครอบครองรถตู้อยู่ที่บริษัท ข. เพราะสามารถเรียกใช้งานได้ตลอดเวลา กรณีนี้ถือเป็นการเช่า ดังนั้น กรณีการเช่าเหมารถตู้ให้ไปกับผู้เช่าเป็นเวลา 3 วัน 2 คือ โดยรถตู้จะต้องรอและไปกับผู้เช่าตลอดช่วงเวลา ถือเป็นการเช่าไม่ใช่ขนส่ง ดังนั้นการเช่ารถหรือการขนส่งจึงขึ้งอยู่ที่ข้อตกลงและเอกสารหลักฐานที่จะต้องตามมาไม่ว่าจะเป็นใบแจ้งหนี้ หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ใบกำกับภาษี (กรณีเช่ารถ) ก็ควรระบุให้ชัดเจนตามลักษณะของข้อตกลงว่าเป็นค่าขนส่งหรือเป็นค่าเช่ารถเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบเอกสารของเจ้าพนักงานประเมิน 2. การเช่ารถบางกรณี ผู้เช่าได้ตกลงให้ผู้ให้เช่ารถจัดหาคนขับรถมาให้ด้วยและแยกเรียกเก็บค่าบริการต่างหาก ส่วนการขนส่งโดยปกติผู้รับขนส่งต้องจัดหาคนขับรถมาด้วย ถ้าบอกว่าเป็นการรับขนส่งแต่ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้หาคนขับรถเองอาจถูกมองว่าเป็นการให้เช่าเพราะผู้ใช้รถได้ครอบครองรถยนต์ 3. การเรียกเก็บเงินกรณีค่าเช่ารถ อาจเรียกเก็บเป็นค่าเช่ารถแยกต่างหากจากค่าบริการคนขับรถ ถ้าเก็บค่าเช่ากับค่าบริการคนขับรถรวมกันก็เป็นค่าเช่ารถทั้งจำนวน ส่วนการเรียกเก็บค่าขนส่งต้องเก็บเป็นยอดเดียวเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับขนส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง จากความแตกต่างที่กล่าวมาข้างต้น คงจะพอมองออกว่าเมื่อใดจ่ายเป็นค่าเช่ารถ เมื่อใดจ่ายเป็นค่าขนส่ง จะได้หักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างถูกต้อง ซึ่งผู้จ่ายเงินหลายรายหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5 สำหรับการเช่ารถไปเลยเพื่อตัดปัญหา แต่จะมีปัญหาตามมาภายหลังถ้าจะต้องแก้ไขเปลี่ยนเป็นหักภาษีอัตราร้อยละ 1 เพราะพิจารณาแล้วว่าเป็นการขนส่ง ก็จะต้องตอบหรือชี้แจ้งเจ้าพนักงานประเมินที่ตรวจสอบให้ได้แถมผู้ที่ถูกหักไปแล้ว 5% จะกลับมาเรียกร้องเงินส่วนเกินในภายหลังหรือไม่อย่างไรก็ต้องตามแก้ปัญหากันอีก ดังนั้นถ้าจะให้ดีไม่มีปัญหา ก็ควรต้องศึกษาหลักเกณฑ์ทำความเข้าใจแล้วทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรกก็จะดีที่สุด...
ที่มา : สรรพากรสาส์น Plus เดือนพฤษภาคม 2554 |
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ การจ่ายเงินโบนัส กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557 อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!! ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง ปักธง ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่ ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล ภาษีรถยนต์นั่ง เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51 แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินปันผล เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เรื่องของภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1 คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้ การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54 มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10% หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่ รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง ภาษีเบี้ยประกันชีวิต ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน บริหารภาษีให้ถูกวิธี ปัญหาคณะบุคคล ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!! การออมเงินโดยการประหยัดภาษี ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง" การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า" จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน ภาษีเงินได้นิติบุคคล "ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่ สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM เตือนภัยหลอกเก็บภาษี ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม) สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้ ของขวัญกับการเสียภาษี ภาษีมรดก เช่าทรัพย์กับภาษีอากร สรรพากร Call Center การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ภาษีเบี้ยประกันชีวิต การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้ การเสียภาษีในนามคณะบุคคล สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา หัวหมอเลี่ยงภาษีเพียบ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า ภาษีอากรประเมิน ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT |