บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
วิธีการเพิ่มเงินออม ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ทั้งการหารายได้เพิ่ม การลดรายจ่าย หรือการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งในข้อหลังสุดนี้ ล่าสุดในสัปดาห์นี้ (19 ตุลาคม 2553) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายสำหรับค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ และอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แต่เนื่องจาก กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญมีผู้ทำสัญญาประกันชีวิตเป็นจำนวนไม่มากนัก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)ได้เสนอให้มีการพิจารณาขอหักค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีสำหรับค่าเบี้ยกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มขึ้น รวมทั้งในแผนพัฒนาตลาดทุนไทยก็ได้มีข้อเสนอขอให้หักค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ โดยให้อยู่ในวงเดียวกันกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสล.) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กระทรวงการคลังพิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้มีเงินได้ทำสัญญา การประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อสะสมเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณอายุอันเป็นหลักประกันความมั่นคงในบั้นปลายของชีวิต และเพื่อเพิ่มทางเลือกในการออมดังกล่าว จึงเห็นควรกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาสำหรับค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มขึ้นอีก จากข้อกฎหมายปัจจุบันที่ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้ รวมไม่เกิน 100,000 บาท โดยให้ผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอีกเป็นจำนวนไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้นจึงเป็นที่มาของร่างกฎกระทรวง ที่กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนที่เกิน 90,000 บาท ให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอีกไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ทั้งนี้กำหนดให้การยกเว้นภาษีใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี 2553 ที่ต้องยื่นรายการใน ปี พ.ศ.2554 เป็นต้นไป ดังนั้นถ้าหากในปีนี้ท่านออมเงินด้วยการประกันชีวิต ที่เป็นการสร้างหลักประกันให้กับตนเองและครอบครัวแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการวินัยการออมระยะยาวของประชาชน จึงจะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีเพิ่มเติมนะคะ จึงขอแจ้งข่าวดีมาเพื่อทราบกันด้วยค่ะ ที่มา : คอลัมภ์ เข็มทิศลงทุน นสพ.เดลินิวส์ วันเสาร์ ที่ 23 ตุลาคม 2553 |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |