ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่

 

 

 

     การคัดเลือกพนักงานเข้าร่วมงานในบริษัทถือเป็นสิ่งสำคัญมากในองค์กรที่ต้องการความเจริญก้าวหน้า  ไม่ว่าจะเป็นการรับพนักงานใหม่เพื่อการขยับขยายบริษัทหรือแทนที่พนักงานเดิมที่ออกไป การตั้งคำถามเพื่อสอบถามผู้สมัครงานมีส่วนช่วยในเรื่องนี้อย่างมาก ทั้งในเรื่องการได้รับทราบข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นอันเกี่ยวข้องกับตัวผู้สมัครเอง หรือทางด้านจิตวิทยาที่บ่งบอกถึงความคิดและบุคลิกภาพ

 
  การตั้งคำถามที่เจาะลึกลงไปจะสามารถให้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับคุณสมบัติที่บริษัทต้องการได้
 
ในหลายครั้งบางบริษัทจงใจที่จะตั้งคำถามในลักษณะทางจิตวิทยาเพื่อทดสอบด้าน emotional quotient (e.q.) ซึ่งคือการทดสอบด้านอารมณ์ของผู้สมัคร บางครั้งตัวผู้ทำการสัมภาษณ์เองอาจใส่อารมณ์ของตัวเองลงไปในคำถามในระดับหนึ่งด้วยเพื่อดูว่าตัวผู้สมัครสามารถทนรับความกดดันได้ดีขนาดไหน เพราะตำแหน่งงานบางประเภทต้องสามารถทนรับแรงกดดันได้เป็นอย่างดีด้วย อาทิ ตำแหน่งงานในบริษัทโฆษณาซึ่งต้องนำเสนองานต่อลูกค้าเป็นประจำ ตำแหน่งงานในธุรกิจสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์และนิตยสารซึ่งต้องทำงานแข่งขันกับเวลาอยู่โดยตลอดในเรื่องการเร่งปิดต้นฉบับ นอกจากนี้การเลือกตั้งคำถามคัดคนเข้าทำงานที่ดีควรถามเจาะลึกลงไปในส่วนที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับความต้องการของบริษัทเราเองด้วย เพราะการตั้งคำถามคัดคนเข้าทำงานที่เป็นพื้นฐานทั่วไปแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถให้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติที่บริษัทเราต้องการได้
 
 
 
  เราได้รวบรวม 10 สุดยอดคำถามที่ควรใช้ในการสัมภาษณ์พนักงานมาให้ได้เลือกใช้ ประกอบไปด้วยคำถามพื้นฐาน คำถามเชิงจิตวิยา และคำถามเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับลักษณะพนักงาน
 
1. แนะนำตัวเอง
 
การให้แนะนำตัวทำให้ได้ทำความรู้จักกับตัวผู้สมัครและยังถือเป็นการให้เกียรติผู้สมัครด้วย
 
คำถามนี้เป็นคำถามสัมภาษณ์งานพื้นฐานทั่วไปที่เราควรถามกับผู้สมัครเพื่อจะได้ทำความรู้จักกับตัวผู้สมัคร อีกทั้งยังถือเป็นการให้เกียรติและความเคารพผู้สมัครอีกด้วย แต่บางครั้งเราสามารถกำหนดเวลาลงไปในคำถามนี้ได้ เช่น กรุณาแนะนำตัวหรือพูดเกี่ยวกับตัวเองภายในเวลา 2 นาทีหรือ 10 นาที หรือเท่าไรก็แล้วแต่เราจะกำหนด ถือเป็นการใช้จิตวิทยาเบื้องต้นแบบอ่อนๆ เพื่อทดสอบว่าผู้สมัครสามารถจัดการกับเวลาที่กำหนดให้ได้หรือไม่ แต่ก็ไม่ควรจะซีเรียสเรื่องเวลาที่ให้มากนัก และควรไม่นำผลนี้มาใช้วัดว่าจะรับหรือไม่รับด้วย 
 
2. ทำไมจึงอยากทำงานที่นี่
 
คำถามคัดคนเข้าทำงานรูปแบบนี้มีไว้เพื่อทดสอบทัศนคติที่มีต่อบริษัท ว่าเพราะเหตุใดผู้สมัครถึงสนใจอยากร่วมทำงานกับบริษัทของเรา และยังได้ข้อมูลเรื่องมุมมองของบุคคลภายนอกที่มีต่อบริษัทอีกด้วย ถือเป็นคำถามพื้นฐานทั่วไปเลยทีเดียว
 
3. เคยมีประสบการณ์งานด้านนี้หรือไม่
 
คำถามนี้จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทของเรามากที่สุด เพราะเราจะสามารถวิเคราะห์ความทักษะความสามรถของผู้สมัครได้ดีขึ้นจากประสบการณ์และงานที่เคยทำมา มีส่วนช่วยในพิจารณารับเข้าทำงานง่ายขึ้น 
 
4. ทำไมถึงออกจากงานเดิม
 
คำถามสัมภาษณ์งานนี้มีเพื่อให้ได้ทราบว่าผู้สมัครมีปัญหากับงานเดิมอย่างไรหรือ เหตุใดจึงอยากเปลี่ยนงาน เช่น ที่ทำงานเดิมอาจอยู่ไกลจากบ้าน หรือผู้สมัครอยากหาประสบการณ์ท้าทายใหม่ๆ และคำถามนี้ยังช่วยให้ได้ทราบถึงปัญหาของบริษัทอื่น แต่พึงระวังไว้ด้วยว่าผู้สมัครงานที่ตำหนิบริษัทเก่าของตัวเองก็อาจตำหนิบริษัทของเราให้บริษัทอื่นฟังในอนาคตเมื่อเขาต้องการออกจากบริษัทของเรา ขอให้คำถามนี้มีส่วนในการตัดสินใจคัดเลือกพนักงานใหม่ด้วย และคำถามคัดคนเข้าทำงานรูปแบบนี้แสดงถึงระดับความคิดอ่านของตัวบุคคลที่มีต่อสิ่งรอบข้างและกาลเทศะต่างๆ 
 
 
5. จบไม่ตรงสาขาแล้วจะทำงานได้อย่างไร (สำหรับผู้สมัครที่จบไม่ตรงสาขา)
 
ควรพิจารณาจากสาขาที่จบและคำตอบข้ออื่นๆ ของผู้สมัครควบคู่กันไป 
 
เพื่อตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวผู้สมัครว่าจะสามารถทำงานในตำแหน่งนี้ได้หรือไม่ และเหตุผลว่าเพราะอะไรเขาหรือเธอจึงสามารถทำได้ เราควรพิจารณาจากสาขาที่จบ ประสบการณ์การทำงาน และคำตอบอื่นๆ ของผู้สมัครควบคู่กันไป เพราะหากเรารับเข้าทำงานอาจต้องสอนการทำงานตั้งแต่ต้นใหม่ แต่อาจมีข้อดีก็ได้ เพราะบุคลากรคนนั้นๆ อาจมีความคิดใหม่ๆ และมุมมองที่แตกต่างไปจากพวกที่จบตรงสาขาก็เป็นได้
 
 
 
 
6. คุณจะพอใจหรือไม่ที่ได้ทำงานที่นี่
 
แน่นอนว่านี่เป็นคำถามจิตวิทยาที่ใช้คัดคนเข้าทำงาน เพราะทุกคนที่มาสมัครงานและมาตามนัดเพื่อรับการสัมภาษณ์ต้องอยากได้งานกันทุกคนอยู่แล้ว แต่ที่ต้องถามก็เพื่อวัดใจผู้มาสมัครว่าจะพูดถึงเกี่ยวกับบริษัทได้มากขนาดไหน และเป็นโอกาสให้ได้ดูทักษะและศิลปะในการพูดด้วยว่ามีความพอดีหรือเกินกว่าความเป็นจริงพื้นฐานหรือไม่ 
 
7. เพื่อนร่วมงานชอบพูดถึงคุณว่าอย่างไร
 
เป็นอีกหนึ่งคำถามทางจิตวิทยาที่เผยให้รู้ถึงลักษณะเด่นของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์จากคำบอกเล่าของเพื่อนร่วมงานที่มีต่อตัวผู้สัมภาษณ์ แต่คำถามข้อนี้ไม่ควรนำมาเป็นเกณฑ์ตัดสินมากนัก เพราะคำตอบอาจเป็นความจริงหรืออาจไม่จริงก็ได้ เพราะเราก็ไม่อาจตรวจสอบได้
 
8. มีทักษะทางคอมพิวเตอร์ และพูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้หรือไม่
 
คำถามคัดคนเข้าทำงานข้อนี้เป็นส่วนสำคัญมาก การมีทักษะดังที่กล่าวมาจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ตอบว่าไม่มี แต่พร้อมที่จะเรียนรู้ เราก็ควรถามต่อว่าจะเรียนที่ไหน อย่างไร เมื่อไหร่ แล้วนำมาพิจารณาด้วยว่าควรให้โอกาสคนที่มีความพยายามหรือไม่ คำถามข้อนี้มีความเป็นจิตวิทยาอยู่นิดหน่อย แต่ก็ยังแฝงการขอข้อมูลพื้นฐานอยู่ในที
 
9. ต้องการเงินเดือนเท่าไร
 
เพราะคำตอบข้อนี้จะกลายเป็นข้อมูลส่วนสำคัญที่บริษัทต้องการทราบเพื่อนำมาพิจารณาว่าจะจ้างหรือไม่จ้างเข้าทำงาน อีกทั้งต้องนำไปพิจารณาดูว่าจำนวนเงินเดือนที่ต้องการนั้นสอดคล้องกับประสบการณ์และหลักมาตรฐานภายในของบริษัทอย่างเพดานเงินเดือนหรือไม่
 
10. มีคำถามจะถามอะไรไหม
 
 
 
  คำถามนี้ส่วนหนึ่งเป็นคำถามเชิงจิตวิทยา หากผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ตอบว่ามี จะแสดงให้เห็นชัดเจนว่าผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ได้ทำการบ้านมาอย่างดี มีการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทแล้วถึงสามารถตั้งคำถามได้ และยังเป็นการแสดงออกถึงความใส่ใจในกิจการของบริษัทด้วย อีกทั้งยังแสดงถึงความมั่นใจกล้าคิดกล้าพูดของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์อีกด้วย
ควรสังเกตบุคลิกภาพของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ควบคู่กันไปด้วย และระวังอย่าใส่อารมณ์ในการสัมภาษณ์มากจนเกินไป 
 
  จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการตั้งคำถามสัมภาษณ์ผู้สมัครที่ดีนั้นมีความสำคัญมากขนาดไหน เราควรตั้งคำถามที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทและหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตัวงานเท่านั้น อย่าตั้งคำถามที่เจาะลึกถึงความเป็นส่วนตัวมากเกินไปนัก และควรสังเกตบุคลิกภาพของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ควบคู่กันไปด้วย ที่สำคัญอย่าใส่อารมณ์ในการสัมภาษณ์มากจนเกินไป เพราะการสัมภาษณ์งานยังถือเป็นการประชาสัมพันธ์บริษัทสู่ภายนอกว่ามีระบบการทำงานดีแค่ไหนและให้ความเคารพในตัวบุคคลขนาดไหน เพราะเราไม่อาจแน่ใจว่าผู้เข้ารับการสัมภาษณ์จะเก็บเรื่องการสัมภาษณ์เป็นความลับตลอดไปหรอก ดังนั้นหากเราตั้งคำถามไม่ดี ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ใส่อารมณ์ในการสัมภาษณ์ ไม่เคารพและให้เกียรติผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ ก็อาจทำให้บริษัทมีภาพลักษณ์ด้านลบได้
 
 
ที่มา : www.incquity.com



รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน