บริษัท พัฒนกิจ บัญชี ภาษีและฝึกอบรม จำกัด
Pattanakit Accounting Tax & Training Co., Ltd.
59/275 ซอยสุวินทวงศ์ 44 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
โทรศัพท์ 094-6574441 , 099-4567715 , 092-4634120, 061-0382531
Website :https://www.pattanakit.net / Email : infoservice2126@gmail.com

กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่
ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการ บริษัท ศ. จำกัด หารือว่าการจ่ายค่าตอบแทนให้กับกรรมการบริษัท กรรมการบริหารบริษัท และที่ปรึกษาด้านการตลาด เป็นค่าจ้างที่ต้องนำส่งเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคมหรือไม่อย่างไร และเนื่องจากปัจจุบันบริษัทได้หักค่าจ้างของกรรมการบริษัท และที่ปรึกษาทางด้านการตลาด นำส่งเป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทุกเดือน ดังนั้น ถ้าผลการพิจารณาว่าค่าตอบแทนดังกล่าวไม่เป็นค่าจ้าง บริษัทสามารถเรียกเงินคืนได้หรือไม่ อย่างไร ผู้อำนวยการฝ่ายการจัดการบริษัท ศ. จำกัด ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับนิติสัมพันธ์ระหว่างบริษัท ศ. จำกัด กับกรรมการบริหารบริษัท กรรมการบริษัท และที่ปรึกษาด้านการตลาด โดยสรุปดังนี้ 1. กรรมการบริษัท ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นให้เข้ามาเป็นกรรมการบริษัท โดยมีหน้าที่กำกับและดูแลนโยบายของบริษัท กรรมการบริษัทจะเข้าปฏิบัติงานที่บริษัท เมื่อมีการประชุมกรรมการบริษัทประมาณเดือนละครั้ง กรรมการบริษัทไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท ไม่ได้รับสวัสดิการ และได้รับค่าตอบแทนเป็นรายเดือน เดือนละครั้ง 2. กรรมการบริหารบริษัท ได้รับการแต่งตั้งจากกรรมการบริษัทมีหน้าที่กลั่นกรองเรื่องนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณา กรรมการบริหารบริษัทจะเข้ามาปฏิบัติงานเมื่อมีการประชุม และจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมเฉพาะวันที่มาประชุมเท่านั้น กรรมการบริหารไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับบริษัท และไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ จากบริษัท 3. ที่ปรึกษาด้านการตลาด บริษัทได้ว่าจ้างบุคคลภายนอกเพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาทางด้านการตลาด โดยว่าจ้างแบบเหมาเป็นรายปี แต่แบ่งจ่ายเดือนละครั้งจะเข้ามาปฏิบัติงานสัปดาห์ละครั้ง หรืออาจให้คำปรึกษาโดยทางโทรศัพท์ ที่ปรึกษาด้านการตลาดไม่มีความผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท ไม่ได้รับสวัสดิการจากบริษัท 1. โดยที่พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 5 ได้กำหนดนิยามของคำว่า “ค่าจ้าง” หมายความถึง เงินทุกประเภทที่ “นายจ้าง” เป็นผู้จ่ายให้กับ “ลูกจ้าง” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง ดังนั้น ก่อนการพิจารณาว่าค่าตอบแทนเป็น “ค่าจ้าง” หรือไม่ จำเป็นต้องพิจารณาลำดับแรกก่อนว่าบุคคลทั้งสองฝ่ายนั้นมีนิติสัมพันธ์กันในฐานะเป็น “นายจ้างลูกจ้าง” หรือไม่ และเมื่อผลการพิจารณาเห็นว่าทั้งสองฝ่ายมีนิติสัมพันธ์กันในฐานะเป็น “นายจ้างลูกจ้าง” แล้วจึงต้องพิจารณาว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้างเป็น “ค่าจ้าง” หรือไม่ ต่อไป 2. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 5 ได้กำหนดนิยามของ “ลูกจ้าง” ไว้ หมายถึง ผู้ที่รับทำงานให้กับนายจ้าง และ “นายจ้าง” หมายถึง ผู้ที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกับนิติสัมพันธ์ของการเป็นนายจ้างลูกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 ว่าด้วยการจ้างแรงงาน โดยในสัญญาจ้างแรงงานนั้น นายจ้างมุ่งประสงค์ที่จะใช้แรงงานของลูกจ้างมากกว่าผลสำเร็จของงาน และลูกจ้างจะต้องทำงานภายใต้คำสั่ง การควบคุมบังคับบัญชาหรือภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่นายจ้างกำหนด เช่น วันเวลาทำงาน วันหยุดวันลา หรือ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับสภาพการจ้างอื่นอีกทั้ง นายจ้างมีอำนาจให้คุณให้โทษหรือว่ากล่าวตักเตือนหากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์หรือคำสั่งของนายจ้าง 3. กรณีตามข้อหารือพิจารณาแล้วเห็นว่า กรรมการบริษัท กรรมการบริหารบริษัท และที่ปรึกษาด้านการตลาด กับบริษัท ศ. จำกัด มิได้มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะเป็น “นายจ้างลูกจ้าง” ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เนื่องจาก ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
ที่มา : www.businesssoft.com |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |