ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง

 

       ถ้าใครมาถามเราว่าทำงานอะไร แล้วเราตอบเค้าว่า เป็นกรรมการบริษัท โอ้โห มันคงจะโก้น่าดูใช่มั้ยครับ ก็ฟังดูอย่างกับเป็นผู้บริหารระดับสูงยังไงยังงั้น แต่ทราบหรือไม่ครับ ว่าหน้าที่และความรับผิดชอบที่มาพร้อมกับความโก้หรูดังกล่าวนั้นมันมีอะไรบ้าง วันนี้เราจะลองมาดูกันครับ

  หลายคนถูกชวนให้ไปเป็นกรรมการบริษัท ก็ดีใจจนเนื้อเต้น ไม่ว่าจะเป็นสามีชวนภรรยา พี่น้องในครอบครัว หรือแม้แต่เพื่อนสนิทมิตรสหาย การเป็นกรรมการบริษัทนั้นเป็นเรื่องดีครับ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดเราควรจะรู้ด้วยว่า หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อเราจะได้รู้เท่าทันคนอื่น ก็สมัยนี้ไว้ใจใครได้ที่ไหนเล่าครับ คนใกล้ชิดกันแท้ๆก็ยังหักหลังหรือทำกันให้เห็นๆมานักต่อนักแล้ว ทางที่ดีเราควรเรียนรู้เพื่อป้องกันความผิดพลาด และบอกเตือนคนอื่นๆได้ด้วย
 
  การเป็นกรรมการบริษัทนั้นคงจะไม่มีปัญหาอะไร หากกิจการของบริษัทดำเนินก้าวหน้าไปได้ด้วยดี แต่ถ้ามันไม่เป็นอย่างงั้นล่ะครับ หากว่าเกิดมีปัญหาในการดำเนินงาน เกิดมีหนี้สินขึ้นมา เจ้าหนี้ก็จะมาทวงหนี้ของบริษัท แล้วใครจะต้องรับผิดล่ะครับ ถ้าเราเป็นกรรมการเราบอกว่าเราไม่รู้เรื่องได้มั้ย แล้วถ้าต้องรับผิดต้องรับผิดแค่ไหนอย่างไร
 
  โดยหลักกฎหมายแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นบอกว่า กิจการใดที่กรรมการกระทำไปในหน้าที่ของตน กรรมการไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว เว้นแต่ว่า กิจการใดที่กรรมการกระทำลงโดยปราศจากอำนาจ หรือนอกขอบเขตอำนาจของทางบริษัทและบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบรรณ(การรับรอง) กรรมการต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวต่อบุคคลภายนอก

 
  ดังนั้น คุณจะต้องพิจารณาก่อนว่า หากคุณเป็นกรรมการแล้ว บริษัทที่คุณเป็นนั้นเค้าให้อำนาจหน้าที่หรือมีกิจการตามวัตถุประสงค์อะไรบ้าง(ดูได้จากวัตุประสงค์ของบริษัท) เมื่ออ่านดูจนเข้าใจแล้ว ในการเซ็นชื่อในเอกสารต่างๆก็ควรจะอ่านดูให้เข้าใจเสียก่อนที่จะลงลายมือชื่อ เพราะถ้าได้กระทำตามอำนาจหน้าที่ไปแล้ว คุณก็ไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว(เว้นแต่ในกรณีที่มีข้อบังคับของบริษัทเขียนไว้ว่า ให้กรรมการต้องรับผิดในหนี้สินของบริษัทโดยไม่จำกัดจำนวน) แต่ถ้าหากคุณได้ลงลายมือชื่อไปโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งเป็นการกระทำที่นอกเหนืออำนาจของกรรมการ คุณก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวครับ
 
  ลองมาดูตัวอย่างกัน สมมุติว่าคุณเป็นกรรมการของบริษัท ก. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ต กรณีที่คุณลงชื่อในสัญญาเพื่อเช่าพื้นที่ให้บริการเว็บไซต์ แบบนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าคุณไปลงชื่อในสัญญานายหน้าซื้อขายที่ดิน ซึ่งบริษัทของคุณไม่ได้มีวัตุประสงค์ที่จะทำเช่นนั้น คุณจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวทั้งต่อบริษัทและต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตด้วย กฎหมายคุ้มครองผู้สุจริตเสมอนะครับ
 
  สรุปว่า การเป็นกรรมการบริษัทนั้นมีความเสี่ยงอยู่บ้างนะครับ เพราะอาจต้องรับผิดต่อบุคคลอื่นๆที่เข้ามาทำธุรกิจกับบริษัท และทั้งต่อบริษัทและผู้ถือหุ้นของบริษัทเองด้วย อาจเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา ตำแหน่งดูโก้หรู แต่ความรับผิดชอบที่ตามมามันก็ไม่ใช่น้อยๆเลยใช่มั้ยครับ ดังนั้น ก่อนลงลายมือชื่อในเอกสารใดๆก็ตาม ดูให้รอบคอบ อ่านก่อนซักนิดนึงนะครับ

  ความรับผิดของกรรมการบริษัท

  กรรมการกับความรับผิดทางอาญา


 
บทความโดย : โกวิท ทาตะรัตน์   ที่มา :
www.bunditcenter.com




จดทะเบียนธุรกิจ

ก้าวแรกของการขายของออนไลน์
บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่
กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
กรรมการกับความผิดทางอาญา
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
ความรับผิดของกรรมการบริษัท
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่
"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"
ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ
การโอนหุ้น
เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”
ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!
"อยากจะค้าขาย"
10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
5 “สาย”
อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร
คุณก็เป็นเศรษฐีได้
หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs
โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน
สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ
เริ่มต้นจากเล็ก
คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ
7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ
บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา
กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550
อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง
ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ
ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ข้อควรทราบในการจดทะเบียน article
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม article
จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3)
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4)