ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี

 

ภ.ง.ด.94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี 

 

   วันจันทร์ที่ 31 ส.ค. 2552 นี้ เป็นวันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรก (ภ.ง.ด.51) ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ สำหรับบริษัท ฯลฯ ที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2552 หากลืมยื่นแบบล่ะก็ งานเข้าแน่ๆ นอกจากจะเสียค่าปรับและเงินเพิ่มแล้ว ยังเสียเวลาอีกด้วย

และในช่วงนี้ยังเป็นกำหนดเวลาของการยื่นแบบภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี (ภ.ง.ด.94) สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมิน บางประเภท กำหนดเวลายื่นแบบเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค.ถึงเดือน ก.ย. 2552 พูดง่ายๆ ว่า กำหนดเวลายื่นแบบเริ่มต้นพร้อมกับบริษัท ฯลฯ แต่กำหนดเวลาสิ้นสุดของการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษีจะสิ้นสุดในเดือน ก.ย.ในปีนี้ วันสุดท้ายของการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จะตรงกับวันพุธที่ 30 ก.ย. 2552

การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี (ภ.ง.ด.94) นั้น มีใครบ้างที่มีหน้าที่ยื่นแบบเสียภาษี ต้องมีเงินได้ประเภทใด การหัก ค่าใช้จ่ายของเงินที่หามาได้หักได้มากน้อยเท่าใด ค่าลดหย่อนที่นำ มาใช้ต้องเป็นอย่างไร การคำนวณภาษีมีวิธีใดบ้าง การยกเว้นภาษีมีกรณีใด จะต้องยื่นแบบเสียภาษีที่ใด แบ่งชำระภาษีได้หรือไม่ หาก ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลามีโทษใดบ้าง และประเด็นที่มักผิดพลาดในการยื่นแบบเสียภาษีมีอะไรบ้าง จึงขอสรุปโดยย่อ ดังนี้

   ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประมวลรัษฎากรได้แบ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกเป็น 4 หน่วยภาษี ได้แก่ บุคคลทั่วไป ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดกที่ยัง มิได้แบ่ง ปกติจะเกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นเราๆ ท่านๆ ที่มี ลมหายใจอยู่นี่แหละ ไม่ว่าจะอายุเท่าใด สัญชาติใดก็ตาม หากมีเงินได้พึงประเมินตามประเภทและถึงเกณฑ์ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องยื่นแบบเสียภาษีไม่ว่าจะมีภาษีต้องชำระหรือไม่ก็ตาม ที่เยอะขึ้นมาหน่อยก็เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล ซึ่งถือเป็นหน่วยภาษีอีกรูปแบบหนึ่ง สำหรับผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีและกองมรดกที่ยังมิได้แบ่งนั้นมีจำนวนไม่มากนัก

   ประเภทเงินได้พึงประเมิน ประมวลรัษฎากรได้แบ่งเงินได้ออกเป็น 8 ประเภท ตามมาตรา 40 (1)-(8) แต่กฎหมายกำหนด ให้ผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)–(8) ต้องนำเงินได้ พึงประเมินมายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกให้นำเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นในช่วงเดือน ม.ค.ถึงเดือน มิ.ย. มายื่นเสียภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนก.ย.ของปีนั้น และ เมื่อสิ้นปีก็ให้นำเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน ม.ค.ถึงเดือน ธ.ค. มายื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือน มี.ค.ปีถัดไปอีกครั้งหนึ่ง

ประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้จากค่าเช่าทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์, เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) เป็นเงินได้จากวิชาชีพกฎหมาย บัญชี วิศวกรรม แพทย์ สถาปัตยกรรม และประณีตศิลปกรรม, เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) เป็นเงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาจัดหาสัมภาระ และเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) เป็นเงินได้จากการขายสินค้า การพาณิชยกรรม การขนส่ง การเกษตรกรรม และอื่นๆ หรือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 40 (1)-(7) แห่งประมวลรัษฎากร

ท่านคงทราบแล้วว่าใครบ้างที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากรมีอะไรบ้าง ต่อไปค่อยมาว่ากัน เกี่ยวกับการคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษีว่า คิดอย่างไร การหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเป็นเช่นไร

  เรามาดูเรื่อง ภ.ง.ด.94 ต่อ ครับ  ครั้งก่อนได้กล่าวถึงผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาว่ามีใครบ้าง และประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(8) แห่งประมวลรัษฎากรมีอะไรบ้าง วันนี้มาต่อกันในเรื่องของวิธีการคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ว่ามีวิธีการคิดอย่างไร

 

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีมีวิธีการคิดคำนวณ 2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้เสียภาษีนำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึงเดือน มิ.ย. หักออกด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเหลือเท่าใดเป็นเงินได้สุทธิ แล้วให้นำเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะได้จำนวนภาษีต้องชำระ

ทั้งนี้ เงินได้สุทธิ 1.5 แสนบาทแรก จะได้รับยกเว้นภาษี การคำนวณภาษีวิธีนี้จะมีภาษีต้องชำระก็ต่อเมื่อมีเงินได้สุทธิเกินกว่า 1.5 แสนบาทขึ้นไป

การเสียภาษีจะเริ่มในอัตราภาษี 10% สำหรับเงินได้สุทธิที่ เกินกว่า 1.5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท เสีย 20% สำหรับเงินได้สุทธิที่เกินกว่า 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท เสียในอัตรา 30% สำหรับเงินได้สุทธิที่เกินกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 4 ล้านบาท และเสียภาษีในอัตรา 37% สำหรับเงินได้สุทธิที่เกินกว่า 4 ล้านบาทขึ้นไป

วิธีที่ 2 คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้เสียภาษีที่มีเงินได้พึงประเมินเกินกว่า 1 ล้านบาทขึ้นไป นำเงินได้พึงประเมินไปคำนวณภาษีในอัตรา 0.50% จะได้จำนวนภาษีที่ต้องชำระตามวิธีนี้ หากมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1 ล้านบาท ก็ไม่ต้องคำนวณวิธีนี้ แต่ยังคงต้องคำนวณภาษีวิธีที่ 1 ซึ่งอาจจะมีภาษีต้องชำระหรือไม่ก็ได้

กฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร หรือมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และยังมีเงินได้ตามมาตรา 40(2)-(8) อีก ต้องคำนวณภาษีเงินได้ทั้งวิธีที่ 1 และ 2 หากมีเงินได้พึงประเมินประเภทเงินเดือนค่าจ้างตามมาตรา 40(1) อย่างเดียว ให้คำนวณภาษีวิธีที่ 1 วิธีเดียวเท่านั้น กรณีเงินได้พึงประเมินที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 ผู้เสียภาษี จะต้องเปรียบเทียบจำนวนภาษีที่ต้องชำระดูก่อน วิธีใดมีจำนวนภาษีต้องชำระมากกว่าก็ให้เสียภาษีตามวิธีนั้น

การหักค่าใช้จ่าย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร กฎหมายให้สิทธิผู้เสียภาษีเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละที่กฎหมายกำหนด หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงโดยนำการหักรายจ่ายตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ที่บังคับใช้กับบริษัทมาอนุโลมใช้ สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) บางรายการที่กฎหมายไม่ได้ระบุให้เลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ จะต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น

การหักค่าใช้จ่ายเหมาของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร กฎหมายได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรฉบับที่ 11 ซึ่งได้กำหนดอัตราหักเป็นการเหมาไว้แตกต่างกันหลายอัตราสำหรับเงินได้แต่ละประเภท ในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี ผู้เสียภาษีจะเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมา หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงแตกต่างกันในแต่ละปีภาษีได้ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าใช้อย่างไรแล้วต้องใช้อย่างนั้นตลอดไป ขึ้นอยู่กับผู้เสียภาษีจะเลือกใช้วิธีใด เช่น ประกอบกิจการ ซื้อมาขายไป ปีที่ผ่านมาเคยหักค่าใช้จ่ายเหมา 80% ของเงินได้ พึงประเมิน แต่ปีภาษีนี้มีหลักฐานค่าใช้จ่ายในกิจการสูงถึง 90% ก็สามารถเลือกที่จะหักค่าใช้จ่ายจริงได้ 

         เรื่องเกี่ยวกับค่าลดหย่อนในการคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี

ประมวลรัษฎากรได้แบ่งค่าลดหย่อนออกเป็นหลายประเภท จำนวนเงินที่ให้หักก็มากน้อยแตกต่างกัน การนำค่าลดหย่อนมาคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี กฎหมายกำหนดให้นำมา หักลดหย่อนได้เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น สรุปได้ดังนี้

ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล ผู้มีเงินได้หักได้ 1.5 หมื่นบาท คู่สมรส ที่ไม่มีเงินได้หักได้ 1.5 หมื่นบาท บุตรหักได้คนละ 7,500 บาท แต่จะหักบุตรได้ไม่เกิน 3 คน

กรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล จะหักลดหย่อนได้เพียง 3 หมื่นบาท กองมรดกที่ยังมิได้แบ่งจะหักลดหย่อนได้ 1.5 หมื่นบาท สำหรับผู้ที่ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายยังมีชีวิตอยู่

ค่าเบี้ยประกันชีวิต ที่ได้จ่ายไปจริงในช่วงเดือน ม.ค.ถึงเดือนมิ.ย. ผู้มีเงินได้และคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้จะหักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ ไม่เกินคนละ 5,000 บาท ส่วนค่าเบี้ยประกันชีวิตที่เกินกว่า 1 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 9 หมื่นบาท เป็นเรื่องของการยกเว้นภาษีของผู้มีเงินได้เท่านั้น ไม่รวมถึงคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ สรุปได้ว่า เฉพาะตัวของ ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีจากค่าเบี้ยประกันชีวิตได้ไม่เกิน 9.5 หมื่นบาท ในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี

ค่าลดหย่อนเพื่อการศึกษาบุตร การยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี ผู้มีเงินได้ที่มีคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ จะหักลดหย่อนเพื่อการศึกษาบุตร ได้คนละ 1,000 บาท และนำบุตรมาหักได้ 3 คน กรณีต่างฝ่ายต่างมีเงินได้จะหักลดหย่อนเพื่อการศึกษาบุตรได้เพียงคนละ 500 บาท ต่อบุตร 1 คนเท่านั้น

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ที่ผู้มีเงินได้จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์หรือนายจ้างสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้าง เป็นประกันการกู้ยืม หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงในช่วงเดือน ม.ค.ถึงเดือนมิ.ย. แต่ไม่เกิน 5,000 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนที่เกินกว่า 1 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 9 หมื่นบาท เป็นเรื่องของการยกเว้นภาษีของผู้มีเงินได้ สรุปได้ว่า ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมรวมแล้วไม่เกิน 9.5 หมื่นบาท ในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี

เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ผู้มีเงินได้ที่จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมหรือคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้แต่ได้จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม สามารถหักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริงในช่วงเดือน ม.ค. ถึงเดือน มิ.ย.โดยแต่ละคนจะหักได้ไม่เกินคนละ 4,500 บาท

ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา หักลดหย่อนได้ทั้งบิดามารดาของผู้มีเงินได้และบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ โดยสามารถหักลดหย่อนได้คนละ 1.5 หมื่นบาท รวมแล้วหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 6 หมื่นบาท ในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี ทั้งนี้ บิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป บิดาหรือมารดาต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินเกินกว่า 3 หมื่นบาทขึ้นไปในปีภาษีนั้น และต้องมีหลักฐานการอุปการะเลี้ยงดูจาก บิดามารดา

เงินบริจาค ผู้มีเงินได้สามารถนำมาหักลดหย่อนได้เพียงครึ่งหนึ่งของเงินที่บริจาคจริงในช่วงครึ่งปีแรก และต้องไม่เกิน 10% ของ เงินได้สุทธิ ซึ่งคำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่ได้หักค่าใช้จ่ายและ ค่าลดหย่อนอื่นๆ ออกแล้ว

นั่นเป็นค่าลดหย่อนที่สามารถนำมาหักในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี แต่หากท่านดูรายการในแบบ ภ.ง.ด. 94 แล้ว จะพบรายการที่ยกเว้นภาษีอีกหลายรายการ มีอะไรบ้าง เงื่อนไขการใช้คำนวณภาษีเป็นอย่างไร สัปดาห์หน้าค่อยมาว่ากันต่อ สวัสดีครับ
 

 

  ความรู้เกี่ยวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

  ข้อสังเกต ภ.ง.ด.94

  ยื่น ภ.ง.ด.94 / ภ.ง.ด.90 จะเลือกหักเหมาหรือหักจริง

  Download แบบ ภ.ง.ด.94 ปี 2552

  วิธีกรอกแบบ ภ.ง.ด.94 ปี 2552

บทความโดย : สมชาย ชูเกตุ  

ที่มา : โพสต์ทูเดย์ วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม 2552 / วันศุกร์ที่ 4 และ 11 กันยายน 2552




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT