ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"

 

"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"

 

   หลังจากการบรรยายให้กับนักศึกษาที่วิทยาลัยนานาชาติมหิดล มีนักศึกษาเข้ามาคุยกับผู้เขียนเกี่ยวกับการทำงานในอนาคตว่าควรจะทำงานในบริษัทใดดี หรือจะเป็นผู้ประกอบการเลยหลังจากจบการศึกษา

   ก่อนที่ผู้เขียนจะตอบคำถามกับนักศึกษา ผู้เขียนคิดอย่างถี่ถ้วนก่อนจึงจะตอบ 

   สาเหตุเพราะคำตอบอาจจะทำให้อนาคตของนักศึกษาผู้นี้ ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้ ในบทความฉบับนี้ก็เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์ให้ทุกท่านฟังครับ

   เนื่องจากผู้เขียนมีประสบการณ์การทำงานในองค์กรขนาดใหญ่มาหลายปี และปัจจุบันก็ได้เป็นผู้ประกอบการอย่างเต็มตัว จึงสามารถเปรียบเทียบระหว่างการทำงานทั้งสองแบบได้ 

   ในบทความนี้ ขอเปรียบเทียบระหว่างการเป็นผู้ประกอบการกับมนุษย์เงินเดือนก่อนครับ ว่าแตกต่างกันอย่างไร

  ประการแรก คือ เรื่องความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับงาน หากท่านทำงานในบริษัทใหญ่ๆ ท่านไม่มีโอกาสหรอกครับในการที่จะมองบริษัทอย่างกว้างๆ ท่านต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ถ้าทำงานด้านการตลาดในองค์กรขนาดใหญ่ จะต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะการตลาดจริงๆ ท่านแทบจะไม่มีโอกาสในการแสวงหาองค์ความรู้ในการบริหารจัดการภายในองค์กรทางด้านอื่นๆ

   เช่นการผลิต การเงิน การพัฒนาการวิจัย เนื่องจากการแบ่งองค์กรในบริษัทใหญ่ แบ่งโครงสร้างตามหน้าที่ ในมนุษย์เงินเดือนมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับแผนกตนเองเท่านั้น 

   ยกเว้นว่าคุณทำงานไปสักพักหนึ่งแล้วต้องก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหาร เขาก็อาจจะมีการหมุนเวียนแผนกให้ท่านมีความรู้ในด้านอื่นๆ บ้าง แต่กว่าจะได้โอกาสนี้ก็ต้องรอเป็นชาติเลยครับ 

   หากต้องการเป็นเถ้าแก่ ต้องมีความรู้รอบหรือรอบรู้ เพราะธุรกิจของคุณเองคุณต้องรู้หมด บางครั้งในธุรกิจเรามีคนทำงานร่วมกันไม่กี่คน โครงสร้างองค์กรจะไม่ค่อยมีแบบแผน เถ้าแก่ก็คงต้องทำงานตั้งแต่แม่บ้านถึงเอ็มดี คุณต้องมองเป็นภาพรวมหรือบูรณาการ แทนที่จะเป็นแบบเฉพาะเจาะจงเหมือนมนุษย์เงินเดือน

   นี่แหละครับอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ว่าทำไมธุรกิจใหม่กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ล้มเหลว 

  ประการต่อมา หากคุณทำงานในองค์กร คุณทำงานโดยใช้เงินของชาวบ้าน สามารถลองผิดลองถูกได้ว่างานที่เราคิดและทำนั้นเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดี 

   หากการทำงานเหล่านั้นประสบความสำเร็จ คุณก็ได้คำชม โบนัส เลื่อนตำแหน่ง หากคุณล้มเหลว อย่างดีก็ถูกว่าวันสองวัน ตำแหน่งคงที่ไปช่วงหนึ่ง แล้วลองใหม่ 

   ในทางกลับกัน ถ้าเป็นเถ้าแก่ ทุกย่างก้าวที่คุณทำเป็นเงินของคุณเอง ความเสี่ยงก็เป็นของคุณเอง ผิดพลาดอาจหมายถึง "เจ๊ง" การทำงานในธุรกิจส่วนตัว ต้องทำงานในลักษณะ perfect คือสมบูรณ์แบบเท่านั้น เพราะท่านไม่มีโอกาสได้แก้ไข หรือโอกาสน้อยมากในการแก้ไข 

  ประการที่สาม คือ เวลาในการทำงานครับ ถ้าท่านเป็นมนุษย์เงินเดือน ท่านทำงานเพียงแปดชั่วโมงต่อวัน ห้าวันต่อสัปดาห์ หลังเลิกงานหรือครับ ไป chill out กับเพื่อนๆ ที่ทำงาน เพื่อนสมัยเรียน โอ้ชีวิตช่างรื่นรมย์จริงๆ เลย

   ในทางกลับกัน ถ้าท่านต้องการเป็นเถ้าแก่ เวลาทุกวินาทีมีเพื่องานเท่านั้น ยิ่งถ้าเป็นตอนเริ่มธุรกิจยิ่งแทบจะไม่มีเวลาเลยครับ ยุ่งมาก ปัญหามีประมาณพันเรื่อง ต้องคอยนั่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปเรื่อยๆ 

  ประการสุดท้าย การเป็นผู้ประกอบการเหมือนการ "ขึ้นหลังเสือ" ขึ้นแล้วลงไม่ได้ คุณไม่สามารถเล่นเกมส์ใหม่แล้ว ต้องให้เกมส์เล่นต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะชนะหรือแพ้ อย่างใดอย่างหนึ่ง show must go on ครับ

   ทำไมหรือครับ ก็คุณออกมาจากงานประจำแล้วไงครับ คุณกู้ยืมเงินมาดำเนินการแล้วครับ มันยากนะครับที่จะย้อนมาเล่นเกมส์ใหม่ 

   ก่อนที่จะตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการ คงต้องถามตัวเองก่อนนะครับว่าคุณพร้อมพอหรือเปล่า กล้าพอไหมที่จะเป็นอย่างเถ้าแก่ ถ้าคิดว่ายังไม่พร้อมที่จะดำเนินชีวิตอย่างนี้ รอสักพักเมื่อพร้อมค่อยมาเป็น

   ชีวิตนี้ไม่มีคำว่าสายครับ

      อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง

  คิดก่อนตัดสินใจ :คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจรึยัง 

  "อยากจะค้าขาย"

  หลากหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ

      คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ

  ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ

       7 ก้าวที่"พลาด"ในการเริ่มธุรกิจ

  10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"

บทความโดย : Atthapong   ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  5 เมษายน  2551




จดทะเบียนธุรกิจ

ก้าวแรกของการขายของออนไลน์
เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่
กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
กรรมการกับความผิดทางอาญา
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
ความรับผิดของกรรมการบริษัท
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่
ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ
การโอนหุ้น
เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”
ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!
"อยากจะค้าขาย"
10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
5 “สาย”
อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร
คุณก็เป็นเศรษฐีได้
หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs
โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน
สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ
เริ่มต้นจากเล็ก
คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ
7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ
บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา
กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550
อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง
ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ
ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ข้อควรทราบในการจดทะเบียน article
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม article
จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3)
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4)