ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ

 

ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ

   

   ช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลเฉลิมฉลอง ต้อนรับศักราชใหม่ ทุกคนมีความหวังที่จะได้รับสิ่งดีๆ ในชีวิต สิ่งหนึ่งที่คนทำงานอย่างเราๆ ตั้งตารอคอยมาตลอดทั้งปีคงหนีไม่พ้นของขวัญปลายปีที่องค์กรจะมอบให้ นั่นก็คือโบนัส

ผู้อ่านคุ้นเคยกับเหตุการณ์เหล่านี้บ้างหรือไม่

ก่อนให้โบนัส พนักงานก็ทำงานขยันขันแข็งดีอยู่หรอก แต่พอให้โบนัสไปพนักงานคนนั้นกลับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของตน จากที่เคยขยันกลับเฉื่อยชาลง จากที่เคยมาเช้า ก็มาช้า หรือในทางตรงข้ามพนักงานที่เฉื่อยชาหรือมาสาย แต่ได้รับโบนัส ด้วยองค์กรหวังว่าจะทำให้กลับใจมาเป็นคนน่ารักขององค์กรขึ้นบ้าง แต่ปรากฏว่าหลังจากได้รับโบนัสไปแล้ว ไม่มีอะไรดีขึ้นซะเลย น่าโมโหจริงๆ ที่ไม่รู้จักสำนึกในความกรุณา

หรืออาจเป็นได้ที่หลังจากให้โบนัสกับพนักงาน วันรุ่งขึ้นพนักงานคนเดียวกันนั้นยื่นใบลาออกทันที สาเหตุอาจเป็นไปได้หลายอย่าง แต่ก็มีโอกาสอย่างมากที่โบนัสที่ได้รับนั้นแหละเป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่ง

ในทฤษฎีเรื่องแรงจูงใจนั้น มีหลายทฤษฎีที่น่าสนใจและสามารถนำมาใช้ประกอบกันอธิบายพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ได้

การให้โบนัสนี้ หลักทฤษฎีอธิบายได้ว่าเป็นการให้สิ่งเสริมแรง เพื่อให้พนักงานทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ซ้ำอีก (reinforcement theory) หัวใจจึงอยู่ที่ว่าควรให้หลังจากที่เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ หากพนักงานที่ไม่ได้ทำความดี แต่กลับได้รับโบนัส ก็เหมือนไปเสริมแรงให้พฤติกรรมไม่พึงประสงค์นั้นเกิดซ้ำอีก เมื่อพนักงานคนนี้ชั่งตวงวัดในใจแล้วก็คงสรุปได้ว่าไม่มีเหตุผลใดที่เขาจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะพฤติกรรมที่เขาทำอยู่นำมาซึ่งโบนัสอันเป็นสิ่งที่เขาปรารถนา

และเช่นเดียวกันหากคนที่มีพฤติกรรมการทำงานที่องค์กรต้องการ แต่กลับไม่ได้รับโบนัส พฤติกรรมที่พึงประสงค์นี้ ตามหลักทฤษฎีกล่าวได้ว่าขาดสิ่งเสริมแรง นานๆ เข้าแรงก็แผ่ว พฤติกรรมการทำงานดีๆ ก็จะค่อยๆ ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ

ถ้าอย่างนั้นก็แสดงว่า คนเหล่านี้แสดงพฤติ กรรมพึงประสงค์ก็เพราะต้องการสิ่งตอบแทนน่ะสิ ก็เป็นได้ เพราะหากในองค์กรมีกติกาตกลงกันไว้อย่างนั้นก็ไม่แปลกอะไรถ้าหากเขาจะตั้งความคาดหวังเอาไว้อย่างนั้น ถ้าไม่อยากให้เขาคาดหวังก็ตกลงและชี้แจงกันให้เป็นที่ยอมรับตั้งแต่เริ่มต้น เพราะสุดท้ายก็อยู่ที่องค์กรเองว่าต้องการสร้างเงื่อนไขให้เกิดพฤติกรรมพึงประสงค์ในองค์กรอย่างไร

โดยธรรมชาติ มนุษย์เรามีความคาดหวัง (expectancy theory) และที่สำคัญหากคาดหวังแล้วไม่ได้ตามที่คาดหวัง ก็จะเกิดอาการผิดหวัง และคนเราเมื่อผิดหวังก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ในเรื่องของโบนัสก็เช่นเดียวกัน หากตลอดปีที่ทำงานมาพนักงานสร้างความคาดหวังมาโดยตลอด ว่าจะได้โบนัสเป็นกอบเป็นกำตามกติกาที่ตกลงกัน แต่เมื่อมาถึงสิ้นปีความหวังพังทลายลงเพราะไม่เป็นไปตามความคาดหวัง หากไม่มีเหตุผลที่อธิบายได้อย่างสมเหตุสมผลในความคิดของเขาแล้ว จากที่เคยเป็นคนดีในองค์กร อาจกลายเป็นคนดีแตกที่สิ้นหวัง เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของตน และในที่สุดก็อาจตัดสินใจเปลี่ยนองค์กรเลยก็เป็นได้

นอกจากนี้มนุษย์เรายังชอบเปรียบเทียบ (equity theory) พนักงานบางคนเมื่อรับซองโบนัสแล้วเปิดออกดูตอนแรกก็ดีใจ คิดในใจว่าการทำงานหนักของเราตลอดปี ท้ายที่สุดแล้วองค์กรมองเห็นและให้รางวัลตอบแทนเราอย่างสมควร แต่พอเหลือบไปดูซองของเพื่อนร่วมงานข้างๆ ความรู้สึกกลับเปลี่ยนไปทันที ทำไมของคนนั้นได้มากกว่าเรา ทั้งๆ ที่เราขยันกว่า มาทำงานเร็วกว่า ผลงานก็มากกว่า แต่องค์กรให้โบนัสเราน้อยกว่าทั้งๆ ที่เราลงทุน ลงแรง ลงใจ ไปให้ตลอดปี

ไม่น่าเชื่อที่ความรู้สึกดีๆ เมื่อครู่นี้กลับหายไปในทันที จากที่เคยรู้สึกพอใจกับโบนัสที่ได้รับ กลับตาลปัตรไปเป็นความไม่พอใจ ทฤษฎีอธิบายได้ว่า คนทำงานจะเปรียบเทียบปัจจัยนำเข้ากับผลที่ได้รับ ระหว่างของตนเองกับของคนอื่น เช่น ถ้าหากเราลงทุนลงแรงในการทำงานมากกว่าคนอื่น ผลตอบแทนที่เราได้รับก็ควรจะต้องมากกว่าคนที่ลงทุนลงแรงน้อยกว่าเรา จะน้อยกว่าหรือเท่ากันไม่ได้ หรือถ้าหากเราลงทุนลงแรงในการทำ งานน้อยกว่าคนอื่น ผลตอบแทนที่เราได้รับก็ควรจะต้องน้อยกว่าคนที่ลงทุนลงแรงมากกว่าเรา จะมากกว่าหรือเท่ากันไม่ได้

ในกรณีแรก แน่นอนที่ความไม่พึงพอใจเกิดขึ้น เพราะเราได้น้อยกว่าเขา ทั้งๆ ที่เราทำ งานมากกว่า แต่ในกรณีหลังความไม่พึงพอใจอาจจะไม่เกิดขึ้น เพราะเราได้มากกว่าเขา ทั้งๆ ที่เราทำงานน้อยกว่า ก็ไม่เป็นไร เราอาจคิดในใจว่าไม่มีอะไรเสียหาย

เชื่อหรือไม่ว่า นอก จากคนทำงานจะเปรียบเทียบกับเพื่อนร่วมงานในองค์กรเดียวกันแล้ว ยังเปรียบเทียบกับคนในองค์กรอื่นด้วย หากทำงานในตำแหน่งเหมือนกัน และอาจเปรียบเทียบกับตัวเองในสมัยที่ทำงานในตำแหน่งอื่นในองค์กรเดียวกัน หรือขณะที่ทำงานในตำแหน่งนี้ในองค์กรอื่น คนจะทำการชั่งตวงวัดในใจทันทีที่รู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมกัน

สิ่งที่องค์กรทำได้ก็คือ การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินการทำงานให้ชัดเจน หากองค์กรสามารถตอบได้ว่าเพราะอะไรผลการจัดแบ่งผลตอบแทนหรือโบนัสจึงเป็นสัดส่วนอย่างนั้น และอธิบายให้คนในองค์กรทราบ หากคนในองค์กรเห็นชอบว่าสมเหตุสมผล ความรู้สึกไม่พึงพอใจก็จะหายไปหรืออย่างน้อยก็ลดลง

ถึงตรงนี้หลายท่านอาจคิดว่า ถ้าอย่างนั้นในมุมมองขององค์กรก็ไม่ต้องให้โบนัสซะก็สิ้นเรื่อง จะได้ไม่ต้องมามีเรื่องเล็กเรื่องน้อยให้เคืองใจกันทั้งพนักงานและองค์กร ถ้าองค์กรทำอย่างนี้ดูไม่น่าจะเป็นทางออกที่ดีสักเท่าไหร่ เพราะคนที่ทำดีในองค์กรก็น่าจะได้รับกรรมดีสนองตอบ หากไม่ใช่ก็เท่ากับไม่ส่งเสริมคนดี คนที่มีคุณค่าต่อองค์กร

ที่ผู้เขียนกล่าวมาทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าต้องการให้องค์กรให้โบนัสพนักงานเยอะๆ เข้า ไว้ พนักงานจะได้มีสิ่งเสริมแรง ทำพฤติกรรมพึง ประสงค์ซ้ำๆ ในองค์กรอีก หากแต่ต้องการจะเน้นว่า หากจะให้โบนัสเพื่อเป็นการ "สร้าง" และไม่เป็นการ "ทำลาย" กำลังใจของคนทำงานล่ะก็ ขอให้ให้อยู่บนฐานของเกณฑ์ที่มีความชัดเจน ยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของคนทำงานส่วนใหญ่ในองค์กร เรียกว่าถ้าเขาเหนื่อยมาทั้งปีแล้วล่ะก็ให้เขาได้รู้สึกชื่นใจและหายเหนื่อยจากการที่ได้รับสิ่งเสริมแรงที่เรียกว่าโบนัสนี้เถอะ อย่าให้เขาต้องเสียกำลังใจเลย เพราะองค์กรอาจคาดไม่ถึงว่าองค์กรจะต้องเสียอะไรบ้างหากกำลังใจของคนเหล่านี้ต้องถูกทำลายลง

ที่มา : คอลัมน์ human coner  โดย วิชัย อุตสาหกิจ โครงการบัณฑิตศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6  วันที่ 24 มกราคม 2548 




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน