ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ

 

7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ

  ในช่วงเศรษฐกิจที่ตกต่ำทั่วโลกเช่นนี้ คงต้องยอมรับความจริงที่ว่า ความต้องการในตลาดลดลงทำให้ธุรกิจหลายรายประสบความล้มเหลว ถึงขั้นต้องปิดกิจการ ลองมาดูเกร็ดความรู้ที่อาจจะช่วยได้ในยามนี้

1. พยายามรักษาการไหลเวียนของเงินสดไว้ให้ดี (Protect your cash flow) กระแสเงินสดเปรียบเสมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจยังคงมีชีวิตอยู่ได้ เงินสดจำเป็นต้องมีการไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเจอกับวิกฤติเช่นใดก็ตาม เพราะฉะนั้น ในช่วงนี้ธุรกิจต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับการดำเนินกลยุทธ์เพื่อคงสภาพของกระแสเงินสดไว้ให้มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

2. ทบทวนวิธีปฎิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Review your inventory management practices) เพื่อเป็นการลดต้นทุนทางธุรกิจโดยไม่ต้องลดคุณภาพของสินค้าและบริการ หรือลดการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า สิ่งที่ต้องทบทวนโดยการตอบคำถามที่ว่า ธุรกิจมีการสั่งซื้อสินค้าเข้ามามากเกินไปในแต่ละครั้งหรือไม่ ? รายการสินค้าที่ซื้อเข้ามานั้นมีที่อื่นที่จะสามารถซื้อมาได้ในราคาถูกกว่าหรือไม่ ?

มีวิธีการอื่นไหมในการส่งสินค้าที่ช่วยลดขั้นตอนการขนส่งและลดต้นทุนสินค้าคงคลัง ? ถึงเวลาที่ธุรกิจต้องทบทวนสิ่งเหล่านี้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องยึดติดอยู่กับซัพพลายเออร์เดิม หรือวิธีการเดิมในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ตราบใดที่สิ่งใหม่ๆ จะสามารถช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้เพิ่มขึ้น

3. เน้นเฉพาะสินค้าและบริการหลักของธุรกิจเท่านั้น (Focus on your core competencies) การสร้างให้เกิดความหลากหลายในสินค้าและบริการ ก็เป็นหลักการบริหารจัดการอีกวิธีหนึ่งที่มักจะมีการแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจ แต่ในภาวะที่ทุกอย่างต้องทำด้วยความระมัดระวังเช่นนี้ การทุ่มเวลาและทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่มาให้ความสำคัญเฉพาะสิ่งที่ธุรกิจทำได้ดีที่สุด และสามารถทำกำไรให้ธุรกิจมากที่สุดดีกว่า

4. พัฒนากลยุทธ์สำหรับการแย่งชิงลูกค้าจากคู่แข่งขัน (Develop and implement strategies to get your competition’s customers) ถ้าธุรกิจต้องการที่จะรุ่งโรจน์ในช่วงวิกฤติเช่นนี้ สิ่งหนึ่งที่จะต้องทำคือ การขยายลูกค้า หรือฐานลูกค้าออกไป ซึ่งนั่นหมายถึง การฉกฉวยเอาลูกค้าของคู่แข่งขันในธุรกิจมาไว้ในมือ สิ่งที่จะทำได้ก็โดยหาและสร้างสิ่งที่แตกต่างจากคู่แข่งขันให้ได้ มีการวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์การแข่งขัน โดยเฉพาะตัวคู่แข่งขัน เพื่อดูว่า อะไรที่จะสามารถนำเสนอแล้วดึงดูดความสนใจให้ลูกค้าหันมาใช้สินค้าและบริการของธุรกิจเรา การให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าเพิ่มขึ้นอาจเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดวิธีหนึ่งในการฉกฉวยลูกค้ามาจากคู่แข่ง

5. รักษาลูกค้าที่มีอยู่ไว้ให้มากที่สุด (Make the most of the customers/clients you have) การรักษาลูกค้าเดิมไว้นับเป็นสิ่งสำคัญในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจาก โอกาสที่เขาและเธอจะเพิ่มยอดซื้อในสินค้ามีมากกว่าการที่จะเสียต้นทุนในการค้นหาลูกค้ารายใหม่ หลักการบริหารจัดการอันหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในกรณีนี้คือ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relation Management : CRM)

6. ทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง (Continue to market your business) ในภาวะรัดเข็มขัด ธุรกิจหลายแห่งหันมาตัดงบประมาณทางด้านการโฆษณาลง ซึ่งหารู้ไม่ว่าในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเช่นนี้ การตลาดเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่ผู้บริโภคกำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแปลงการซื้อสินค้าและบริการ ธุรกิจจะต้องช่วยให้ผู้บริโภคได้หันมาสนใจและเลือกใช้สินค้าและบริการที่ธุรกิจมี มากกว่าที่จะปล่อยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเอง ถ้าเป็นไปได้ ควรเพิ่มความพยายามในการทำการตลาดมากขึ้นกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ

7. รักษาเครดิตส่วนบุคคลไว้ให้คงอยู่ (Keep your personal credit in good shape) ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ การกู้ยืมเงินโดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดูจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าคุณมีเครดิตส่วนบุคคลที่ยังพอไปได้ อาจจะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น

ที่มา :  http://sbinfocanada.about.com/cs/marketing

และ  http://cms.sme.go.th




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน