ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

 

                                       การอุทธรณ์ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 

                            

1. การอุทธรณ์ภาษีอากรคืออะไร

     การอุทธรณ์ภาษีอากร เป็นกระบวนการยุติธรรมอย่างหนึ่งที่กฎหมายประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้ถูกประเมินภาษีสามารถใช้สิทธิคัดค้านการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินที่ผู้ถูกประเมินภาษีเห็นว่าไม่ถูกต้องต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์  

2. การอุทธรณ์ภาษีอากรจะต้องทำอย่างไร 

     หากต้องการคัดค้านการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้ถูกประเมินภาษีจะต้องยื่นคำอุทธรณ์เป็นหนังสือตามแบบ ภ.ส.6 โดยสามารถยื่นคำอุทธรณ์เป็นรายฉบับตามหนังสือแจ้งการประเมิน หรือ รวมยื่นคำอุทธรณ์ฉบับเดียวสำหรับหนังสือแจ้งการประเมินหลายฉบับก็ได้ โดยระบุให้ชัดแจ้งว่าอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีประเภทใด เดือน/ปี ภาษีใด ตามหนังสือแจ้งการประเมินฉบับใดและเป็นจำนวนเงินภาษีเท่าใด และสิ่งสำคัญที่ต้องระบุคือไม่เห็นด้วยกับการประเมินในประเด็นใด พร้อมทั้งให้เหตุผลทุกประเด็น และแสดงเอกสารหลักฐานประกอบเหตุผลนั้นด้วย

     แบบ ภ.ส.6 ขอรับได้ที่ 

       -  สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่

       -  สำนักงานสรรพากรภาค

       -  สำนักงานสรรพากรพื้นที่

3. ผู้ถูกประเมินภาษีจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อใคร

                

     ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกรมการปกครอง

     สำหรับในต่างจังหวัด ต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทน สรรพากรภาคหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน

4. ยื่นอุทธรณ์ได้ที่ไหน

   1. ในเขตกรุงเทพมหานคร

      (1) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 1,2,3,4,5 และ 6 เป็นผู้ประเมินภาษี ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ๆ หรือสำนักงานสรรพากรภาค 1

      (2) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร  7,8,9,10 และ 11 เป็นผู้ประเมินภาษี ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ๆ หรือสำนักงานสรรพากรภาค 2

      (3) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร  12,13,14, 15 และ 16 เป็นผู้ประเมินภาษี ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่นั้น ๆ หรือสำนักงานสรรพากรภาค 3

      (4) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่เป็นผู้ประเมินภาษี หรือเจ้าพนักงานประเมินสังกัดกรมศุลกากรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้เสียภาษีอากรที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจซึ่งกรมสรรพากรกำหนดให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นอุทธรณ์ ณ ส่วนอุทธรณ์ภาษีอากร สำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่

      (5) กรณีเจ้าพนักงานประเมินสำนักตรวจสอบภาษีกลางและคณะทำงานหรือหน่วยงานอื่นที่อธิบดีแต่งตั้งเป็นผู้ประเมินภาษี หรือเจ้าพนักงานประเมินสังกัดกรมศุลกากรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครเป็นผู้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้เสียภาษีอากรที่มิใช่ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งกรมสรรพากรกำหนดให้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ให้ยื่นอุทธรณ์ ดังนี้

        (5.1) ผู้ถูกประเมินภาษีที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร   1,2,3,4,5,6 และสำนักงานสรรพากรภาค 4,5 ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรภาค 1

        (5.2) ผู้ถูกประเมินภาษีที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร   7,8,9,10,11 และสำนักงานสรรพากรภาค 7,8,9,10 ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรภาค 2

        (5.3) ผู้ถูกประเมินภาษีที่มีภูมิลำเนาหรือสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร   12,13,14,15,16 และสำนักงานสรรพากรภาค 6,11,12ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรภาค 3

    2. กรณีคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินสำนักงานสรรพากรพื้นที่อื่นๆ นอกจาก กรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้ประเมินภาษี หรือสำนักงานสรรพากรภาค 4,5,6,7,8,9,10,11 และ12 (แล้วแต่กรณี) ซึ่งกำกับดูแลสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ผู้ประเมินภาษีตามแผนภูมิโครงสร้างหน่วยงานกรมสรรพากร

    3. กรณีคัดค้านการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานประเมินสังกัดกรมศุลกากรที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำอุทธรณ์ ณ สำนักงานสรรพากรภาคที่รับผิดชอบท้องที่นั้น

5. การยื่นอุทธรณ์มีกำหนดเวลาหรือไม่ อย่างไร

     ผู้จะใช้สิทธิอุทธรณ์จะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีจากเจ้าพนักงานประเมิน เช่น

      - ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินวันที่ 2 ตุลาคม 2545 จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 หรือ

      - ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินวันที่ 4 ตุลาคม 2545 จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2545 แต่เนื่องจากวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2545 เป็นวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ จึงยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ได้ เป็นต้น

6. หลักฐานที่ต้องยื่นพร้อมกับการยื่นอุทธรณ์มีอะไรบ้าง 

    (1) หนังสือแจ้งการประเมินหรือแบบคำสั่งให้ชำระภาษีอากรฉบับที่ต้องการคัดค้านการประเมิน โดยเป็นต้นฉบับหรือภาพถ่ายที่รับรองสำเนาถูกต้อง

    (2) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถูกประเมินภาษี กรณีเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการพร้อมประทับตรานิติบุคคลกำกับการลงชื่อของผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล

       กรณีมิได้มายื่นอุทธรณ์ด้วยตนเอง ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจกระทำการโดยปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ถ้ากระทำการครั้งเดียว หรือถ้ากระทำการมากกว่าหนึ่งครั้งปิดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจที่ลงลายมือชื่อรับรองว่าสำเนาถูกต้อง

    (3) ภาพถ่ายทะเบียนบ้าน

    (4) หลักฐานอื่นๆ ที่ได้อ้างประกอบคำอุทธรณ์ เช่น ภ.พ.20 หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) รายงานภาษีซื้อ-ขาย สำหรับเดือนภาษีที่ถูกประเมิน ใบกำกับภาษี ฯลฯ

7. เมื่อยื่นอุทธรณ์แล้วจะใช้อะไรเป็นหลักฐาน

     หลังจากเจ้าหน้าที่ตรวจคำอุทธรณ์และเอกสารแล้ว จะออกใบรับคำอุทธรณ์เพื่อมอบให้ผู้ยื่นอุทธรณ์ไว้เป็นหลักฐานในการติดตามเรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ต่อไป

8. ผลการพิจารณาอุทธรณ์เป็นอย่างไร

               

     คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะพิจารณาและวินิจฉัยข้อโต้แย้งตามคำอุทธรณ์เมื่อแล้วเสร็จจะส่งผลเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ (ภ.ส.7) ให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ ดังนี้

      1. ให้ ปลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ในกรณีนี้ผู้อุทธรณ์ไม่ต้องเสียภาษีตามการประเมิน

      2. ให้ ลดภาษี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการประเมินบางส่วนถูกต้อง และบางส่วนไม่ถูกต้อง จึงปรับปรุงจำนวนภาษีให้คงเหลือเท่าที่ผู้อุทธรณ์ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมให้ครบถ้วน

      3. ให้ ยกอุทธรณ์ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการประเมินถูกต้องแล้ว ซึ่งผู้อุทธรณ์ต้องเสียภาษีตามการ ประเมิน

      4. ให้ เพิ่มภาษี เนื่องจากได้พิจารณาประเด็นการประเมินและข้อโต้แย้งของผู้อุทธรณ์แล้วปรากฏว่าการประเมินถูกต้อง แต่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีคลาดเคลื่อนต่ำไป คณะกรรมการฯ อาจปรับปรุงการคำนวณภาษีและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นได้

9. หากไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ควรทำอย่างไร

    ผู้อุทธรณ์ที่ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาล โดย ให้ยื่นคำฟ้องต่อศาลภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์

    กรณีมูลหนี้ภาษีอากรตั้งค้างอยู่ต่างจังหวัด ให้ยื่นคำฟ้องต่อศาลจังหวัดนั้นก็ได้

10.หากจะใช้สิทธิอุทธรณ์ ผู้ถูกประเมินภาษีมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามการประเมิน หรือไม่

    ในระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือรอคำพิพากษาของศาล ผู้ถูกประเมินภาษีต้องชำระภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย เนื่องจากการอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ได้รับการทุเลาการเสียภาษีตามประเมินแต่อย่างใด เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร หรือ ผู้ที่อธิบดีมอบหมายให้มีอำนาจสั่งอนุมัติให้ทุเลาการชำระภาษีไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด

11.หากจะยังไม่ชำระภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินระหว่างรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือคำพิพากษาของศาลถึงที่สุด จะต้องทำอย่างไร

   ต้องยื่นคำร้องขอทุเลาการชำระภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยยื่นผ่านทางหน่วยงานที่มีหน้าที่รับคำอุทธรณ์ พร้อมทั้งจัดให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ดังนี้

    (1) ให้ ธนาคารค้ำประกันหนี้ภาษีอากรพร้อมทั้งเงินเพิ่มที่ต้องชำระตามกฎหมายโดยให้ธนาคารออกหนังสือสัญญาค้ำประกันตามแบบที่กรมสรรพากรกำหนด หรือ

    (2) นำ อสังหาริมทรัพย์มาค้ำประกัน โดยจดทะเบียนจำนองไว้ต่อทางราชการ และอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องมีราคาตลาดหรือราคาที่ใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม(ราคาประเมินของกรมที่ดิน) ไม่น้อยกว่าค่าภาษีอากรที่ต้องชำระหรือ

     3) นำ พันธบัตรรัฐบาลในจำนวนที่คุ้มกับหนี้ภาษีอากรค้างมาจดทะเบียนจำนำเป็นประกัน

12.ถ้าผู้ถูกประเมินภาษีไม่สามารถยื่นคำอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาจะต้องดำเนินการอย่างไร

    ให้ทำคำร้องขอขยายกำหนดเวลาการยื่นคำอุทธรณ์เป็นหนังสือ โดยแสดงรายละเอียดต่างๆ ประกอบด้วย ชื่อผู้ยื่นคำร้อง ประเภทภาษีอากร ปีภาษี/เดือนภาษี/รอบระยะเวลาบัญชี เลขที่หนังสือแจ้งการประเมิน วันที่ที่ลงในหนังสือแจ้งฯ จำนวนเงินภาษี วัน เดือน ปีที่ผู้ถูกประเมินภาษีได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน วัน เดือน ปีที่ยื่นคำอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงและเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถยื่นคำอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลา พร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐาน(ถ้ามี) และคำอุทธรณ์เพื่อประกอบการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ การอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นคำอุทธรณ์เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดี

ที่มา : กรมสรรพากร  



รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี