ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน

 

 

                                                                  เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน       

 

12 พฤติกรรม กับดักร้าย ที่พึงระวังในการทำงาน

ทำไมคนดีมีความสามารถ จึงไม่มีโอกาสพบกับความสำเร็จ? น่าคิด..น่าคิด....!

ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด ผู้อำนวยการวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา

ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมจิตวิทยาทางธุรกิจ

เล่าให้ฟังในงานสัมมนาที่จัดขึ้นโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติในหัวข้อ "Maximum Success"

ถึงสาเหตุทางบุคลิกภาพที่เป็นอุปสรรค ทำให้คนที่มีความสามารถส่วนใหญ่ก้าวไปไม่ถึงดวงดาวดั่งที่ตั้งใจไว้

ไม่ว่าคนเราจะเก่งแค่ไหนนั้น ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญ ตราบใดที่คุณยังมีจุดอ่อนในตนเอง คุณต้องรีบ "จำกัด"

จุดอ่อนหรือลดพฤติกรรมที่จะเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางธุรกิจ


ดร.ประพนธ์ บอกว่าคนเราล้วนแต่มีจุดอ่อนด้วยกันทั้งสิ้น ตามคติธรรมฮอตฮิต No one is perfect

หากเราไม่รู้จักค้นหา "จุดอ่อน" และหาหนทาง "จำกัดจุดอ่อน ของตนเองแต่กลับปล่อยให้เรื้อรัง "จุดอ่อน"

นี้ก็จะกลายเป็นอุปสรรค และลดโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ จนกลายเป็นบุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์


วิธีการบริหารการจัดการในองค์กรก็เช่นกัน หากผู้บริหาร สามารถค้นพบ จุดอ่อน

ทั้งของตนเองและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาได้ 2 แนวทางที่จะเสริมความแข็งแกร่งให้ทีมงานได้ก็คือ

1. หาคนที่มี "จุดแข็ง" ในสิ่งที่ทีมงานขาดหรือเป็นจุดอ่อนของทีมงานมาเสริม และ

2. พยายามบอก "ตนเอง" และ "ลูกน้อง" ให้รู้ถึงจุดอ่อนของกันและกันพร้อมกับช่วยกัน

   ปรับปรุงแก้ไข

โดยนำมาตรฐานการวัดและประเมินที่ชัดเจนและปราศจากอคติส่วนตัวมาใช้ เช่น Balance Scorecard

ต้องมีการกำหนดค่า KPI เป็นต้น


ขณะที่ ดร. เจมส์ วาล์ดรอบ และ ดร. ทีโมธี บัทเลอร์ นักจิตวิทยาทางธุรกิจจาก Harvard Business

School ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 2 ท่าน ได้ทำการศึกษาและค้นพบ จุดอ่อน หรือ กับดัก และพบว่า มี 12

พฤติกรรมที่เป็นกับดัก และอุปสรรคขัดขวางความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน นั่นก็คือ


1.ใจไม่สู้ คนกลุ่มนี้มักชอบใช้วิธี "หนีปัญหา" มากกว่าการ "เผชิญหน้าสู้ปัญหา" กลัวปัญหาลึกๆ

ดูภายนอกเหมือนเป็นคนมั่นใจ แต่ภายในไม่หนักแน่น และไม่มีศักยภาพที่จะรับผิดชอบงานใหญ่ๆ

ทั้งยังรู้สึกว่าไม่มั่นใจและหนักใจในยามที่ต้องได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานใหม่ๆอยู่เสมอ

นอกเหนือจากความรับผิดชอบเดิมๆ ที่เคยได้รับ


2.ดูโลกเป็นขาว - ดำ เป็นกับดักพฤติกรรม ที่มักเกิดขึ้นและเป็น "จุดอ่อน"

ในกลุ่มนักวิชาการและกลุ่มที่มีการศึกษาระดับสูง ซึ่งสมองจะเต็มไปด้วยเรื่องของความถูกผิด กฎ กติกา

จึงมักถูกเรียกว่า "ไม่ผิดก็ถูก" และมีแนวโน้มความขัดแย้งกันเองสูง

เพราะต่างคนต่างก็มีเหตุผลและมั่นใจในเหตุผลของตนเอง จึงไม่ค่อยประนีประนอมและไม่ชอบตกเป็น

ฝ่ายแพ้ ทำให้การแก้ปัญหาในองค์กรของคนกลุ่มนี้มักไม่ประสบความสำเร็จ


ดร.ประพนธ์ บอกว่า วิธีแก้ไข จุดอ่อน ข้อนี้ก็คือ การเปิดใจและรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

รวมถึงการแบ่งปันทัศนคติและความคิดเห็นซึ่งกันและกัน


"ต้องยืดหยุ่น ต้องใช้ทั้ง Head และ Heart

หากต่างฝ่ายต่างเอาเหตุผลมาสู้กันเอาผิดเอาถูกสถานเดียวบรรยากาศการทำงาน

จะตึงเครียดและตกอยู่ในสภาพของ Win-Lose หรือ แพ้ชนะตลอด"


3.ทำอย่างไม่บันยะบันยัง ข้อนี้ถือเป็น จุดอ่อน ของคนทำงานแบบ "หามรุ่งห้ามค่ำ" เป็นพวกบ้างาน

(Workaholic) ประเภท "ข้ามาทำงานคนแรกกลับบ้านคนสุดท้าย"

สาเหตุที่ทำให้คนกลุ่มนี้มีทัศนคติในการทำงานเช่นนี้

มาจากความต้องการที่จะแสดงออกว่าเป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูง ต้องการสร้างภาพความเป็น 

"ยอดมนุษย์" หรือ Mr.Perfect

"คนกลุ่มนี้ ต้องการแสดงออกว่า ตนเองมีความรับผิดชอบสูงและคาดหวังในตนเองและผู้อื่นค่อนข้างสูง

ขณะเดียวกัน การทำงานอย่างไม่บันยะบันยังของเขา

ก็อาจจะได้รับหรือไม่ได้รับผลตอบแทนอย่างที่เขาได้ตั้งใจในตอนเแรกก็เป็นไปได้"

"กับดัก" ของการทำงานอย่างไม่บันยะบันยังนี้ มักเกิดจากความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างเต็มที่

แต่ขาดความสม่ำเสมอจน "หมดแรง" พูดง่ายๆ ก็คือ

การทำงานที่ไม่บันยะบันยังมักจะมาควบคู่กับการขาดความต่อเนื่องไปไม่ได้ตลอดรอดฝั่งเนื่องจาก

ตนเองเกิดภาวะ "ฟิวส์ขาด" หรือขาดความอดทนต่อการรอคอย

"คนพวกนี้ชอบทำอะไรสุดโต่งคือเหมือนตั้งใจทำอะไรมากๆ ทุ่มสุดๆ แต่พอมันไม่ได้ให้ผลตอบแทน

ตามที่ตั้งใจไว้ก็จะหยุดทำมันเสียเฉยๆ เลยไม่คิดจะลองที่จะใช้ความพยายามต่อ"

4.หวังแต่เลี่ยงความขัดแย้ง คนกลุ่มนี้เต็มไปด้วยเพื่อนฝูง พวกพ้อง จนแทบไม่มีศัตรู จัดอยู่ในประเภท

" Mr.Nice Guy" หรือ "คนดีที่โลกลืม" คนกลุ่มนี้ จะต่างจากกลุ่มแรกตรงที่ "ใจไม่สู้"

และมักพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทุกวิถีทาง ใฝ่หาสันติภาพในการทำงานอย่างประนีประนอมตลอดเวลา

"คนกลุ่มนี้ จะไม่แสดงออกและไม่บอกกล่าว แม้ว่าจะไม่เห็นด้วย หรือเห็นอะไรผิด เพราะไม่ต้องการ

ขัดใจผู้อื่น ซึ่งกลายเป็นข้อเสียคือ การเสียโอกาสที่ดี เพราะมักจะเลือกที่จะยอมแพ้มากกว่า

ลงแข่งเพื่อชนะ"

วิธีการแก้ไข ตามหลักของ ดร.ประพนธ์ ก็คือ "หาวิธีลดความขัดแย้งให้น้อยที่สุด

แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้คงต้องหันหน้ามาเผชิญกับมัน ซึ่งมันอาจจะเป็นทางออกที่ดีในการทำงาน ดีกว่า

การนิ่งเฉย ปล่อยให้โอกาสทองเหล่านั้นลอยลับไปกับตา"

5.แสดงพลัง ลุยไม่ถอย แบบ "เสี่ยสั่งลุย" แนวโน้มของคนกลุ่มนี้

มักนิยมเล่นพรรคเล่นพวกเพื่อแสดงศักยภาพทางอิทธิพลมากกว่าแสดงความสามารถในการทำงาน

และขาดความประนีประนอม มองทุกอย่างเป็นแพ้ - ชนะ

6.นิยมการต่อต้าน พาลหาเรื่อง บุคลิกภาพของคนกลุ่มนี้ ชอบขุดหลุมสร้าง "กับดัก"

การทำงานให้กับตนเองชอบสร้างความขัดแย้ง มีความคิดความอ่านแบบสวนกระแสและไร้เหตุผล

ก้าวร้าวในทางลบ ชอบแสดงอาการการไม่เห็นด้วยแบบ "แข็งข้อ" กล้าแสดงออกเกินขอบเขต

ใครที่มีสมาชิกในทีมงานเป็นแบบนี้ก็อาจจะหนักใจหน่อย...!

7.ชอบฝันเฟื่อง หวังฟลุ้ค พวกนี้เหมาะที่จะเล่นการพนันหรือเป็น "นักเสี่ยงโชค"

มากกว่าที่จะมาทำงานกินเงินเดือนจากนายจ้าง ส่วนใหญ่คนประเภทนี้ มักมองแต่ "ผลลัพธ์" 

มาเป็นอันดับแรก ทะเยอทะยาน มองการณ์ไกลมากจนกระทั่งมองข้ามสิ่งดีๆที่อยู่ตรงหน้า หรือไม่ก็

ลืมคิดถึงอนาคตอันใกล้จนไม่ยอมลงมือทำอะไรเลย

8.ทุกข์กังวล กลัวจนเกินเหตุ คนกลุ่มนี้เข้าประเภท ย่ำอยู่กับที่ และวิตกกังวลมากเกินไป เพราะมัว

แต่กลัวใปว่า "ผลลัพธ์" ที่จะออกมา จะสร้างความอับอายให้กับตัวเอง จึงมักยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ ไม่ชอบ

ออกนอกกรอบ ไม่กล้าเผชิญกับความไม่แน่นอน มองโลกในแง่ลบ และ กลัวการเปลี่ยนแปลงเป็นที่สุด

วิธีแก้ก็คือ เปลี่ยนความคิดใหม่ ทุกปัญหามีทางออก และเตรียมทางออกให้กับปัญหาที่จะเกิดขึ้น ดีกว่าที่

จะมานั่งกังวล

9.ใจด้านชา ไร้ความรู้สึก หรือ "พวกเย็นชา" ไม่ยินดียินร้ายกับสิ่งรอบตัว เก็บงำความรู้สึก

แต่จะแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาและแสดงความคิดเห็นออกมาอย่างเด่นชัดเมื่อไม่เห็นด้วยหรือไม่ยอมรับ

เพราะมีพื้นฐานทางความคิดที่ว่า "ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน"

คนกลุ่มนี้ จะมีความเป็นผู้นำและเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างสูง ขณะเดียวกัน

เวลาทำงานพวกเขามักจะคำนึงถึงเรื่องของสมองและความคิด(Head) มากกว่าจิตใจ (Head)

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรตะวันตก แต่จะเห็นได้ยากในองค์กรแบบตะวันออก


"ผลการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานที่ต้องร่วมงานกับต่างชาติระบุว่า ฝรั่งไม่ค่อยเกรงใจ

และตรงไปตรงมาจนคนไทยรู้สึกว่า คนพวกนี้เย็นชา ไร้ความรู้สึก แต่จริงๆแล้วมันเป็นวัฒนธรรมการทำงาน

ใช้ผลงานเป็นตัวหลักและไม่ค่อยประนีประนอม"

10. คิดว่า "งาน" ไม่คู่ควรกับตน คนกลุ่มนี้มักจะมีความคิดว่า งานไม่คู่ควรกับตนและชอบที่จะ "ผลักงาน"

ไม่ว่าจะเป็น "งานเล็ก" หรือ "งานใหญ่" ให้ผู้อื่นอยู่เสมอ เพราะคิดว่า ไม่ควรจะรับผิดชอบ

โดยเฉพาะงานที่เป็น Grey area เพราะจะเสียแรง เสียเวลา แถมผลงานยังไม่เข้าตากรรมการ

ตามภาษิตที่ว่า "งานเล็กไม่ งานใหญ่ต้องเรา"

"คนกลุ่มนี้มีความคิดก้าวหน้า อยากเป็นใหญ่เป็นโตอยู่ตลอดเวลา

แต่ไม่ยอมลงทุนลงแรงเหมือนคนคิดการใหญ่แต่ไม่ลงมือทำอะไรเล็กๆ ไม่ยอมเหนื่อย" "


ดร.ประพนธ์ บอกว่า "การพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ มีอยู่ 3 ระดับ คือ Hand การใช้ทักษะ

ฝึกปรือจนชำนาญการ Head การใช้สมองตัดสินใจ ใช้ความรู้รวมไปถึงการพัฒนาความคิดความอ่าน

และทักษะสุดท้ายที่พัฒนายากที่สุดก็คือ Heart หรือการทำงานด้วยจิตใจ

ทำงานอย่างมีความสุขไม่เบียดเบียนและเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน"

11.ด่วนปากไว ไม่เข้าใจในขอบเขต กลุ่มนี้เข้าข่าย "ปลาหมอตายเพราะปาก"

เพราะพูดแบบไม่ยั้งคิดและขาดการไตร่ตรอง คนปากไว

มักพลาดพลั้งจนไม่รู้ขอบเขตเพราะมักจะพูดออกมาโดยไม่รู้ตัว ผลก็คือ "ตกม้าตาย"

เพราะความไม่เข้าใจวัฒนธรรมองค์กร กลายเป็นผลเสียต่อตัวเอง

12.ไม่มีทิศทางในการทำงาน คนกลุ่มนี้ ไม่มีสูตรสำเร็จการทำงาน และไม่เคยกำหนดเป้าหมายการทำงาน

ชอบออกนอกลู่นอกทาง อยู่เสมอ ทั้งยังไม่มั่นใจว่างานที่ทำอยู่นั้น มาถูกทางหรือไม่ ?

เพราะไม่เคยวางและกำหนดแผนการทำงาน วิธีแก้ ก็คือ หมั่นฝึกฝนตนเองทั้งในด้านการวางกลยุทธ์

การตั้งเป้าหมายการทำงาน ไม่เช่นนั้นเขาจะมัวเพลิดเพลินกับการทำงานแบบวัน-ต่อ-วัน

และชินกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามากกว่า คิดการณ์ไกล


การทำงานในลักษณะนี้ มี ข้อดี ที่ มีความยืดหยุ่น แต่ ข้อเสีย ก็คือ ความผิดพลาดในการทำงาน

โดยไม่สามารถกำหนดแผนการทำงานได้ นี่คือ

กับดักพฤติกรรมที่ควรปรับปรุงเพื่อการทำงานอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ


ดร.ประพนธ์ บอกว่า ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่ในการทำงาน และการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น

เพียงแต่เราต้องรู้จักค้นหาตนเอง เพื่อที่จะได้รู้ จุดอ่อน

ของตนเองเพื่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและผู้อื่นในอนาคต


"มันไม่มีใครที่เกิดมาสมบูรณ์แบบเพียงแต่เราต้องรู้จักปรุงแต่งตัวเอง

คล้ายๆกับวิธีการปรุงอาหารซึ่งมันต้องประกอบไปด้วยส่วนผสมที่แตกต่างกัน เครื่องเทศที่แตกต่าง

อะไรที่มันมากไปมันก็ไม่ดี อะไรที่มันน้อยไปมันก็ไม่เข้าท่า

เราต้องคิดสูตรพัฒนาอาหารมันขึ้นเองฝีมือปรุงอาหารของเราถึงจะออกมาอร่อย"

ที่มา...หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน