ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (3)

 

 

                                                       108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (3)   

 

   ภายหลังยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แล้ว บริษัทต่าง ๆ อาจหายใจยังไม่ทั่วท้อง ด้วยจิตรำพึง “เรายื่นแบบชำระภาษี ต่ำไปหรือเปล่าหนอ”


ในระหว่างที่รอลุ้นระทึกอยู่นี้ มินิซีรีส์ชุดนี้จะทยอยเฉลยประเด็นความผิดที่มักตรวจพบ เพื่อเป็นแนวทางให้ท่านผู้อ่าน (บริษัท) นำไปใช้วางแผน การลงบัญชีและเสียภาษีของปี 2551 ให้ถูกต้อง และประหยัด (ภาษีหรือลดปัญหาการถูกเบี้ยปรับ!) ต่อไป

สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจ เนื้อหาตอน 1 - 2 กรุณา Click ไปที่ www.taxbiz.co.th นะครับ

6. ระบบการค้าระหว่างบริษัทในเครือ

6.1 แนวคิด/หลักการ

ในทางธุรกิจ การจัดตั้งบริษัทในเครือเดียวกันหลายบริษัท โดยอาจแยกตามประเภทธุรกิจ แยกตามพื้นที่แยกตามประเภทสินค้า ฯลฯ ถือเป็นเรื่องปกติในวงการค้า ซึ่งเป็นด้วยหลายเหตุผล เช่น มีผู้ถือหุ้น/ผู้ร่วมทุน (Strategic Partners) ที่ชำนาญในบางแขนง บางสินค้า จึงจำเป็นต้องแยกหน่วยธุรกิจออกไป เป็น Profit center นอกจากนั้นการแยกเป็นหลายบริษัท จะมีข้อบวกคือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการบริหารงานอย่างใกล้ชิด เป็นต้น

แต่ในแง่มุมภาษี กรณีที่มีการแยกเป็นบริษัทในเครือจำนวนมากและมีรายการค้าระหว่างกัน ทำให้เกิดประเด็นภาษีต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ราคาซื้อขายต้องเป็นตามราคาตลาด และปัญหา Transfer Pricing เป็นต้น ซึ่งมักเกิดข้อโต้แย้งและหาข้อยุติได้ยากกับเจ้าพนักงานสรรพากร

6.2 ปัญหา

(1) การให้ความช่วยเหลือต่อกัน ทั้งในแง่ของพนักงาน เงินกู้ยืม การยืมสินค้า เป็นต้น จะต้องมีการคำนวณราคาค่าสินค้า/ค่าบริการหรือค่าตอบแทนระหว่างกันตามราคาตลาด เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (มาตรา 65 ทวิ (4))

หรือกรณีมีการคิดราคา/ค่าตอบแทน ระหว่างกันในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ก็เป็นประเด็นที่ต้องชี้แจงกับเจ้าพนักงานให้เกิดข้อยุติเช่นกัน

(2) หากเจ้าพนักงานฯ ตั้งประเด็นว่าเป็นนิติกรรมอำพราง (คือไม่มีระบบการค้าเกิดขึ้นอย่างแท้จริง) กรณีนี้ก็จะทำให้บริษัทผู้ซื้อต้อง ถูกตัดเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่งประมวลรัษฎากร (รายจ่ายที่กำหนดขึ้นโดยไม่มีการจ่ายจริง) และต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า พร้อมเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน

(3) กรณีมีธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศกับบริษัทในเครือมักเกิดประเด็นโต้แย้งจากเจ้าพนักงาน เกี่ยวกับการตั้งราคาโอน Transfer Pricing ซึ่งกรมสรรพากรได้วางแนวปฏิบัติไว้ใน คำสั่งที่ ป.113/2545

6.3 วิธีแก้ไข

(1) การตั้งบริษัทในเครือ ถือเป็นข้อลบทางภาษีอากรหลายประการ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการขยายบริษัทจำนวนมาก หรืออาจใช้วิธีการควบกิจการ (Merger) ก็เป็นอีกทางออกหนึ่งที่ไม่มีภาระภาษี ใด ๆ

(2) กรณีของ Transfer Pricing ควรเลือกวิธีแก้ปัญหาโดยการทำข้อตกลงการตั้งราคาซื้อขายระหว่างกันของบริษัทในเครือ (Advance Pricing Arrangement) กับกรมสรรพากรจึงจะเกิดข้อยุติอย่างสมบูรณ์

7. ตัดค่าเสื่อมราคาก่อนสร้างทรัพย์สินเสร็จ

7.1 แนวคิด/หลักการ

กฎหมายภาษีได้วางหลักเกณฑ์การหักค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ โดยยึดตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 (ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์) โดยบัญญัติไว้ในมาตรา 65 ทวิ (2) และ พ.ร.ฎ# 145 (พ.ศ. 2527) ซึ่งมีสาระสำคัญที่มาตรา 3 และมาตรา 4 โดย

- มาตรา 3 (พ.ร.ฎ. # 145) ระบุให้บริษัทมีสิทธิเลือกวิธีการหักค่าเสื่อมราคาตามหลักการบัญชี ที่รับรองทั่วไป ให้เหมาะสมกับกรณี เช่น กรณีวิธีเส้นตรง วิธีผลบวกจำนวนปี วิธีอัตราเร่ง เป็นต้น โดยต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ การจะเปลี่ยนวิธีบัญชีดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร

- มาตรา 4 (พ.ร.ฎ. # 145) ได้แบ่งแยกทรัพย์สินออกเป็น 5 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะหัก ค่าเสื่อมราคาเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ เช่น อาคาร (20 ปี) สังหาริมทรัพย์ (5 ปี) เป็นต้น

ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป สินทรัพย์ต่าง ๆ จะเริ่มตัดค่าเสื่อมราคาเมื่อพร้อมใช้งาน (Ready for it intended use)

7.2 ปัญหา

ห้างสรรพสินค้า มีการก่อสร้างอาคาร 10 ชั้น มูลค่า 200 ล้านบาท โดยเริ่มเปิดใช้เฉพาะชั้นล่าง ส่วนชั้น 2 - 10 อยู่ระหว่างตกแต่งไม่แล้วเสร็จ ดังนั้นห้างสรรพสินค้าจึงเริ่มตัดค่าเสื่อมราคาชั้น 1 โดยคิดมูลค่าทรัพย์สินตามสัดส่วนคือ 20 ล้านบาท

กรณีดังกล่าว ถือเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายภาษี เพราะอาคารสร้างเสร็จเพียงบางส่วน จึงยังไม่ถือว่ามีความพร้อมใช้งาน ตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวข้างต้น

7.3 วิธีแก้ไข ทำได้หลายวิธี เช่น

- แยกสัญญาก่อสร้างออกเป็นส่วน ๆ เช่น สัญญาฉบับที่ 1 เป็นการว่าจ้างก่อสร้างอาคารชั้น 1 ส่วนสัญญาฉบับที่ 2 เป็นการว่าจ้างก่อสร้างอาคารชั้น 2 - 10

- แก้ไขสัญญา และ ลงนามรับมอบอาคารชั้นที่ 1

8. ทรัพย์สินมูลค่าต่ำกว่า 2,000 บาท จะถือเป็นรายจ่ายทันที

8.1 แนวคิด/หลักการ

ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ได้ยึดหลักสาระสำคัญ (Materiality Principle) โดยอนุโลมให้บริษัทมีสิทธิเลือกหักเป็นรายจ่ายได้สำหรับทรัพย์สินที่มีมูลค่าน้อย (ไม่เป็นสาระสำคัญต่อความถูกต้องตามสมควรของงบการเงิน) เช่น บริษัทกำหนดนโยบายบัญชีว่า ทรัพย์สินมูลค่าต่ำกว่า 500 บาท หรือ 1,000 หรือ 2,000 บาท จะตัดเป็นรายจ่ายทันที เป็นต้น

แต่ตามหลักเกณฑ์แห่ง พ.ร.ฎ. # 145 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีบทบัญญัติใด อนุโลมให้ปฏิบัติดังกล่าว ดังนั้น กรณีนี้จึงต้องตัดค่าเสื่อมราคา สำหรับสินทรัพย์ทุกชิ้นไม่ว่าจะมีมูลค่ามากน้อยเพียงใด

8.2 ปัญหา

การที่บริษัท กำหนดนโยบายบัญชีให้ตัดเป็นรายจ่ายสำหรับสินทรัพย์มูลค่าต่ำกว่า 2,000 บาท ดังกล่าว จึงขัดแย้งกับกฎหมายภาษี จึงต้องทำการปรับปรุง รายจ่ายดังกล่าว มาเป็น การตัดค่าเสื่อมราคา 5 ปี ซึ่งหากมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็จะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม และต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ของภาษีที่ชำระขาด พร้อมเงินเพิ่มอีก 1.5 % ต่อเดือน

8.3 วิธีแก้ไข

ในทางปฏิบัติ หากบริษัทมีสินทรัพย์ชิ้นเล็ก ๆ ซึ่งมีมูลค่าต่ำ ๆ จำนวนมาก หากจะต้องปรับปรุงรายการ เพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50 ให้ถูกต้องครบถ้วน อาจต้องเสียเวลาจนไม่คุ้มค่า

วิธีแก้ไข อาจทำได้โดยใช้วิธีเฉลี่ย เช่น สินทรัพย์ (มูลค่าน้อย) 1,000 ชิ้น ราคาซื้อรวม 30,000 บาท อาจคำนวณค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงถัวเฉลี่ย = 30,000 X 20% X 6/12 = 3,000 บาท/ปี เป็นต้น ซึ่งแม้จะเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง 100% แต่ก็เหลือยอด “ส่วนต่าง” ไม่มากนัก

   

108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1)

108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (2)

- 108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (4)

เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ 

ที่มา : http://www.bangkokbizweek.com




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี