ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ

 

                                               เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ      

 

                                                               

 

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตือนผู้ทำบัญชีแจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันสิ้นปีปฏิทิน คือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 มีนาคม ของปีถัดไป โดยแจ้งทาง Internet ที่เว็บไซต์กรมฯ www.dbd.go.th สำหรับปีนี้ แจ้งได้จนถึงวันที่ 1 มีนาคม 2550

นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาในการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2547 ได้กำหนด ให้ผู้ทำบัญชีต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพในทุกรอบ 3 ปี ไม่น้อยกว่า 27 ชั่วโมง และต้องเป็นกิจกรรมที่มี เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการบัญชี ไม่น้อยกว่า 18 ชั่วโมง โดยแต่ละปีผู้ทำบัญชีจะต้องเข้ารับการพัฒนาความรู้ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ทำบัญชีได้รับการพัฒนาความรู้อย่างสม่ำเสมอ

การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี ผู้ทำบัญชีสามารถเลือกวิธีการพัฒนาความรู้ ต่อเนื่องทางวิชาชีพในกิจกรรม ใดกิจกรรมหนึ่งหรือหลายกิจกรรมรวมกันได้ เช่นการอบรบ/ สัมมนา การเป็นวิทยากรผู้บรรยาย การเป็นอาจารย์ในสถาบันการ ศึกษา รวมทั้งการศึกษาเพิ่มเติมในหลักสูตรที่ เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชี ทั้งนี้ การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพโดยวิธีการ อบรม หรือการเป็นวิทยากร ผู้บรรยายจะต้องเป็นการอบรม/สัมมนาหรือเป็นการบรรยายในสถาบันและหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบ จากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงจะนับเป็นชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพของ ผู้ทำบัญชีได้ ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมฯ แล้ว 192 แห่ง เป็นจำนวน 2,484 หลักสูตร สำหรับในปีนี้ ผู้ทำบัญชีสามารถแจ้งรายละเอียดการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพทาง Internet   ผ่านเว็บไซต์กรมฯ

ที่ www.dbd.go.th ได้จนถึง วันที่ 1 มีนาคม 2550 โดยผู้ทำบัญชีต้องดำเนินการขอหมายเลขผู้ใช้ USER ID และรหัสผ่าน Password ก่อน ถึงจะสามารถดำเนินการได้ สำหรับผู้ที่มี หมายเลข USER ID และรหัสผ่าน Password ในการแจ้ง เพิ่มและยกเลิกธุรกิจที่รับทำบัญชีทางอินเทอร์เน็ตแล้ว ก็สามารถใช้เป็น USER ID และรหัสผ่าน Password ในการแจ้งการพัฒนา ความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพได้ด้วย และผู้ทำบัญชีต้องจัดเก็บหลักฐานการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีไว้กับตนเองเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินของวันที่สิ้นสุดการอบรมด้วย ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีไม่ได้เข้ารับการพัฒนาความรู้
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะถือเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 7 (6) ซึ่งต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ โทร. 0 2547 4395 และ 0 2547 5977
หรือที่เว็บไซต์
www.dbd.go.th

ที่มา : สำนักกำกับดูแลธุรกิจ  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  ฉบับที่ 4 วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2550

 




รวมบทความบัญชี

จ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชี หรือทำบัญชีเองดี
นักบัญชี กับความนิยมเรียน "เอ็มบีเอ"
ลดภาระ เพิ่มประสิทธิภาพงาน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี
กรมสรรพากรเตือน ขอให้ผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
ทันสมัยในงานบัญชี !!!
ทัศนคติของ SMEs ที่มีต่อสำนักงานบัญชี
ปัญหาและทางออก กรณีนักบัญชี เปลี่ยนงานบ่อย
นักบัญชีมืออาชีพ (Professional Accountant)
การตรวจสอบและรับรองบัญชี
รายรับ-รายจ่าย ของธุรกิจ ต้องผ่านธนาคาร
สถานะทางการเงิน 10 ประการของธุรกิจ
ทำไมต้องรู้เรื่องบัญชี
ทำบัญชีรับจ่ายช่วยให้ครอบครัวเป็นสุข
สัญญาณเตือนภัยในงบการเงิน
Tax Knowledge : ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ข้อมูลบัญชีจำเป็นต่อเจ้าของกิจการอย่างไร
นักบัญชี..เพื่อนซี้..ยันป้าย
อาชีพอิสระนักบัญชี
มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย
รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน
รายจ่ายในการดำเนินกิจการ
การวางแผนภาษี เงินประกันและเงินมัดจำ สำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้าง
สภาวิชาชีพบัญชีค้านกฎหมายหุ้น ให้ผู้สอบบัญชีจับผิดผู้บริหารขี้โกง
ดันมาตรฐานบัญชีไทยเทียบสากล สร้างหน้าตาตลาดทุนไทยไม่ขี้เหร่
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆจากการส่งเสริมการขาย
จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
มาเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันเถอะ article
หลักการของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 article
การเรียนสาขาบัญชีในไทยเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด article