ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



สภาวิชาชีพบัญชีค้านกฎหมายหุ้น ให้ผู้สอบบัญชีจับผิดผู้บริหารขี้โกง

 

                               สภาวิชาชีพบัญชีค้านกฎหมายหุ้น ให้ผู้สอบบัญชี จับผิดผู้บริหารขี้โกง

 

   นางเกษรี ณรงค์เดช นายกสภาวิชาชีพบัญชี เปิดเผยว่า จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต) ได้ร่าง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฉบับแก้ไข ซึ่งมีมาตรา 89/25 ที่ระบุให้ผู้สอบบัญชีติดตามพฤติการณ์หรือหากพบพฤติกรรมอันควรสงสัยว่ากรรมการผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน กระทำความผิดตามมาตราต่างๆที่กำหนดใน พ.ร.บ. ให้ผู้สอบบัญชีแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ ก.ล.ต. และมาตรา 281/8 ยังระบุว่าหากผู้สอบบัญชีผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

นางเกษรีกล่าวต่อว่า หาก พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับ จะส่งผลให้ผู้สอบบัญชีทำผิดมาตรฐานการสอบบัญชี และจรรยา บรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เพราะหน้าที่ของผู้สอบบัญชีคือ ตรวจสอบงบการเงินและความถูกต้องของงบดุล รวมทั้งต้องรักษาความลับของลูกค้า ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ.มาตราดังกล่าว จึงเป็นการกำหนดให้การปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีขัดกับมาตรฐานการสอบบัญชีและขัดหลักจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่เป็นสากล อาจนำความเสียหายมายังประเทศไทยได้ และการตั้งข้อสงสัยในพฤติกรรมของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนเพื่อรายงานต่อ ก.ล.ต. จะทำให้ผู้สอบบัญชีอาจถูกฟ้องหมิ่นประมาทได้ รวมทั้งทำให้การทำงานของผู้สอบบัญชีมีความยากลำบาก 

นอกจากนี้ จะส่งผลกระทบให้มีบริษัทเข้าตลาดหุ้นลดลง เพราะกลัวว่าหากเข้าตลาดหุ้นแล้ว จะโดนผู้สอบบัญชีของบริษัทจับผิดตลอดเวลา ซึ่งไม่เป็นธรรมทั้งต่อผู้บริหาร รวมทั้งผู้สอบบัญชีด้วย ขณะที่การร่าง พ.ร.บ.ในประเด็นนี้ ก.ล.ต.ไม่เคยสำรวจความคิดเห็นจากผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชีเลย ดังนั้น ในการประชุม ครม. วันที่ 16 ต.ค.นี้ ตนต้องการให้ ครม.ถอดมาตรา 89/25 และ 281/8 ออกจากร่าง พ.ร.บ.นี้ และเมื่อวันที่ 12 ต.ค. สภาวิชาชีพบัญชีได้ส่งหนังสือถึงกระทรวงการคลังเพื่อขอความเป็นธรรมและขอความเห็นชอบ ในการคัดค้าน พ.ร.บ.นี้ในการประชุม ครม. วันที่ 16 ต.ค. 

ด้านนายวีรวัฒน์ กาญจนดุล อุปนายกสมาคมบริษัทจดทะเบียน เปิดเผยว่า หากนำ พ.ร.บ.ทั้งสองมาตรามาใช้คงมีผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนแน่นอน รวมทั้งกระทบต่อผู้สอบบัญชีของบริษัทนั้นๆด้วย ดังนั้น สมาคมบริษัทจดทะเบียนจึงจะนำเรื่องนี้มาหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา 

ที่มา : นสพ.ไทยรัฐ  วันที่ 13 ตุลาคม 2550




รวมบทความบัญชี

จ้างสำนักงานบัญชีทำบัญชี หรือทำบัญชีเองดี
นักบัญชี กับความนิยมเรียน "เอ็มบีเอ"
ลดภาระ เพิ่มประสิทธิภาพงาน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี
กรมสรรพากรเตือน ขอให้ผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน
ทันสมัยในงานบัญชี !!!
ทัศนคติของ SMEs ที่มีต่อสำนักงานบัญชี
ปัญหาและทางออก กรณีนักบัญชี เปลี่ยนงานบ่อย
นักบัญชีมืออาชีพ (Professional Accountant)
การตรวจสอบและรับรองบัญชี
รายรับ-รายจ่าย ของธุรกิจ ต้องผ่านธนาคาร
สถานะทางการเงิน 10 ประการของธุรกิจ
ทำไมต้องรู้เรื่องบัญชี
ทำบัญชีรับจ่ายช่วยให้ครอบครัวเป็นสุข
สัญญาณเตือนภัยในงบการเงิน
Tax Knowledge : ขายสินค้าต่ำกว่าทุน
ข้อมูลบัญชีจำเป็นต่อเจ้าของกิจการอย่างไร
นักบัญชี..เพื่อนซี้..ยันป้าย
อาชีพอิสระนักบัญชี
มูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สิน
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำตามกฎหมาย
รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน
รายจ่ายในการดำเนินกิจการ
การวางแผนภาษี เงินประกันและเงินมัดจำ สำหรับกิจการรับเหมาก่อสร้าง
เตือนผู้ทำบัญชี แจ้งการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ
ดันมาตรฐานบัญชีไทยเทียบสากล สร้างหน้าตาตลาดทุนไทยไม่ขี้เหร่
อัตราค่าปรับในการยื่นภาษี
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆจากการส่งเสริมการขาย
จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
มาเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันเถอะ article
หลักการของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 article
การเรียนสาขาบัญชีในไทยเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด article