ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ

 

                                              เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ    

 

                                                                      

                                                                       

สังคมไทยทุกวันนี้มีคนรวยน้อยแต่มีคนจนมากรายได้ไม่พอรายจ่ายจึงจำเป็นต้องมีการกู้ยืมกัน ทุกวันนี้ได้เกิดเป็นธุรกิจเงินกู้ทั้งถูกต้องตามกฎหมายก็มีและที่ผิดกฎหมายก็มาก กฎหมายจึงต้องควบคุมมิให้มีการเอาเปรียบกันเกินไปเช่นการ ควบคุมอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น โดยหลักแล้ว มีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654บัญญัติว่า "ห้ามมิให้เรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี" ดังนั้นการกู้ยืมเงินที่เรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดคือร้อยละ 15 ต่อปี (เว้นแต่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่นที่กฎหมายยกเว้นให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้ตามกฎหมายเฉพาะ) ดอกเบี้ยเกินกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะ ผู้ให้กู้จะฟ้องเรียกร้องบังคับมิได้


แต่ในความเป็นจริงโลกมิได้สวยงามดังที่คิด มีการเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้กันโหดเหลือเกิน เช่น เรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมร้อยละ 3 ต่อเดือน(นั่นเท่ากับร้อยละ 36 ต่อปีเชียวนะครับ) หรือร้อยละ 5 ต่อเดือน (ร้อยละ 60 ต่อปี) จะเห็นได้ว่าข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะเสียทั้งสิ้น แล้วถ้าผู้ให้กู้จะกลับมาเรียกดอกเบี้ยตามกฎหมายคือไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ได้หรือไม่? คำตอบคือ ไม่ได้ ครับ เหตุผลก็ตรงตัวอยู่แล้วครับว่า เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะเสียแล้ว ถือว่าไม่มีดอกเบี้ยต่อกัน ก็เท่ากับว่าไม่มีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยอยู่เลย (แม้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 จะระบุว่าถ้าในสัญญาเรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละ 15 ต่อปี ก็ตามเพราะข้อตกลงตกเป็นโมฆะเนื่องจากขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา มาตรา 3)


แต่เจ้าหนี้ไม่ต้องตกใจว่าเงินที่ให้กู้จะสูญเปล่า และลูกหนี้ก็ไม่ต้องไชโยโห่ร้องนะครับ แม้ข้อตกลงเรื่อง ดอกเบี้ยจะตกเป็นโมฆะ ถือว่าไม่มีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยต่อกัน แต่สัญญากู้ยืมเงินยังสมบูรณ์อยู่ แล้วจะคิดดอกเบี้ยกันได้หรือไม่? อัตราร้อยละเท่าใด? ประเด็นนี้มีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 บัญญัติว่า " ถ้ามิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรม หรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" และมาตรา 224 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า "หนี้เงินนั้นให้คิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี" ดังนั้น เมื่อผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระเงินต้น ผู้กู้ก็จะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัด (ฎีกาที่ 4010/2530, 999/2531 )


กรณีที่ผู้กู้ได้เคยชำระดอกเบี้ยที่เกินกว่าอัตรากฎหมายกำหนดให้แก่ผู้ให้กู้ไปแล้ว เช่น อัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน หรือร้อยละ 5 ต่อเดือน เช่นนี้ ผู้กู้จะมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยนั้นคืนจากผู้ให้กู้ได้หรือไม่? หรือผู้กู้จะนำมาหักกับดอกเบี้ยที่ยังค้างอยู่ได้หรือไม่? ซึ่งถ้าทำได้ผู้กู้ก็อาจนำมาหักดอกเบี้ยจากเงินต้นได้ซึ่งอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ กรณีนี้ศาลฎีกาได้เคยมีคำพิพากษาแล้วโดยวินิจฉัยว่า "การที่ผู้กู้ยินยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่ผู้ให้กู้ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ผู้กู้จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน (กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407) จึงไม่มีสิทธิที่จะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมาย หรือ หักจากยอดเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ " (ฎีกาที่ 4133/2529 ,999/2531 ,533/2532)


อย่างไรก็ตาม การกู้ยืมเงินกันย่อมได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องตระหนักถึงความถูกต้องชอบธรรมตามกฎหมายด้วยนะครับ เจ้าหนี้ก็อย่าโหดนัก ลูกหนี้ก็อย่าบูดเบี้ยวนักนะครับ

บทความโดย : คุณพิทยา  http://www.geocities.com/ruammitra/index.html




รวมบทความกฎหมายน่ารู้

การทวงหนี้
กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่
ไม้ตายจัดการเจ้าหนี้นอกระบบ
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์
ลิขสิทธิ์ Copyright Law
หมิ่นประมาท เหยียดหยาม
กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายแรงงาน
มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย
หมิ่นประมาท
กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้
ทำอย่างไร..เมื่อได้รับ "หมายศาล"
ความยินยอมของคู่สมรส
เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร
ผู้ต้องหามีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน
อายุความบัตรเครดิต 2 ปี หมายความว่าอย่างไร
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 2)
หลักประกันตัวในคดีอาญา
ผู้ให้และผู้รับ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 1)
ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง